ขออนุญาต หยุด เรียนภาษาญี่ปุ่น

สวัสดีครับ พบกันเช่นเคยกับวิธีมองภาษาญี่ปุ่นจากมุมมองของภาษาไทยครับ วันนี้เราจะมาพูดถึง “รูปสามารถ” กัน แม้ว่ารูปสามารถในภาษาไทยนั้นจะมีหลายคำ เช่น “ว่ายน้ำเป็น” “พูดภาษาญี่ปุ่นได้” “ยังเดินไหว”  แต่ทุกท่านเคยสังเกตไหมครับว่า ในภาษาไทยนั้นสามารถใช้กริยารูปสามารถคำว่า “ได้” ได้ในหลาย ๆ กรณี (ภาษาอังกฤษก็มีลักษณะเช่นเดียวกันครับ) ไม่จำเป็นต้องใช้แสดงความสามารถเสมอไปครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการ แสดงความสามารถ แสดงการขออนุญาต หรือ แสดงการขอร้อง ก็ใช้ได้ครับ ซึ่งต่างจากภาษาญี่ปุ่น และทำให้ชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในเบื้องต้นเกิดความสับสนในเรื่องวิธีใช้ครับ โดยวีคุงจะแยกเป็นกรณีให้ดูดังนี้

  1. กรณี “แสดงความสามารถ”

            กรณีนี้ก็คือภาษาญี่ปุ่นใช้คำกริยารูปสามารถแบบปกติครับ ถ้าใครผันรูปสามารถแม่น ๆ ก็สามารถใช้ได้แล้ว ไม่ได้ยากเย็นอะไรครับ
เช่น  1) 私は日本語が話せます。
(watashi wa nihongo ga hanasemasu.
ฉันพูดภาษาญี่ปุ่นได้

       2) 彼はお寿司が食べられます。
(kare wa o-sushi ga taberaremasu.
เขากินซูชิได้

            (หมายเหตุ: อาจต้องมีการเปลี่ยนคำช่วยแสดงกรรมจาก を (o) เป็น が (ga) ที่จริงแล้วจะไม่เปลี่ยนก็ไม่ผิด เพียงแต่ถ้าเอาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ที่แท้จริงแล้วก็ควรจะเปลี่ยน)

  1. กรณี“ขออนุญาต”

            กรณีนี้ภาษาญี่ปุ่นมีหลายวิธีพูดครับคือ
           「~てもいいですか (~temo ii desuka)」
           「~てもかまいませんか (~temo kamaimasenka)」
           「~ても大丈夫ですか (~temo daijōbu desuka)」เป็นต้น (มีอีกหลายวิธี) ซึ่งในภาษาไทย เราก็ใช้คำว่า “ได้” เช่นกันครับ ในการแสดงการขออนุญาตแบบนี้

เช่น

1) 先に帰ってもいいですか。
(saki ni kaettemo ii desuka.)
ขอกลับก่อนได้ไหม

2) 煙草を吸ってもかまいませんか。
(tabako wo sutte mo kamaimasenka.)
สูบบุหรี่ได้ไหม

 3) 明日宿題を出さなくても大丈夫ですか。
(ashita shukudai o dasanakutemo daijōbu desuka.)
พรุ่งนี้ไม่ส่งการบ้านได้ไหม

            จะสังเกตเห็นได้ว่า กรณีขออนุญาต ไม่ว่าภาษาญี่ปุ่นจะพูดได้หลายแบบเพียงใดก็ตาม ในภาษาไทยก็มักจะใช้แค่ “ได้”เหมือนกับรูปสามารถเปี๊ยบเลยครับ แค่แปะคำถาม “ไหม” หรือ “หรือเปล่า” เข้าไปที่คำว่า “ได้” ก็เท่านั้นเอง

  1. กรณี“ขอร้อง”

            กรณีนี้ยิ่งมีหลายวิธีพูดมากกว่ากรณีขออนุญาตอีกครับ เนื่องจากมีระดับของภาษาหลากหลายมากในการขอร้องในภาษาญี่ปุ่นครับ เช่น「~てくれませんか (~te kuremasenka)」
                                 「~てください (~te kudasai)」
                                 「~てくださいますか (~te kudasaimasuka)」
                                 「~てもらえますか (~te moraemasuka)」
                                 「~ていただけますか (~te itadakemasuka)」 และอีกหลายวิธีครับ

เช่น

1) 写真を撮ってくれませんか。
(shashin o totte kuremasenka.)
ถ่ายรูปให้หน่อยได้ไหม

2) ご住所を教えてもらえますか。
(go jūsho o oshiete moraemasuka.)
บอกที่อยู่ของคุณหน่อยได้ไหม

3) 私の話を聞いていただけますか。
(watashi no hanashi wo kiite itadakemasuka.)
ช่วยฟังเรื่องของฉันหน่อยได้ไหม

            กรณีขอร้องก็เช่นกัน ไม่ว่าภาษาญี่ปุ่นจะพูดได้กี่แบบก็ตาม ภาษาไทยก็ใช้แค่ “ได้” แล้วเติมคำถาม “ไหม” หรือ “หรือเปล่า”เข้าไปที่คำว่า “ได้” ก็เป็นอันจบแล้วครับ

            เพราะฉะนั้นคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ ต้องแยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่ตัวเองนั้นกำลังพูด เป็นกรณีไหน จะได้เลือกใช้ให้ถูกครับ

            แล้วพบกันใหม่ครับผม

Bottom as

บทที่ 30 การใช้ で  

で เป็นคำช่วยเพื่อชี้สถานที่ วิธีการ เครื่องมือ วัตถุดิบ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ

「ประธาน」+ が + 「สถานที่」
「เครื่องมือ」
「วิธีการ」
+ で +「กริยา」+ ます


子供 が 遊園地 遊びます
Kodomo ga yuuenchi de asobimasu
เด็กๆเล่นที่สวนสนุกครับ/ค่ะ
私 は 学校 勉強 します
Watashi wa gakkou de benkyou shimasu
ฉันเรียนหนังสือที่โรงเรียนครับ/ค่ะ
お父さん は 会社 働きます
Otousan wa kaisha de hatarakimasu
คุณพ่อทำงานที่บริษัทครับ/ค่ะ
お母さん は 台所 夕食 を 準備 します
Okaasan wa daidokoro de yuushoku o junbi shimasu
คุณแม่เตรียมอาหารเย็นที่ห้องครัวครับ/ค่ะ


お父さん は 電車 会社 に 行きます
Otousan wa densha de kaisha ni ikimasu
คุณพ่อไปบริษัทด้วยรถไฟครับ/ค่ะ
私 は バス 学校 へ 行きます
Watashi wa basu de gakkou e ikimasu
ฉันไปโรงเรียนด้วยรถเมล์ครับ/ค่ะ
先生 は 日本語 手紙 を 書きます
Sensei wa nihongo de tegami o kakimasu
อาจารย์เขียนจดหมายด้วยภาษาญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
田中さん は タイ語 挨拶 します
Tanakasan wa taigo de aisatsu shimasu
คุณทานากะทักทายด้วยภาษาไทยครับ/ค่ะ


日本人 は 箸 ご飯 を 食べます
Nihonjin wa hashi de gohan o tabemasu
คนญี่ปุ่นทานอาหารด้วยตะเกียบครับ/ค่ะ
お母さん は オーブン パン を 焼きます
Okaasan wa oobun de pan o yakimasu
คุณแม่ปิ้งขนมปังด้วยเตาอบครับ/ค่ะ
おばあさん は 折り紙 鶴 を 折ります
Obaasan wa origami de tsuru o orimasu
คุณยายพับนกกระเรียนจากกระดาษครับ/ค่ะ
お父さん は 木 箱 を 作ります
Otousan wa ki de hako o tsukurimasu
คุณพ่อสร้างกล่องจากไม้ครับ/ค่ะ
คำอธิบาย
  • で เป็นคำช่วยที่มีวิธีการใช้งานที่หลากหลาย เช่น
    • ชี้สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำ เช่น 図書館 で 本 を 読みます : Toshokan de hon o yomimasu: อ่านหนังสือที่ห้องสมุด
    • ชี้วิธีการ เช่น タイ語 で 作文 を 書きます : Taigo de sakubun o kakimasu : เขียนเรียงความด้วยภาษาไทย
    • ชี้เครื่องมือ เช่น ストロー で ジュース を 飲みます : sutoroo de juusu o nomimasu : ดื่มน้ำผลไม้ด้วยหลอด
    • ชี้วัตถุดิบ เช่น 粘土 で おもちゃ を 作ります : Nendo de omocha o tsukurimasu : ทำของเล่นจากดินน้ำมัน
    • ชี้จำนวน เช่น 三人 で テレビ を 見ます : Sannin de terebi o mimasu : ดูทีวี 3 คน
      みかん を 千円 で 買います : Mikan o sen-en de kaimasu : ซื้อส้ม 1,000 เยน
    • ชี้กรอบเวลา เช่น 30分 で ご飯 を 食べます : Sanjuppun de gohan o tabemasu : ทานอาหาร(เสร็จ)ใน 30 นาที
    • ชี้สาเหตุ เช่น 病気 で 学校 を 休みます : Byouki de gakkou o yasumimasu : หยุดเรียนเพราะไม่สบาย
    • ชี้สภาพหรืออาการ เช่น 先生 は 大声 で 話します : Sensei wa oogoe de hanashimasu : อาจารย์พูดด้วยเสียงดัง
    • ชี้หลักเกณฑ์ เช่น りんご は 3個 で 500円 です : Ringo wa sanko de gohyaku en desu : แอปเปิ้ล(ราคา) 3 ลูก 500 เยน
    • ชี้มาตรฐานเปรียบเทียบ เช่น 富士山 は 日本 で 一番 高い 山 です : Fujisan wa nihon de ichiban takai yama desu : ภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก