รูป แบบ การใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานของ อ. ชำ เรื่อง วิ เชียร์ เขต

สิ้นศิลปินแห่งชาติ “ดร.ชำเรือง วิเชียรเขตต์” ประติมากรนามธรรมของไทย

ผู้บุกเบิกและยืนหยัดสร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นเวลามากกว่า 40 ปี นับเป็นประติมากรนามธรรมคนแรกๆ ของไทย ผลงานประติมากรรมของดร.ชําเรือง อยู่ในแนวสร้างสรรค์ และสุนทรีย์ มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมเป็นอย่างยิ่ง

  • 10 สิงหาคม 2564
  • 18:41 น.
  • การศึกษา-ไอที

สิ้นศิลปินแห่งชาติ “ดร.ชำเรือง วิเชียรเขตต์” ประติมากรนามธรรมของไทย

ผู้บุกเบิกและยืนหยัดสร้างสรรค์ประติมากรรมเป็นเวลามากกว่า 40 ปี นับเป็นประติมากรนามธรรมคนแรกๆ ของไทย ผลงานประติมากรรมของดร.ชําเรือง อยู่ในแนวสร้างสรรค์ และสุนทรีย์ มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมเป็นอย่างยิ่ง

  • 10 สิงหาคม 2564
  • 18:41 น.
  • การศึกษา-ไอที

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ดร.ชำเรือง วิเชียรเขตต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ปี 2539 ได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันที่ 9 ส.ค. เวลา 05.45น. ที่บ้านเลขที่ 34/15 ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เนื่องจากโรคชรา สิริรวมอายุ 90 ปี โดยทางญาติแจ้งว่า ได้กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ วันที่ 10 ส.ค. เวลา 18.30 น. ที่วัดเวฬุวัน ต.นิคม อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และได้กำหนดพิธีประชุมเพลิงศพ ในวันที่ 11 ส.ค. เวลา 13.30 น. ที่วัดเวฬุวัน ทั้งนี้ สวธ.ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ เผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนแล้ว ยังให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท

สำหรับประวัติของ ดร.ชําเรือง วิเชียรเขตต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2475 ที่จ.กาฬสินธุ์ เป็นศิลปินอาวุโสคนสําคัญด้านประติมากรรม มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไป ได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมจํานวนมากอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน มีผลงานแสดงในนิทรรศการศิลปะและสถาบันศิลปะทั้งในและนอกประเทศ และมีผลงานติดตั้งในสาธารณสถานหลายแห่ง ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทประติมากรรมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และได้รับเลือกเป็นผู้แทนไทยในการประชุมปฏิบัติการประติมากรรมอาเซียน ดร.ชําเรือง วิเชียรเขตต์ เป็นผู้บุกเบิกและยืนหยัดการสร้างสรรค์ประติมากรรม เป็นเวลามากกว่า 40 ปี นับเป็นประติมากรนามธรรมคนแรกๆ ของไทย ผลงานประติมากรรมของ ดร.ชําเรือง อยู่ในแนวสร้างสรรค์ และสุนทรีย์ ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากงานสร้างสรรค์ศิลปะแล้ว ยังได้ทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ โดยเป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันอื่นอีกหลายแห่ง กล่าวได้ว่า ดร.ชําเรือง เป็นหลักสําคัญในด้านประติมากรรมของวงการศิลปะและศิลปศึกษาของไทย

ข่าวยอดนิยมในหมวดหมู่

ข่าวอื่นๆ

ข่าวยอดนิยมในหมวดหมู่

ข่าวล่าสุด

ข่าวล่าสุด

สงวนลิขสิทธิ์ © ๒๕๕๙ - ๒๕๖๕ บริษัท สยามรัฐ จำกัด | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | เงื่อนไขข้อตกลงการใช้บริการ

เลขที่ ๑๕๘๙ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐

ผู้ดูแลเว็บไซต์ นายวิชัย สอนเรือง ดูแลรับผิดชอบข่าว / ภาพ / โฆษณา / ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
แจ้งปัญหาการใช้งานได้ที่ เพจสยามรัฐออนไลน์

ภาพ-โฆษณา-ข่าว-บทความ รวมถึงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์สยามรัฐ อยู่ภายใต้โดเมน siamrath.co.th เท่านั้น

ความเหมือนและความแตกต่างของ รูปแบบการใช้วัสดุอุปกรณ์ ของศิลปิน

ความเหมือนและความแตกต่างของรูปแบบการใช้วัสดุอุปกรณ์ในงานทัศนศิลป์ของศิลปิน

การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างในผลงานทัศนศิลป์ของศิลปิน จะมุ่งเน้นให้พิจารณาเกี่ยวกับรูปแบบในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ของศิลปินในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจและเห็นความถนัด ความเชี่ยวชาญในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ของศิลปิน ที่จะมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง รวมทั้งสามารถที่จะใช้จินตนาการเชื่อมโยงไปถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาด้วย ซึ่งสามารถสรุปจากผลงานของศิลปินตัวอย่างได้ ดังนี้

ศิลปินสาขาจิตรกรรม

ศิลปินทั้ง ๓ ท่าน ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการรองรับการวาดที่เหมือนกัน ได้แก่ ผ้าใบ กระดาษ มีพู่กัน และแปรงในการระบาย แต่งแต้มสี สำหรับสีก็มีใช้ทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน ความแตกต่าง ก็คือ

อ.เฟื้อ หริพิทักษ์

ผลงานของเฟื้อ หริพิทักษ์ นิยมใช้สีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ภาพของท่านมักจะแสดงรายละเอียดมากมีการใช้ทั้งแปรงและพู่กันผสมกัน โดยใช้แปรงในส่วนที่แสดงลักษณะพื้นผิว แสดงแสงเงาของรูปทรงที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้พู่กันเก็บรายละเอียด

อ.สวัสดิ์ ตันติสุข

ผลงานของสวัสดิ์ ตันติสุข นิยมใช้สีน้ำวาดลงบนกระดาษ ด้วยการใช้พู่กันขนาดต่าง ๆ เป็นหลักเพื่อแต่งแต้มสี โดยจะแสดงรูปร่าง โครงสร้างของรูปทรงอย่างคร่าวๆ ไม่ได้เน้นรายละเอียดของภาพมาก แต่มีความแม่นยำในสัดส่วน

อ.ถวัลย์ ดัชนี

ผลงานของถวัลย์ ดัชนี จะมีการเลือกใช้อุปกรณ์ที่แตกต่าง คือ จะใช้แปรงขนาดใหญ่เป็นหลัก จุ่มสีแล้วปาดป้าย สีที่ใช้จะเน้นเพียงสีขาว สีดำ สีแดง และสีทอง ใช้ผ้าใบขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้ปากกาลูกลื่นนำมาวาดภาพลายเส้นลงบนกระดาษด้วย

ศิลปินสาขาประติมากรรมและสาขาสื่อผสม

ศิลปินทั้ง ๒ ท่าน ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่กล่าวได้ว่ามีลักษณะเหมือนกัน คือ ใช้ดินเหนียว และปูนปลาสเตอร์เป็นหลัก ส่วนเครื่องมือก็ใช้เครื่องมืองานปั้นทั่วไป มีการสร้างสรรค์งานประติมากรรมด้วย ถ้าเป็นผลงานประติมากรรมเกี่ยวกับการปั้นจะใช้ดินเหนียวและปูนปลาสเตอร์เป็นส่วนใหญ่ โดยงานของนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน จะนำเสนอโดยใช้ปูนปั้นค่อนข้างมาก แล้วใช้เครื่องมือมาตกแต่งผลงานให้มีความสวยงาม ประณีต

อ. นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

สำหรับการหล่อ ศิลปินทั้ง ๒ ท่านจะใช้ดินเหนียวในการขึ้นรูป เสร็จแล้วก็นำไปหล่อด้วยโลหะต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจ ความแตกต่างอยู่ที่วัสดุที่นำมาใช้หล่อ โดยผลงาน นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน จะใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างหลากหลายชนิดและเป็นวัสดุตามแบบอย่างสากลมาสร้างสรรค์ผลงานมากกว่า แต่ผลงานของชำเริอง วิเชียรเขตต์ มักใช้โลหะผสมที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป

ส่วนผลงานของกมล ทัศนาญชลี ในการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์จะมีความแตกต่างออกไปจากศิลปินทั้ง ๒ ท่าน อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลงานด้านสื่อผสม แม้ว่าผลงานในการสร้างสรรค์จะสามารถมองได้ว่าเป็นผลงานประติมากรรม แต่รูปแบบการนำเสนอและการใช้วัสดุค่อนข้างเป็นแนวคิดใหม่ โดยใช้ทั้งวัสดุที่พบได้ทั่วไป รวมทั้งวัสดุสังเคราะห์และบางส่วนก็สร้างสรรค์ขึ้นเอง ขณะเดียวกันก็ใช้เทคนิคภาพพิมพ์แกะไม้ จิตรกรรมสีน้ำมันมาผสมผสานในผลงานด้วย จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่างานทัศนศิลป์ของท่านมีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้นอยู่แนวคิดที่ต้องการนำเสนอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก