การค้นหาประวัติคนไข้

รายชื่อผู้ป่วย (Patient List) หรือ ประวัติผู้ป่วย (Patients History) เป็นหน้าจอที่แสดงรายชื่อผู้ป่วยทั้งหมดของคลินิก ผู้ใช้สามารถดูรายชื่อผู้ป่วย, ดูประวัติผู้ป่วย หรือค้นหาผู้ป่วย จากหน้าจอนี้ได้

การเปิดหน้าจอรายชื่อผู้ป่วย

เปิดได้จาก [หน้าจอหลัก] โดยคลิกที่ปุ่ม [ประวัติผู้ป่วย] ที่แถบเครื่องมือด้านบนของ [หน้าจอหลัก] ซึ่งจะปรากฎหน้าจอดังภาพ

(หมายเลข 1) แถบนี้ประกอบไปด้วยปุ่มคำสั่งต่างๆ ดังนี้

1.1 เพิ่มผู้ป่วยใหม่ (Add a new patient)

ใช้เพิ่มผู้ป่วยใหม่ เมื่อกดปุ่มนี้จะปรากฎหน้าจอ [ข้อมูลผู้ป่วย] ขึ้นเพื่อให้ใส่ข้อมูลผู้ป่วยต่อไป

1.2 แก้ไขผู้ป่วยที่เลือก (Edit the selected patient)

ใช้แก้ไขข้อมูลผู้ป่วยที่เลือกอยู่ในรายการด้านล่าง (หรือจะใช้เมาส์ Double click ที่รายการผู้ป่วยคนนั้นเลยก็ได้)

1.3 โหลดใหม่ (Refresh)

โหลดรายชื่อผู้ป่วยใหม่ ปกติไม่จำเป็นต้องใช้ปุ่มนี้

1.4 รายงาน (Report)

        • พิมพ์ทันที (Print Now): พิมพ์รายชื่อผู้ป่วยที่ปรากฎอยู่ในรายการ โดยจะพิมพ์รายการตามที่เห็นและตามที่ผู้ใช้จัดวางเช่น ลำดับคอลัมน์, ความกว้างของคอลัมน์, การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting), การกรองข้อมูล (Filter)
        • นำข้อมูลออกลงไฟล์ข้อความ (Export to text file): นำรายชื่อผู้ป่วย พร้อมข้อมูลที่แสดงอยู่ บันทึกลงไฟล์ข้อความ (Text File) ซึ่งสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมอื่นได้ เช่น MS-Excel, Open-Office, Notepad

1.5 Searching (การค้นหา)

        • ค้นหา (Find): ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหา โดยจะค้นหาจากตัวอักษรแรกในคอลัมน์ที่เลือก
        • ใน (In): เลือกคอลัมน์ที่ต้องการค้นหา เช่น รหัสผู้ป่วย (Patient Id), เลขอ้างอิง (Reference No.), ชื่อ (First Name), นามสกุล (Last name), โทรศัพท์ (Phone)
        • เริ่มค้นหา (Find first): เริ่มค้นหาข้อมูล โดยเริ่มจากรายการแรกเสมอ หากพบข้อมูลที่ค้นหา โปรแกรมจะแสดงและเลือกรายการนั้นให้เห็น
        • ค้นหาต่อไป (Find next): ค้นหาข้อมูลต่อจากรายการที่เลือกอยู่ (หรือกดแป้นพิมพ์ F3 ก็ได้) ไปเรื่อยๆ กรณีที่อาจจะมีข้อมูลตรงกับที่กำลังค้นหาอยู่หลายรายการ

2. รายชื่อผู้ป่วย

(หมายเลข 2, 3, 4) รายชื่อผู้ป่วยนี้คลอบคลุมพื้นที่ เกือบทั้งหมดของหน้าจอ โดยประกอบไปด้วย

2.1 กลุ่มข้อมูล (Group Box)

แสดงเป็นแถบอยู่ด้านบนของรายชื่อผู้ป่วย (หมายเลข 2) ใช้เพื่อจับข้อมูลที่เหมือนๆ กันของแต่ละคอลัมน์ (Column) มารวมกันเป็นรายการต่อเนื่องกันตามกลุ่ม เช่น

        • เมื่อผู้ใช้ลากคอลัมน์ [เพศ] หรือ [Sex] มาวางไว้ที่แถบนี้ โปรแกรมจะจัดกลุ่มของผู้ป่วยตามเพศ โดยแบ่งเป็น เพศชาย, เพศหญิง และไม่ระบุเพศ ผลที่ได้คือ ผู้ใช้จะตรวจดูข้อมูลได้เป็นกลุ่มๆ ง่ายขึ้น

หมายเหตุ: ผู้ใช้สามารถสั่งให้จับกลุ่มข้อมูลหลายคอลัมน์พร้อมกันได้ และเมื่อต้องการยกเลิกการจับกลุ่มคอลัมน์ใด ก็ลากคอลัมน์นั้นกลับไปไว้ที่เดิม

2.2 รายชื่อผู้ป่วย (Patient List)

แสดงอยู่ตรงกลางจอ (หมายเลข 3) ผู้ใช้สามารถทำงานต่อไปนี้ได้

        • เลื่อนรายการเพื่อดูข้อมูลก่อนนี้ หรือรายการต่อไปได้
        • เรียงลำดับข้อมูล (Sort) โดยการคลิกที่หัวคอลัมน์ที่ต้องการ การคลิกแต่ละครั้งจะทำให้ การเรียงลำดับข้อมูลจะเปลี่ยนไปจาก เรียงมาก ไปน้อย, เรียงน้อย ไปมาก, ไม่เรียง
        • กรองข้อมูล (Filter) โดยการคลิกที่ปุ่มลูกศรลงที่ห้วของแต่ละคอลัมน์ โดยโปรแกรมจะแสดงรายการข้อมูลที่มีอยู่ในคอลัมน์นั้น เพื่อให้ผู้ใช้เลือกกรอง
          • หากต้องการกำหนดเงื่อนไขเอง ให้เลือก [Custom…]
          • หากต้องการยกเลิกการกรองที่คอลัมน์ใด ให้เลือก [All]

2.3 ท้ายคอลัมน์ (Footer)

แสดงอยู่ด้านล่างสุดของรายชื่อผู้ป่วย (หมายเลข 4) ปกติจะแสดงจำนวนข้อมูลที่แสดงในรายการ ซึ่งหากมีการกรองข้อมูลด้วย ก็จะแสดงเฉพาะจำนวนข้อมูลที่ได้จากการกรองเท่านั้น (จากตัวอย่างในภาพ จะเห็นว่ามีรายชื่อผู้ป่วยอยู่ 4x,xxx ราย)

3. การแสดงภาพผู้ป่วย พร้อมรายชื่อผู้ป่วย

ปกติโปรแกรมจะปิดการแสดงภาพผู้ป่วย ขณะดูรายชื่อผู้ป่วยไว้ แต่ผู้ใช้สามารถเปิดแสดงผลนี้ได้โดย

คลิกที่มุมด้านซ้ายบนของรายชื่อผู้ป่วย ซึ่งจะปรากฎรายชื่อหมวดข้อมูลมาให้เลือก ให้คลิกทำเครื่องหมายที่ [ภาพ] หรือ [Pic]

โปรแกรมจะแสดงรายชื่อผู้ป่วยพร้อมภาพให้เห็น

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ

Medical Records and Statistics Department 

ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการแพทย์ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีประวัติความเป็นมา ดังนี้

พ.ศ. 2482  ได้เริ่มจัดตั้งเป็นหน่วยงาน ชื่อหมวดสถิติ เก็บประวัติผู้ป่วยเข้าแฟ้ม แยกเป็นกลุ่มโรค ลงชื่อโรคไว้หน้าแฟ้ม เรียงลำดับเลขที่ภายใน ลงทะเบียนผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมโดยขึ้นกับ แผนกพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พ.ศ. 2497 เริ่มมีการใช้หนังสือ International Classification of Diseases (ICD ) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบในการจัดเก็บประวัติผู้ป่วย ลงรหัสตามระบบใหม่ (17 ระบบ) ส่วนวิธีการเก็บประวัติยังคงเป็นแบบเดิม

พ.ศ. 2500 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับองค์การอนามัยโลก เล็งเห็นความสำคัญของงานเวชระเบียน จึงได้จัดทำระบบเวชระเบียนตามหลักสากลขึ้น โดยวางรูปแบบมาตรฐานขึ้นใช้ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ และต่างจังหวัด ระบบดังกล่าวมีดังนี้

  • จัดให้มีหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบงานเวชระเบียนและสถิติ
  • จัดทำดัชนี
  • จัดทำสถิติด้วยเครื่องจักรกล
  • จัดทำรายงานประจำปี

พ.ศ. 2505 ปริมาณผู้ป่วยในเพิ่มมากขึ้น งานด้านทะเบียนและสถิติผู้ป่วยจึงได้ขยายและพัฒนาระบบงานเรื่อย ๆ เริ่มจากการลงรหัสโรคตามหนังสือ ICD Detailed List  Numbers มีการใช้เครื่องเจาะบัตรบันทึก-ข้อมูล นำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยมีนักสถิติของโรงพยาบาลต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องได้ประชุมและเขียนโปรแกรมร่วมกัน มีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นที่ปรึกษาในการทำการปรับปรุงข้อมูลและตารางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อออกรายงานสถิติประจำปี

พ.ศ. 2508 ได้จัดทำหนังสือ Statistical Report เล่มแรก รายงานข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องสถิติโรค สถิติการคลอด เด็กแรกเกิด การผ่าตัด อุบัติเหตุ และผู้ป่วยถึงแก่กรรม ฯลฯ และได้จัดเสนอข้อมูลดังกล่าวทุกปีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2520 หน่วยสถิติได้รับบริจาคเครื่องถ่ายไมโครฟิล์มพร้อมเครื่องอ่าน และอัดสำเนาจากคุณหญิงระเบียบ คุณะเกษม เป็นเครื่องแรก นำมาใช้ในการถ่ายประวัติเก่าที่เก็บไว้นานเกิน 10 ปี เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ ก่อนจะนำประวัติไปทำลาย            

พ.ศ. 2523 คณะกรรมการเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ได้อนุมัติให้เลื่อนฐานะหมวดสถิติเป็นแผนกเวชระเบียนและสถิติ โดยมีนายแพทย์สมพร สาระยา เป็นหัวหน้าแผนก ได้มีการปรับปรุงและขยายระบบการปฏิบัติงานให้ทันสมัยก้าวหน้ายิ่งขึ้น มีการเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลจากการเจาะบัตรเป็นการบันทึกข้อมูลลงในแผ่น Diskette (Key to diskette) และประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำหนังสือ Statistical Report ประจำปี และปลายปีได้มีการอนุมัติให้ซ่อมแซมและตกแต่งตึกผ่าตัดเก่า (OR.ใหญ่) เป็นสถานที่แห่งใหม่ของแผนกเวชระเบียนและสถิติ

พ.ศ. 2526 ได้เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม พร้อมเครื่องอ่านและอัดสำเนา เพิ่มอีก 2 เครื่อง จากงบประมาณประจำปี

พ.ศ. 2529 แผนกเวชระเบียนและสถิติ เริ่มมีการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นเครื่องแรก 

พ.ศ. 2535 มีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 7 เครื่อง โดยได้จากเงินงบประมาณ 6 เครื่อง และได้รับบริจาคจากบริษัท สุราทิพย์ศรีอรุณ จำกัด จำนวน 1 เครื่อง และได้รับบริจาคเครื่องถ่ายเอกสาร CANON  NP2020 จำนวน 1 เครื่อง เพื่อใช้ในกิจการของแผนกอีกด้วย

พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนจากแผนกเวชระเบียนและสถิติ เป็นฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ 

พ.ศ. 2544 เริ่มมีการจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บและสะดวกในการค้นหาแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน ซึ่งมีปริมาณจำนวนของเวชระเบียนที่ตกค้างเป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2548 จัดทำโครงการจัดจ้างบุคลากรภายนอกทำงาน เพื่อเร่งรัดการจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลา 6 ปี

พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ ดำเนินการจัดเก็บเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เองโดยใช้เจ้าหน้าที่ในฝ่าย

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ มีบุคลากรปฏิบัติงานทั้งสิ้นจำนวน 29 คน เป็นเจ้าหน้าที่สังกัดสภากาชาดไทย 26 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ธุรการ (ชั่วคราว) จำนวน 3 คน

รางวัลและความภาคภูมิใจของฝ่าย 

  1. ได้รับเกรียติเข้าร่วมเสนอผลงานในงานมหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาล ประจำปี 2546
  2. ได้รับรางวัลดีเด่น ด้านมุ่งมั่น การประกวดกิจกรรม 5 ส. ประเภททั่วไป ประจำปี 2549
  3. เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพัฒนาคุณภาพ (CQI) หน่วยงานสนับสนุน ประจำปี 2552
  4. ได้รับรางวัลผลงานพัฒนาคุณภาพบริการด้วยแนวคิด Lean ประเภท ชมเชย ในงาน Quality Market ครั้งที่ 3 ปี 2553 
  5. ได้รับรางวัล SILVER AWARD ในการตัดสินผลงานพัฒนาคุณภาพบริการด้วยแนวคิด Lean ประจำปี 2555 – 2556
  6. เข้าร่วมทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการด้วยแนวคิด Lean ประจำปี 2561

เจตจำนง

ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว

ภาระหน้าที่

  1. รวบรวมและจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยในให้ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
  2. ลงรหัสและตรวจสอบข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในให้ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
  3. จัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยในทุกรายด้วยเครื่องจัดเก็บอิเล็กทรอนิกส์
  4. ให้บริการเวชระเบียนผู้ป่วยใน และข้อมูลทางการแพทย์ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
  5. จัดทำรายงานสถิติทางการแพทย์

โครงสร้างของฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ แบ่งเป็น

1. งานบริการเวชระเบียน/ข้อมูลสถิติ จัดเก็บและธุรการ

  • รวบรวม/จัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยใน
  • บริการเวชระเบียน
  • บันทึกและประมวลผลข้อมูล
  • จัดทำรายงานสถิติต่าง ๆ
  • บริการข้อมูลสถิติทางการแพทย์
  • ธุรการ

2. งานลงรหัสและตรวจสอบข้อมูล

  • ลงรหัส ตรวจสอบข้อมูลในเวชระเบียน
  • จัดทำ RCA ที่แพทย์ลงรหัสไม่ถูกต้อง/ครบถ้วน
  • อุทธรณ์ผลการตรวจสอบจากต้นสังกัด

3. งานสแกน

  • จัดเตรียมเวชระเบียน
  • สแกนเวชระเบียน
  • บริการเวชระเบียนในรูป CD

การให้บริการของฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ

  1. บริการเล่มเวชระเบียนผู้ป่วยใน
  2. บริการข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยใน ในรูปแบบ CD
  3. บริการข้อมูลสถิติทางการแพทย์และสถิติต่าง ๆ

วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 6 

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ
อาคารอุปการเวชกิจ ชั้น 6

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 92090

กรณีขอประวัติการรักษาต่อ/ ประกันชีวิต 02-2564576

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก