อุปมา อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

คุณค่า อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

คุณค่าด้านวรรณศิลป์
          การใช้คำและโวหาร  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ  อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์  ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย  ดังนี้
          การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม  มีการเล่นคำ  เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ  เช่น  ตอนอิเหนาชมดง
                                   ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่
                              เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
                              นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
                              จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี
          การใช้โวหารเปรียบเทียบ  คือ  โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน  กวีเปรียบได้ชัดเจน  เช่น
                                   กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย                   เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
                              ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์                    เห็นผิดระบอบบุราณมา
          ปาหยังกับปะหมันประเมินกำลังฝ่ายตนว่าเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น  คงสู้วงศ์เทวาไม่ได้  จึงไม่ควรสู้เป็นการเตือนสติให้หยุดคิด  แต่ก็ไม่ได้ผล  ปัญหาใหญ่จึงตามมา
          หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะ หรา  ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ  ที่มาของสำนวน "ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ"  คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง  เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก  เพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก  อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อน  ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น  ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ  สงสาร  และเห็นใจว่า
                                   แล้วว่าอนิจจาความรัก                         พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
                              ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                        ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
                              สตรีใดในพิภพจบแดน                               ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า
                              ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา                              จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
               อีกตอนหนึ่งมีใช้อุปมาโวหารได้กินใจเช่นกัน  เพราะแสดงความรักอันท่วมท้นของพ่อที่มีต่อลูก
                                   "พี่ดังพฤกษาพนาวัน                            จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา"
               ความรักของพ่อทนไม่ได้ที่เห็นลูกมีทุกข์  หากแลกได้จะยอมรับทุกข์แทนลูก  แต่เมื่อทำไม่ได้พ่อก็ต้องพยายามจนถึงที่สุด  แม้รู้ว่าจะไปตายก็ยอม  บทเปรียบเทียบนี้เปรียบกับธรรมชาติ  คือ  ต้นไม้บางประเภทที่เมื่อออกผลแล้วต้นจะตายไป  ต้นไม้ตายเพราะลูกก็เปรียบได้กับท้าวกะหมังกุหนิงต้องตายเพราะมีสาเหตุมาจาก วิหยาสะกำซึ่งเป็นพระราชโอรสนั่นเอง  อุปมานี้ฝากข้อคิดไว้ให้ลูก ๆ ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเรามากมายเพียงใด
               อีกตอนหนึ่งเป็นข้อความในพระราชสาส์นที่ท้าวกุเรปันมีไปถึงอิเหนา  ท้าวกุเรปันเป็นคนรักลูกก็จริง  แต่ก็หยิ่งในเกียรติถือยศถือศักดิ์  ถ้าลูกผิดก็จะไม่มีวันโอนอ่อน  คำประพันธ์ตอนนี้จึงให้อารมณ์ของความเด็ดขาด  เข้มแข็ง  ไม่มีการอ้อนวอนขอร้องใด  เปิดโอกาสให้อิเหนาคิดเอาเอง  หากไม่มาก็ถือตัดพ่อตัดลูกชนิดไม่ต้องมาเผาผีกัน
                                   แม้มิยกพลไกรไปช่วย                           เราก็ม้วยก็อย่ามาดูผี
                              อย่าดูทั้งเปลวอัคคี                                    แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย

          ใช้คำบรรยายชัดเจนได้ภาพพจน์  ผู้อ่านนึกภาพตามผู้เขียนบรรยายตามไปยิ่งจะทำให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น  เช่น  ตอนอิเหนาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิงด้วยใช้กริชเป็นอาวุธ  จะเห็นลีลาท่าทางและจังหวะที่สอดคล้องกัน  เห็นทีท่าอันฉับไวและสง่างาม
                                     เมื่อนั้น                                             ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
                              ได้ฟังคำชื่นชมยินดี                                    ครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์
                              อันเพลงกริชชวามลายู                                กูรู้สันทัดไม่ขัดสน
                              คิดแล้วชักกริชชวามลายู                             ร่ายทำทำกลมารยา
                              กรขวานั้นกุมกริชกราย                                พระหัตถ์ซ้ายนั้นถือเช็ดหน้า
                              เข้าปะทะประกริชด้วยฤทธา                          ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม
                                   เมื่อนั้น                                             ระเด่นมนตรีชาญสมาน
                              พระกรกรายลายกริชติดตาม                          ไม่เข็ดขามคร้ามถอยคอยรับ
                              หลบหลีกไวว่องป้องกัน                              ผัดผันหันออกกลอกกลับ
                              ปะทะแทงแสร้างทำสำทับ                           ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง
                              เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด                               พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง
                              ล้มลงดาวดิ้นสิ้นกำลัง                                 มอดม้วยชีวังปลดปลง

ข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงคืออะไร

ข้อคิด ๑. ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู ๒. ความรักในศักดิ์ศรี ๓. รักษาคำสัตย์

เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีรูปแบบอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งเป็นกลอนประเภทกลอนขับร้องที่มีการบังคับคำนำเช่นเดียวกับกลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย แต่กลอนบทละครบังคับคำนำที่นับเป็น 1 วรรคได้ คณะ วรรคนี่งมี ๖ – ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ วรรค และบังคับเสียงวรรณยุกต์ในวรรคเพื่อความไพเราะในการแต่งและอ่านทำนองเสนาะดังนี้

อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง ใช้โวหารอะไร

การใช้คำและโวหาร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย ดังนี้ - การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น ตอนอิเหนาชมดง

ตัวละครในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีใครบ้าง

ระเด่น ดายน สุหรานากง วิยา- สะกา ท้าวกะหมัง- กุหนิง ตามะงง ระตูปายัง ระตูประหมัน ครุฑนาม นาคนาม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก