กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน จาก ความเครียด

การรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด "การฝึกกลั้นปัสสาวะในการรักษาโอเอบี"

ภาวะโอเอบี หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจจะไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือน่ากลัวแต่เป็นโรคที่ทำลายคุณภาพชีวิตของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายและจิตใจ ส่งผลกระทบในการเข้าสังคม ผลกระทบในการทำงาน ผลกระทบต่อการเดินทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลในการหาห้องน้ำระหว่างเดินทาง และผลกระทบต่อการนอนเพราะต้องลุกไปเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนบ่อยๆ

แนวทางการรักษาโอเอบีด้วย “พฤติกรรมบำบัด” ก็เป็นวิธีการหนึ่งในหลากหลายวิธี ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการโอเอบี หรือทำให้โอเอบีรุนแรงขึ้น เช่น งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีผลต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ บางครั้งหากดื่มน้ำมากเกินไปก็อาจจะปรับลดปริมาณลง หรือ ดื่มให้เป็นเวลา ทั้งนี้ สามารถใช้วิธีการจดตารางการดื่มน้ำ และปัสสาวะ (Voiding diary เพื่อช่วยเป็นข้อมูลประกอบ ผู้ที่มีอาการไม่มากนักสามารถฝึกการถ่ายปัสสาวะ โดยให้พยายามยืดเวลาการถ่ายปัสสาวะออกไปเท่าที่ทำได้ เมื่อมีอาการปวดพยายามเกร็งกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือพยายามเบี่ยงเบนความสนใจไปทำกิจกรรมอื่น ในระยะแรกอาจจะทำได้ไม่นานนักซึ่งอาจสามารถยืดเวลาออกไปได้เพียง 5-10 นาที แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถยืดระยะเวลาออกไปได้มากขึ้น จนจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะลดลงในระยะเวลา 2-3 เดือน จะสามารถลดจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะได้ถึงร้อยละ 70 หากอาการไม่รุนแรงนัก แต่หากอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องพิจารณาใช้การรักษาอื่น เช่น การให้ยารับประทานประกอบกันด้วย

อุปกรณ์ง่ายๆ ที่ใช้ในการคืนความสดใสให้ชีวิต
​​​​​​​- ตารางบันทึกการปัสสาวะ - ดินสอหรือปากกาสำหรับบันทึก - นาฬิกา

สัปดาห์ที่ 1 ให้ใช้ร่วมกับตารางบันทึกการปัสสาวะสัปดาห์ที่ 1
​​​​​​​ให้ปัสสาวะทันทีเมื่อท่านตื่นนอนในตอนเช้า ถ้าปวดมากจนอาจกลั้นไม่ได้ ขณะลุกจากเตียง ให้นับ 1 - 5 ช้าๆ แล้วขมิบช่องคลอดร่วมด้วยขณะเดินไปห้องน้ำ จากนั้นให้ขีดเครื่องหมาย ( / ) ในช่องสีเขียว นับเวลาไปอีก 1 ชม. เมื่อครบ 1 ชม. ให้ไปปัสสาวะอีกครั้ง ถึงแม้ว่าท่านจะยังไม่รู้สึกปวดก็ตาม และลงเครื่อง ( / ) ในช่องสีเขียวทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุก 1 ชั่วโมง จนกระทั่งเข้านอน หากท่านรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างรุนแรงและต้องเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วนเพราะทนกลั้นปัสสาวะไม่ได้ก่อนถึงเวลาที่กำหนด แต่ไม่มีปัสสาวะเล็ดราด ให้ขีดเครื่องหมาย ( / ) ในช่องสีขาว

และกรณีมีปัสสาวะเล็ดราด ให้ขีดเครื่องหมาย ( / ) ในช่องสีขาว ให้ตรงกับเวลาที่ท่านปัสสาวะพร้อมทั้งระบุตัวอักษร “ซ” สำหรับชื้นแฉะเล็กน้อย หรือ “ป” สำหรับเปียกแฉะ และจะต้องเปลี่ยนผ้าซับปัสสาวะผืนใหม่ทุกครั้ง ในกรณีที่ท่านใช้ผ้าอนามัยหรือผ้าอ้อมสำหรับดูดซับปัสสาวะอยู่ ถ้าท่านสามารถกลั้นปัสสาวะได้ตามเวลาที่กำหนด แสดงว่าท่านสามารถควบคุมอาการปัสสาวะไวเกินได้แล้ว ขณะนี้ท่านก็พร้อมแล้วสำหรับความก้าวหน้าในสัปดาห์ต่อๆ ไป

สัปดาห์ที่ 2 ให้ใช้ร่วมกับตารางบันทึกการปัสสาวะสัปดาห์ที่ 2
เมื่อท่านผ่านสัปดาห์แรกโดยสามารถควบคุมตัวเองให้ปัสสาวะทุก 1 ชม.ได้แล้ว ขั้นต่อมาในสัปดาห์ที่ 2 ก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดียวกับสัปดาห์แรกเริ่มตั้งแต่ตื่นนอน แต่การทำเครื่องหมายลงเวลาปัสสาวะ ให้นับเวลาเพิ่มไปอีกครึ่งชั่วโมง คือนับทุกๆ 1 ชม.ครึ่ง สำหรับรอบการปัสสาวะ 1 ครั้ง

สัปดาห์ที่ 3-6
ถ้าท่านสามารถกลั้นปัสสาวะได้ตามตารางมาเป็นเวลา 4-5 วัน โดยไม่มีปัสสาวะเล็ดราด แสดงว่าท่านเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกหัดขั้นต่อไปแล้ว ในสัปดาห์ที่ 3-6 นี้ ท่านจะต้องเพิ่มเวลาระหว่างการปัสสาวะให้นานขึ้นดังนี้
1 ชม. 45 นาที ในสัปดาห์ที่ 3
2 ชม. ในสัปดาห์ที่ 4
2 ชม. ครึ่ง ในสัปดาห์ที่ 5
​​​​​​​และ 3 ชม. ในสัปดาห์ที่ 6

ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายและมีอาการปวดปัสสาวะมาก ก็ให้เข้าห้องน้ำโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นผลเสียต่อการรักษาแบบพฤติกรรมบำบัด พึงระลึกว่าอาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในวันเดียว ดังนั้นการรักษาก็ต้องใช้เวลาเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยบางท่านอาจจะต้องฝึกเป็นเวลาหลายสัปดาห์

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
​​​​​​​เมื่อท่านรู้สึกปวดปัสสาวะก่อนถึงเวลาที่กำหนด ให้ท่านพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของตัวท่าน เช่น

  1. คิดถึงเรื่องที่ซับซ้อน ยุ่งยากต่างๆ เช่น นึกถึงเนื้อเพลง ชื่อเพลงต่างๆ พร้อมทั้งร้องเบาๆ ตามที่คิด หรือ คิดคำนวณตัวเลข การอ่านชื่อซอยหรือถนนขณะเดินทาง​​​​​​​
  2. คิดถึงเรื่องที่สนุกสนาน สวยงาม เช่น นอนท่ามกลางสวนดอกไม้ที่สวยงาม เดินเล่นบนหาดทราย
  3. ท่านต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าท่านสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมฝึกการถ่ายปัสสาวะที่แนะนำนี้ได้สำเร็จ และสามารถพิชิตอาการโอเอบี เรียกคืนความสดใสให้ชีวิตได้
  4. ให้เวลากระเพาะปัสสาวะได้ฝึกหัดกลั้นปัสสาวะ 6-8 สัปดาห์เต็ม อย่ายอมแพ้ หรือ ล้มเลิกกลางคัน ถ้าการกลั้นปัสสาวะไม่พัฒนาขึ้นตามเวลาที่กำหนด หรืออาจจะเลวร้ายลงอีกหลังจากมีอาการดีขึ้นเล็กน้อย โปรดระลึกไว้เสมอว่า อย่ากังวลที่อาจจะต้องย้อนกลับไปเริ่มฝึกใหม่

การฝึกจะไม่ได้ผลดีในกรณีที่
- เครียด
- เหนื่อยเพลีย
- กำลังมีประจำเดือน
- อากาศหนาวเย็น
- ไม่สบาย เช่น เป็นหวัด
- กังวลเรื่องอื่นๆ อยู่

 เคล็ดลับเรียกคืนความสดใส
- ดื่มน้ำในปริมาณปกติ ห้ามจำกัดน้ำ หรือดื่มน้ำมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำ “ชนิดเผื่อไว้ก่อน” จะทำให้ติดเป็นนิสัย และส่งผลทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยได้
- ควรไปพบสูตินารีแพทย์หรือศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะที่เชี่ยวชาญการดูแลรักษาไม่ควรปล่อยไว้

ภาวะโอเอบีเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและอาจจะส่งผลเสียรุนแรง เช่น ในกรณีผู้สูงอายุอาจจะหกล้มระหว่างเดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น หากท่านกำลังประสบกับภาวะโอเอบีอยู่ละก็ รีบไปพบแพทย์ตั้งแต่วันนี้เพื่อชีวิตที่สดใสอีกครั้ง

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เกิดจากอะไร

สาเหตุของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน การเสื่อมสภาพการควบคุมการถ่ายปัสสาวะตามอายุ เนื่องจากโรคนี้พบมากในคนสูงอายุ กล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานและท่อปัสสาวะมีการทำงานที่ผิดปกติ ตัวกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะเองมีการทำงานที่ผิดปกติ มีการอุดกั้นทางเดินของน้ำปัสสาวะที่บริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ

การกระตุ้นเส้นประสาทใดทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเพื่อถ่ายปัสสาวะ

- การกระตุ้นเส้นประสาททิเบียล (Tibial nerve stimulation) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะทางอ้อมผ่านทางเส้นประสาททิเบียลซึ่งทอดผ่านบริเวณข้อเท้า ทำได้โดยการแทงเข็มขนาดเล็กมากๆ ผ่านผิวหนังที่บริเวณใกล้ข้อเท้าเข้าไป แล้วเชื่อมต่อปลายอีกข้างของเข็มเข้ากับอุปกรณ์ที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้น ...

กระเพาะปัสสาวะหมายถึงอะไร

กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูกของผู้หญิง และจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนักของผู้ชาย มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังกระเพาะปัสสาวะจะ ...

Residual urine มีกี่cc

➢ปัสสาวะตกค้างหลังถ่ายปัสสาวะเสร็จใหม่ (residual urine) >100 ซีซี หลังถ่ายปัสสาวะเสร็จใหม่ๆ ไม่เกิน 10นาที

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก