เพลงเขมรไทรโยคได้นำออกมาบรรเลงครั้งแรกในวันที่เท่าไร

       อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า ย่อหน้าข้างบนที่ว่าด้วยเรื่องประวัติของเพลงเถาเพลงนี้นั้นหลายคนอาจจะ น้ำลายฟูมปาก เพราะ ไม่ค่อยเข้าใจศัพท์แสงมันอยู่ ความจริงประวัติดังกล่าวอยู่ในหนังสือซึ่งเขียนโดยราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งพูดถึงเพลงเถาต่างๆ อย่างละเอียด แต่สำหรับศัพท์แสงหลายอย่างดูเหมือนจะยังไม่ได้อธิบายให้เคลียร์ เพราะฉะนั้นผมจะขออธิบายความหมายมันสั้นๆที่พอจะทำให้ท่านผู้อ่านทะลุไปถึง ขั้นต่างๆ ของเพลงไทยเดิมได้ต่อไป

ความหมาย เพลงเขมรไทรโยค
โดย.. ลุงใหญ่ 16-02-56

คำร้อง : พระราชนิพนธ์ ของ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
ทำนอง : พระราชนิพนธ์ ของ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์

... เนื้อร้องเพลงเขมรไทรโยค ...

.. บรรยายความ ตามไท้เสด็จยาตร ปยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์
น้องเอย...เจ้าไม่เคยเห็น

ไม้ไร่หลากพันธุ์ คละขึ้นปะปนที่ชายชลเขาชะโงก เป็นโกรกธาร

.. น้ำพุพุ่งซ่าน ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ มันไหลจ้อกโครม
จ้อกโครม มันดังจ้อก จ้อก จ้อก จ้อก โครม โครม
น้ำใสไหลชวนดูหมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมาก็เห็นโฉม
เอ่ย น้องเอย เจ้าก็ไม่เคยเห็น

.. ยินปักษา ซ้องเสียงเพียงประโคม เมื่อยามเย็นพยัพโพยม ร้องเรียกดัง
เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง หูเราฟัง มันร้องดัง กระโต้งโห่ง
มันดัง ก้อก ก้อก ก้อก ก้อก กระโต้งโฮง

ประวัติ ของบท เพลงเขมรไทรโยค

... บทเพลง "เขมรไทรโยค" เปนผลงานของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
(พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๙๐) พระน้องยาเธอในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
เพลงนี้ทรงพระนิพนธ์ไว้เมื่อคราวตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ ไปตำบลไทรโยค ครั้งที่ ๒
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงเล่าถึงความงามของป่าเขาลำเนาไพรผ่านบทเพลงอันแสนไพเราะ
ให้ผู้รับฟังได้ซาบซึ้งกับธรรมชาติ ณ ที่นั้น ไม่ว่าจะผ่านมานานแล้วสักเพียงใดแต่
ความไพเราะของเพลงนี่ก็ยังคงอยู่

... ในบรรดาเพลงไทยเดิมที่เป็นอมตะที่สุด ที่มีเนื้อร้องบรรยายถึงสถานที่ท่องเที่ยว
เป็นเพลงแรกของไทย นั่นก็คือ "เพลงเขมรไทรโยค" ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน 2555
ที่ผ่านมามีอายุครบ 124 ปี แต่บทเพลงดังกล่าวก็ยังมีความไพเราะสุดแสนจะบรรยาย

... เพลงเขมรไทรโยค ประพันธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ซึ่งได้เคยตามเสด็จประพาสไทรโยค
กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่โปรดเสด็จ
ประพาสต้นที่เมืองกาญจนบุรีถึง 4 ครั้ง
(ไม่นับรวมที่ตามเสด็จพระราชบิดาเมื่อปี พ.ศ.2408)
ทำให้เกิดบทพระราชนิพนธ์ "ประพาสไทรโยค" ที่ได้ทรงบรรยาย
ถึงการเดินทางมายังน้ำตกไทรโยคที่เมืองกาญจนบุรี

... พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินประพาสต้น
มาเมืองกาญจนบุรีครั้งแรก ในปี พ.ศ.2416 โดยเรือกลไฟทางทะเล
ไปเมืองราชบุรี แล้วเสด็จทางชลมารคไปลงเรือพระที่นั่งที่ท่าสะคร้อ

... เสด็จมายังเมืองกาญจนบุรี ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2420 เสด็จทางชลมารค
ไปตามลำน้ำแควน้อย แล้วเสด็จมาประทับที่เมืองราชบุรีในครั้งนี้ที่สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ติดตามมาด้วย ขณะที่มีพระชนมพรรษา
เพียง 14 พรรษา ด้วยทรงมีนิสัยโปรดทางดนตรีปี่พาทย์ ได้นำเอาผืนระนาด
ม้วนใส่เรือไปด้วยเวลามีพระประสงค์จะทรงตี ก็คลี่ผืนระนาดผูกกับกราบเรือ
แทนรางระนาด ไม่ว่าขึ้นพักที่ใดมีเวลาว่างก็ทรงตีระนาดเสมอ
จนสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยาลาภพฤติธาดา
ซึ่งประทับอยู่เรือลำเดียวกัน รับสั่งบ่นว่า "องค์จิตรนี้แหละตีระนาดหนวกหูพิลึก"

... จากการตามเสด็จในครั้งนี้ ได้ชมความงามตามธรรมชาติของเมืองกาญจนบุรี
โดยเฉพาะลำน้ำแควน้อยซึ่งไหลคดเคี้ยวสภาพสองฝั่งลำน้ำมีสภาพเป็นป่า
ที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำที่ใสไหลเย็น มีเกาะแก่ง เรี่ยว โขดหิน ภูเขาที่สลับซับซ้อน
และน้ำตก รวมทั้งสิงสาราสัตว์นานาชนิด โดยเฉพาะนกยูงและนกต่างๆ ส่งเสียง
ร้องก้องป่าในยามวิกล อีกทั้งมีอากาศที่เย็นสบายชื่นใจทำให้ผู้ตามเสด็จประทับใจ
ที่ได้มีโอกาสมาเยือนกาญจนบุรี

... ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2431 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ทรงจัดให้มีการรื่นเริงถวายเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานนี้จะมีการบรรเลงเพลงต่อหน้าพระพักตร์
โดยวงดุริยางค์ทหารที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ มีเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ รับทำหน้าที่
อำนวยการเพลงทั้งหมด

... กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ฯ ทราบว่าในปลายปี พ.ศ.2431
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จะเสด็จประพาสไทรโยคที่กาญจนบุรีอีก
จึงทรงพระนิพนธ์เพลงขึ้นมาใหม่ มีบทร้องเกี่ยวกับสภาพความงามตามธรรมชาติ
ของลำน้ำแควน้อยและน้ำตกไทรโยค ที่พระองค์ได้เคยตามเสด็จ ได้ปรับปรุงทำนอง
จากเพลงเขมรกล่อมลูก มีการใส่เนื้อร้องและดนตรีใหม่ เพลงเขมรกล่อมลูก
เป็นเพลงไทยเดิม เป็นเพลง 2 ชั้น ทรงขยายเป็น 3 ชั้น ปรับปรุงวงมโหรี
โดยเพิ่มซอฝรั่งผสม มีผู้ขับร้องทั้งชายหญิงแต่ยังคงเรียกว่า เพลงเขมรกล่อมลูก
เหมือนเดิมเพลงนี้ได้บรรเลงเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2431 เป็นที่พอพระราชหฤทัยและได้รับความนิยม
จากผู้ที่ได้รับฟังมีความประทับใจมาก จากการที่ได้ฟังเนื้อร้องที่กล่าวถึง
ความงามตามธรรมชาติของน้ำตกไทรโยค ทำให้ข้าราชบริพารในราชสำนัก
ยิ่งเกิดอยากจะตามเสด็จกันมากขึ้น

... ต่อมาเพลงเขมรไทรโยคนี้ ได้รับแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำนองจังหวะจาก
ต้นฉบับเดิมหลายครั้ง มีผู้นำไปเป็นเพลงประกอบละครหลายเรื่อง
อาจารย์มนตรี ตราโมช ได้นำไปบันทึกแผ่นเสียงราว ปี พ.ศ.2492
และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำมาดัดแปลงใหม่จนเป็น
เพลงเขมรไทรโยค ที่เราได้รับฟังกันมาจนปัจจุบันนี้นะครับ

โดย.. ลุงใหญ่ 16-02-56
 

เพลงเขมรไทรโยคเเต่งมาจากเพลงอะไร

เพลงเขมรไทรโยค เถา เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2431.

เพลงเขมรไทรโยค มีกี่จังหวะ

เพลงเขมรไทรโยคเป็นเพลงไทยเดิมอัตราจังหวะ ๓ ชั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงพระนิพนธ์ขึ้นจากเพลงขอมกล่อมลูก ๒ ชั้นทำนองเก่าที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงละครมาแต่โบราณ โดยทรงตั้งใจแต่งเป็นเพลงเขมรไทรโยคในอัตราจังหวะ ๒ ชั้น ส่วนบทร้องทรงแต่งจากความทรงจำตั้งแต่โดยเสด็จประพาสน้ำตกที่ ...

เขมรไทรโยคใช้หน้าทับอะไร

3. หน้าทับเขมร ใช้ประกอบเพลงที่มีสำเนียงเขมรเท่านั้น ทั้งเพลงเถา เพลงตับ เพลงเรื่อง เพลงเกร็ด เพลงเบ็ดเตล็ด เช่นเพลงเขมรเอวบาง เพลงเขมรละออองค์ ฯลฯ แต่มีเพลงสำเนียงเขมรหลายเพลงที่ใช้หน้าทับอื่น ได้แก่หน้าทับปรบไก่ เช่น เพลงเขมรไทรโยค ถึงจะใช้บันไดเสียงเขมร หรือบันไดเสียง ฟ ก็ตาม แต่เป็นเพลงที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก