มุกดา วางแผน การ ไปท่องเที่ยวประเทศอังกฤษ มุกดาควรใช้ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ข้อใด

การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ศึกษา
     ในการศึกษาหรือสำรวจข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ในท้องถิ่น  จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการศึกษาและการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม  เพื่อจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  ซึ่งทำได้ดังนี้

     1.  การสำรวจ  เราสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปสำรวจสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์โดยตรง  หรือสำรวจจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วก็ได้  เช่น  ศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ  แผนที่  แผนผัง  หรือรายงานต่าง ๆ ในจังหวัด

     2.  การรวบรวมข้อมูล  เราสามารถศึกษาข้อมูลในจังหวัดได้โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น  หน่วยงานราชการ

     3.  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมจะทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้ตามที่ต้องการ  เช่น
          -  ถ้าต้องการสำรวจข้อมูลของจังหวัดด้านภูมิศาสตร์  เศรษฐกิจ  และสังคม  ควรใช้เครื่องมือประเภท  แบบสังเกตการณ์  แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  ภาพถ่ายทางอากาศ  ภาพถ่ายดาวเทียม  แผนที่
          -  ถ้าต้องการสำรวจข้อมูลของจังหวัดด้านภูมิประเทศ  และธรณีวิทยา  ควรใช้เข็มทิศ  เทปวัดระยะทาง  แผนที่  ภาพถ่ายทางอากาศ
          -  ถ้าต้องการทำแผนที่และแผนผังของพื้นที่ในจังหวัด  ควรใช้เข็มทิศ  การนับก้าว  เทปวัดระยะทาง

       วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้ประกอบการเก็บข้อมูล เพื่อการบรรยายเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น จีพีเอส หรือระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก เข็มทิศ เครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการเรียนและการสอนในห้องเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือบางชนิดใช้ประกอบการศึกษา และเก็บข้อมูลเฉพาะในสนามเท่านั้น บางครั้งการใช้เครื่องมือต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย เช่น เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า GIS (Geographic Information System) ข้อมูลดาวเทียมหรือ SRS (Satellite Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นผิวโลกหรือ GPS (Global Positioning System) ซึ่งนักภูมิศาสตร์ยุคใหม่จำเป็นต้องรู้ 

ความสำคัญของแผนที่ แผนที่เป็นที่รวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ ตามชนิดของแผนที่ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริง แผนที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลกได้อย่างกว้างไกล ถูกต้องและประหยัด

ประโยชน์ของแผนที่ แผนที่มีประโยชน์ต่องานหลายๆ ด้าน คือ

1. ด้านการเมืองการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่จำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า ภูมิรัฐศาสตร์และเครื่องมือที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

2. ด้านการทหาร ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้องหาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ

3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ของประชาชนภายในชาติ การดำเนินงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่เป็นสิ่งแรกที่ต้อง ผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้งสภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร

4. ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป การศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง

5. ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้น ใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่างๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่างๆ ใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของพื้นที่

6. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทางหรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม

ชนิดของแผนที่ แบ่งตามการใช้งานได้ 3 ชนิด ได้แก่

1. แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูงบอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้เป็นพื้นฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับแผนที่

2. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ แผนที่ รัฐกิจแสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่แสดงการกระจายตัวของประชากร แผนที่เศรษฐกิจ แผนที่ประวัติศาสตร์ เป็นต้น

3. เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่าง ๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางด้านประชากร และอื่นๆ ไว้ในเล่มเดียวกัน

องค์ประกอบของแผนที่มีหลายองค์ประกอบ คือ

1. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ตามที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่ เพื่อให้เข้าใจแผนที่ได้ง่ายขึ้น เช่น จุด วงกลม เส้น ฯลฯ

2. มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระยะห่างในแผนที่กับระยะห่างในภูมิประเทศจริง

3. ระบบอ้างอิงในแผนที่ ได้แก่ เส้นขนานละติจูด และเส้นลองจิจูด (เมริเดียน)เส้นละติจูด เป็นเส้นสมมติที่ลากไปรอบโลกตามแนวนอนหรือแนวทิศตะวันออก ตะวันตก แต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา โดยมีเส้น 0 องศา (เส้นศูนย์สูตร) แบ่งกึ่งกลางโลก เส้นที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร เรียกเส้นองศาเหนือ เส้นที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร เรียกเส้นองศาใต้ ละติจูดมีทั้งหมด 180 เส้นเส้นลองจิจูด เป็นเส้นสมมติที่ลากไปรอบโลกในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือไปยัง ขั้วโลกใต้ แต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา กำหนดให้เส้นที่ลากผ่านตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเส้น 0 องศา (เมริเดียนปฐม) ถ้านับจากเส้นเมริเดียนปฐม ไปทางตะวันออก เรียกเส้นองศาตะวันออก ถ้านับไปทางตะวันตกเรียกเส้นองศาตะวันตก ลองจิจูด มีทั้งหมด 360 เส้นพิกัดภูมิศาสตร์  เป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุดต่างๆ บนพื้นผิวโลก เกิดจากการตัดกันของเส้นขนานละติจูดและเส้นเมริเดียนโดยเส้นสมมติทั้งสองนี้จะตั้งฉากซึ่งกันและกัน

4. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดควรมีขอบระวาง เพื่อช่วยให้ดูเรียบร้อย และเป็นการกำหนดขอบเขตของแผนที่ด้วย ขอบระวางมักแสดงด้วยเส้นตรงสองเส้นหรือเส้นเดียว

5. ระบบอ้างอิงบนแผนที่ คือระบบที่กำหนดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการคำนวณหาตำแหน่งที่ตั้งและคำนวณหาเวลาของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก ซึ่งแยกได้ดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก