วรรณคดี เรื่อง อิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในเรื่องใด

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงฟื้นฟูประเพณีและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น พระราชพิธีลงสรง พระราชพิธีวิสาขบูชา โดยเฉพาะพระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้กระทำเมื่อคราวอหิวาหตกโรคระบาดใน พ.ศ. ๒๓๖๓ ได้ทรงปั้นหุ้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม และได้ทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นรูปธรรมชาติที่งดงามยิ่ง

"ลายสลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์ สลักดีไม่มีที่ไหนเหมือน ยังเปนของควรชมอยู่จนทุกวันนี้ มีคำเล่ากันสืบมาว่า ช่างที่สลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์นั้น เมื่อทำการเสร็จแล้ว ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือนต่อไป จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสียหมด ความข้อนี้จะจริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ แต่มีความจริงอย่าง ๑ ซึ่งปรากฎในรัชกาลหลังต่อมา มีพระราชประสงค์จะทำบานอย่างพระวิหารวัดสุทัศน์ไปใช้ในที่อื่น ไม่มีช่างที่จะรับทำให้เหมือนได้"

พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน (บุหลันเลื่อนลอยฟ้าหรือสรรเสริญพระจันทร์) เคยใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่สมัยหนึ่ง

ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื่องในวาระฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และประเทศไทยไ้ด้กำหนดให้วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพเป็น "วันศิลปินแห่งชาติ"

พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง นอกจากนี้ยังโปรดให้ประชุมกวีช่วยกันแต่ง แก้ไข และปรับปรุงบทละครให้ไพเราะน่าฟังสอดรับกับจังหวะและกระบวนรำ

พระราชนิพนธ์
๑. บทละครนอกเรื่องอิเหนา

๒. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานไปถวายแหวนจนถึงทศกัณฐ์ล้ม และตอนพระรามประพาสป่าจนถึงพระอิศวรอภิเษกพระรามกับนางสีดา

๓. บทพากย์รามเกียรติ์ ตอนนางลอย นาคบาศ​ พรหมาสตร์ และเอราวัณ

๔. บทจับระบำเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระนารายณ์อวตาร พิราพ และนารายณ์ปราบนนทุก (พิมพ์รวมอยู่ในบทละครเบ็ดเตล็ดเรื่องรามเกียรติ์)

๕. บทละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนางสุวิญชาถูกขับไล่ พระไชยเชษฐ์ตามนางสุวิญชา พระไชยเชษฐ์เข้าเฝ้าท้าวสิงหล และตอนอภิเษกพระไชยเชษฐ์

๖. บทละครนอกเรื่องคาวี ตอนท้าวสันนุราชหานางผมหอม ตอนท้าวสันนุราชชุบตัว ตอนนางคันธมาลีขึ้นเฝ้า และตอนพระคาวีรบกับไวยทัต

๗. บทละครนอกเรื่องมณีพิชัย ตอนพราหมณ์ยอพระกลิ่นขอมณีพิชัยไปเป็นทาส

๘. บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต ท้าวสามนต์ให้นางทั้งเจ็ดเลือกคู่ พระสังข์ได้นางรจนา ท้าวสามนต์ให้ลูกเขยหาเนื้อหาปลา พระสังข์ตีคลี และท้าวยศวิมลตามพระสังข์

๙. บทละครนอกเรื่องไกรทอง ตอนนางวิมาลาตามไกรทองมาจากถ้ำ และตอนไกรทองตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ

๑๐. กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

๑๑. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมถึงตอนแต่งงาน ขุนแผนขึ้นเรือน ขุนช้างถึงเข้าห้องนางแก้วกิริยา นางวันทองทะเลาะกับลาวทอง

(เรียบเรียงจาก นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๒ ของมูนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดย ลักษณา โตวิวัฒน์ และ กุสุมา รักษมณี)

วรรณคดีสโมสร จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ได้สาระประโยชน์ โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดี วรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ
คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย
ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1. กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์
2. ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
3. นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
4. ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวทีใช้หลักการน้ำเสียง
5. ความชัดเจน ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร
วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิต อยู่

  • ประเภทลิลิต ได้แก่ ลิลิตพระลอ
  • ประเภทฉันท์ ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์
  • ประเภทกาพย์ ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์
  • ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
  • ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
  • ประเภทบทละครรำ ได้แก่ อิเหนา
  • ประเภทบทละครพูด ได้แก่ หัวใจนักรบ
  • ประเภทความเรียงอธิบาย ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน
  • ประเภทบทละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ มัทนะพาธา ( ความทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก)
  • ประเภทกวีนิพนธ์ ได้แก่ พระนลคำหลวง
  • ประเภทกาพย์เห่เรือ ได้แก่ กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
  • ประเภทกลอนนิทาน ได้แก่ พระอภัยมณี
  • ประเภทบทละครร้อง ได้แก่ สาวเครือฟ้า
  • ประเภทนิราศ ได้แก่ นิราศนรินทร์

//th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดีสโมสร

เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งบทละครรำ

ในบรรดาบทละครรําที่คนชอบ เรื่องอื่นเห็นจะไม่เสมอด้วยเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ วรรณคดีสโมสรก็ได้ตัดสินเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็น ยอดของบทละครรําทั้งสิ้น เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งความ ทั้งกลอน ทั้ง กระบวนที่จะเล่นละครประกอบกันทุกสถาน ที่จริงบรรดาบทละครพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ ก็ดีพร้อมเช่นนั้นทุก ...

เรื่อง อิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศด้านใด

"อิเหนา" พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบทละครรำที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความสมบูรณ์ดีเลิศ ทั้งในด้านวรรณศิลป์และนาฏศิลป์ ผู้เขียน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

บทละครเรื่องอิเหนาดีเด่นในด้านใด

๔.๑ การละคร บทละครเรื่องอิเหนาเป็นยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต ไพเราะ เครื่องแต่งตัวละครงดงาม ท่ารำงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลมกลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ จึงนับว่าดีเด่นในศิลปะการแสดงละคร

อิเหนาได้รับอิทธิพลมาจากอะไร

อิเหนาเป็นวรรณคดีที่ส าคัญของไทย เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย แต่งด้วยค าประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสดงละครใน ในสมัยรัชกาล ที่ ๒ เค้าโครงเรื่องได้มาจากพงศาวดารของชวา เผยแพร่เข้ามาในประเทศในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโดย นางก านัลชาวมลายูนามาเล่าถวายเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก