ของเหลวโหลดใต้เครื่อง นกแอร์

ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นบนห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562” จะเริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในฐานะผู้ออกกฎดังกล่าว จึงต้องออกมาย้ำชัดๆ อีกครั้งว่า สรุปแล้วของเหลวประเภทไหนพกขึ้นเครื่องได้บ้าง และต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์แบบไหนจึงถูกต้อง ไม่โดนตีตกลงถังขยะ ก่อนจะได้ออกเดินทาง

สำหรับนิยามคำว่าของเหลว เจล สเปรย์ (Liquids,Aerosols ang Gel ; LAGs) ตามประกาศใหม่ของ กพท. ก็คือของเหลวในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำ เครื่องดื่ม หรือ “อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก” อย่างซุป น้ำเชื่อม แยม น้ำจิ้ม น้ำพริก ตลอดจน “เครื่องสำอาง” ครีม โลชั่น เจลใส่ผม สเปรย์ น้ำหอม รวมถึง “วัตถุหรือสารที่มีส่วนผสมทั้งของแข็งและของเหลว” เช่น มาสค่าร่า ลิปสติก ยาหม่อง

ใครจะนำของเหลวขึ้นเครื่องต้องจำ 3 ข้อ!

  1. ของเหลว เจล สปรย์ ที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ ต้องมีปริมาตรความจุต้องไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือ 100 กรัม หรือ 3.4 ออนซ์
  2. บรรจุภัณฑ์ต้องข้อความระบุปริมาตรและต้องปิดสนิท
  3. ผู้โดยสารสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวติดตัวไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดคนละไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร
ขอบคุณภาพจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ กพท. แนะนำว่า ผู้โดยสารควรนำบรรจุภัณฑ์ที่มีของเหลวทุกชิ้นใส่ในถุงพลาสติกใส ที่มีปริมาตรความจุของถุงไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1,000 มิลลิลิตร โดยขนาดถุงนั้นต้องไม่เกิน 20 เซนติเมตร × 20 เซนติเมตร และนำไปได้คนละ 1 ถุง

ก่อนเข้าจุดตรวจค้นสัมภาระในสนามบิน ผู้โดยสารควรแยกบรรจุภัณฑ์หรือถุงพลาสติกใสที่มีบรรจุของเหลว ออกจากสัมภาระติดตัวอื่น เพื่อแสดงให้พนักงานตรวจค้นได้ง่าย

ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาตรของเหลวเกินกว่าที่กำหนด บรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีข้อความบอกปริมาตร รวมถึง “อาหารท้องถิ่นหรืออาหารพื้นเมือง” ที่มีของเหลวเป็นส่วนผสมในปริมาณมากกว่า 100 มิลลิลิตร ต้องลงทะเบียน โหลดลงใต้ท้องเครื่องบินเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม มีของเหลวบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่ถูกจำกัดปริมาณ ได้แก่ ยา ที่มีใบรับรองแพทย์ ฉลาก หรือเอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสารที่จำเป็นต้องใช้ยานั้น ยกเว้นแต่เป็นยาสามัญประจำบ้าน, อาหารหรือนมสำหรับเด็กทารก และ อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนาการ แต่ทั้งหมดก็ต้องมีปริมาณเหมาะสมกับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละเที่ยวบินด้วย

ส่วนขาช้อปต้องฟังทางนี้! สำหรับของเหลวที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop) จะต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกที่สามารถบ่งชี้ร่องรอยการแกะหรือการเปิดปากถุง (Security Tampered-Evident Bags : STEBs) ซึ่งมีหลักฐานแสดงว่า ผู้โดยสารซื้อในวันที่เดินทาง และไม่มีร่องรอยการแกะหรือเปิดปากถุง

ในกรณีที่ผู้โดยสารแวะพักหรือเปลี่ยนเครื่องบิน (Transfer and Transit) ระหว่างการเดินทาง ผู้โดยสารก็ควรตรวจสอบข้อมูลเรื่องหลักเกณฑ์การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจากร้านดิวตี้ฟรีภายในสนามบินที่แวะพักและสนามบินปลายทางทุกครั้ง เพื่อจะได้ช้อปปิ้งและเดินทางได้อย่างสบายใจในทุกๆ ทริป

****ขึ้นเครื่องครั้งแรก*****

รบกวนสอบถามนะคะ
จะขึ้นเครื่องนกแอร์ครั้งแรก บินจาก ดอนเมือง-ไปอุบล
นกแอร์ให้โหลดกระเป๋าฟรี 15 กิโลกรัมใช่มั๊ยคะ
ถือขึ้นเครื่ิองอีก 7 กิโลกรัม
แล้วของเหลว เราสามารถใส่ในกระเป๋าโหลดเกิน 1000 ml. ได้ใช่มั๊ยคะ แต่ขึ้นเครื่องห้ามเกิน คืองง เป็นคนเข้าใจอะไรยาก อ่านมาหลายที่ไม่ค่อยเข้าใจ 55555
รบกวนด้วยนะคะ

0

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

มาตรการเรื่องของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
(Liquids, Aerosols and Gels : LAGs)

เป็นขั้นตอนการตรวจค้นสำหรับผู้โดยสาร และเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานที่เดินทางไปกับอากาศยานในทุกเที่ยวบินที่ทำการบินออกจากทุกท่าอากาศยานของ ทอท. รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคคลที่ได้รับสิทธิในการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้ามหลังจุดตรวจค้น ณ ทุกท่าอากาศยานของ ทอท. โดยไม่ใช้ปฏิบัติสำหรับของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) หรือวัตถุและสารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ประเภทยาและนม หรืออาหารสำหรับเด็กทารก ซึ่งอนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยานได้ในปริมาณที่เหมาะสม

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1. กรณี LAGs ที่เป็นสัมภาระส่วนตัว

1.1 ต้องบรรจุในภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (กรณีภาชนะที่มีกำหนดปริมาณความจุเกิน 100 มิลลิลิตร แต่มี LAGs บรรจุอยู่ถึงแม้ว่าจะไม่เกิน 100 มิลลิลิตร จะไม่อนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน)

1.2 ภาชนะที่บรรจุ LAGs ตามข้อ 2.1.1 ต้องถูกใส่รวมในถุงพลาสติกใส (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) รวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร (หรือปริมาณที่เทียบเท่าในหน่วยวัดปริมาณอื่น) และปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย โดยอนุญาตให้ผู้โดยสาร 1 คน ต่อ 1 ถุง

1.3 ให้ผู้โดยสารแยกถุงพลาสติกใสตามข้อ 2.1.2 ออกจากกระเป๋า/สัมภาระอื่นๆ ที่จะนำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยาน รวมทั้งเสื้อคลุม และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจค้นเป็นการเฉพาะ

2. กรณี LAGs ที่เป็นสินค้าปลอดอากร

2.1 ผู้โดยสารขาออก (Departure Passenger) ผู้โดยสารผ่าน (Transit Passenger) หรือผู้โดยสารเปลี่ยนลำ (Transfer Passenger) ที่มีถุงบรรจุ LAGs ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานหรือบนอากาศยาน อนุญาตให้นำขึ้นในห้องโดยสารอากาศยานได้ หากถุงนั้นปิดผนึกและไม่มีร่องรอยการฉีกขาด หรือเปิดปากถุงหลังจากการซื้อ

2.2 ต้องมีหลักฐานที่แสดงได้ว่าซื้อ ณ วันที่เดินทาง โดยรายการที่ระบุต้องตรงกับ LAGs ที่บรรจุอยู่ภายในถุง

มาตรการการตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระติดตัวก่อนขึ้นอากาศยาน

การตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระติดตัว เพื่อค้นหาอาวุธ วัตถุอันตรายหรือวัตถุต้องห้ามที่ผู้โดยสารต้องนำติดตัวขึ้นเครื่องบิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้อาวุธหรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ ซึ่งอาจนำมาใช้ในการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายถูกนำขึ้นไปบนอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นการพกพาโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ การซุกซ่อน หรือนำไปโดยวิธีอื่นใดก็ตาม เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยต่อกิจการการบิน เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมพร้อมเพื่อรับการตรวจค้นร่างกายและสัมภาระติดตัวก่อนขึ้นอากาศยาน
ก่อนเข้ารับการ Check-in ที่เคาน์เตอร์ตรวจรับบัตรโดยสาร

ผู้โดยสารต้องเตรียมพร้อมเพื่อผ่านจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย ดังนี้

1. นำของเหลว เจล และสเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่บรรจุมาในภาชนะบรรจุขนาดเกินกว่า 100 มิลลิลิตรใส่ในสัมภาระบรรทุก (Checked Baggage) เพื่อทำการ Check-in เนื่องจากไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นบนอากาศยาน

2. หากต้องการนำ ของเหลว เจล และสเปรย์ฯ ติดตัวขึ้นบนอากาศยาน (Carry-on) ของเหลวฯ นั้นต้องมีขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร นำใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสแบบ Zip-lock ขนาด 20 x 20 ซม. (มีจัดเตรียมไว้ให้ที่โต๊ะบริการ บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์ Check-in) ผู้โดยสาร 1 คน ต่อถุง Zip-lock 1 ถุง โดย
ปริมาณของเหลวฯ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ลิตร และนำผ่านเครื่อง X-Ray ซึ่งแยกจากสัมภาระติดตัวอื่น ๆ

3. บรรจุวัตถุแหลมคมทุกชนิดไว้ในสัมภาระที่ต้องการ Check-in เนื่องจากไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นบนอากาศยาน

4. ผู้โดยสารที่มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุน ต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน ณ เคาน์เตอร์ Check-in เพื่อดำเนินการตรวจสอบเอกสารและแยกเครื่องกระสุน ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้

5. ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้นำพาสาร วัตถุอันตราย และ/หรือสัตว์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่ออากาศยานและบุคคลในอากาศยานทุกชนิดไปกับอากาศยาน ไม่ว่าจะบรรทุกไปกับสัมภาระที่ Check-in หรือนำติดตัวขึ้นอากาศยาน

ขั้นตอนการผ่านจุดตรวจค้น

1. ก่อนเข้าสู่จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย
เมื่อผ่านกระบวนการ Check-in และกระบวนการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (ถ้ามี) แล้ว ผู้โดยสารจะเข้าสู่กระบวนการตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องบิน โดยในขั้นตอนแรกขอให้ผู้โดยสารเตรียมบัตรระบุที่นั่ง (Boarding Pass) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

2. ณ จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย

2.1 เมื่อเข้าสู่ช่องทางเครื่อง X-Ray จะมีถาดบรรจุกระเป๋า/สัมภาระจัดเตรียมไว้ให้ ขอให้ผู้โดยสารนำกระเป๋า/สัมภาระทุกชิ้นใส่ในถาดเพื่อผ่านเครื่อง X-Ray หากผู้โดยสารมีคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Laptop) เสื้อคลุม (Jacket) และถุง Zip-lock บรรจุของเหลว ให้แยกออกจากสัมภาระอื่นเพื่อใส่ถาด สำหรับสัมภาระติดตัวมีค่า ขอให้ผู้โดยสารใส่ในกระเป๋า/สัมภาระของตนและปิดให้เรียบร้อย ก่อนนำใส่ถาดผ่านเครื่อง X-Ray

2.2 ผู้โดยสารอาจถูกขอให้ถอดเข็มขัดและรองเท้าเพื่อนำผ่านเข้าเครื่อง X-Ray

2.3 ผู้โดยสารนำถาดผ่านเข้าเครื่อง X-Ray

2.4 ผู้โดยสารเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ (Walk Through Metal Detector) ตามการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ สำหรับผู้โดยสารที่ไม่ประสงค์จะเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะโดยมีเหตุผลอันเหมาะสม เช่น ผู้โดยสารใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) และผู้โดยสารที่กำลังตั้งครรภ์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้านหน้าจุดตรวจค้น เพื่อผ่านเข้าช่องทางเฉพาะที่ จัดไว้และรับการตรวจค้นร่างกายด้วยมือ

2.5 ผู้โดยสารที่เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะแล้วไม่เกิดสัญญาณเตือน (Alarm) ให้ไปรับกระเป๋า/สัมภาระของตนที่ผ่านเครื่อง X-Ray

2.6 ผู้โดยสารที่เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะแล้วเกิดสัญญาณเตือน ผู้โดยสารต้องเดินกลับออกไป เพื่อสำรวจดูอีกครั้งว่า ยังมีสิ่งของที่เป็นโลหะหลงเหลืออยู่ตามร่างกายหรือไม่ หากพบว่ามี ให้นำสิ่งของออกจาก ร่างกายและใส่ถาดที่จัดเตรียมไว้ผ่านเข้าเครื่อง X-Ray และเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2

2.7 กรณีผู้โดยสารเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะเป็นครั้งที่ 2 แล้วยังเกิดมีสัญญาณเตือน
เจ้าหน้าที่จะเชิญให้ผู้โดยสารไปรับการตรวจค้นร่างกาย เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เครื่องตรวจจับโลหะส่งสัญญาณ

2.8 ระหว่างขั้นตอนการตรวจค้นร่างกาย ขอให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

2.9 เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจค้นร่างกายแล้ว ผู้โดยสารอาจถูกขอรับการเปิดตรวจกระเป๋า/สัมภาระ ที่นำติดตัวมา ขอให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

2.10 ผู้โดยสารที่ถูกตรวจสอบพบว่ามีวัตถุต้องห้ามนำขึ้นอากาศยาน บรรจุอยู่ในกระเป๋า/สัมภาระ ขอให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยาน

2.11 ผู้โดยสารที่ไม่สะดวกจะรับการตรวจค้นร่างกายและกระเป๋า/สัมภาระในที่สาธารณะ ทางท่าอากาศยานได้จัดเตรียมห้องตรวจค้นไว้ ขอให้ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับการตรวจค้นเป็นการเฉพาะบุคคล

3. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจค้น ขอให้ตรวจสอบสัมภาระที่นำติดตัวมาทุกชิ้นก่อนออกจากจุดตรวจค้น

4. ผู้โดยสารปฏิเสธการตรวจค้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจค้นกระเป๋า/สัมภาระหรือการตรวจค้นร่างกาย และปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัย ทางท่าอากาศยานขอสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารดังกล่าวผ่านจุดตรวจค้น

เรื่องต้องรู้ !! หลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ ที่จะนำขึ้นห้องโดยสารอากาศยาน หรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562 เริ่มใช้วันที่ 23 มิถุนายน 2562 นี้ อ้างอิงจาก ประกาศ กพท. เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจค้นของเหลว เจล สเปรย์ (LAGs) ที่จะนำขึ้นห้องโดยสารอากาศยานหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะ พ.ศ. 2562 #AOTOfficial #aviation  #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย #สาระการบินน่ารู้

ของเหลว เจล สเปรย์ หมายถึงสิ่งของใด ?

  • อาหารที่มีของเหลวในปริมาณมาก เช่น ซุป น้ำ เครื่องดื่ม น้ำเชื่อม แยมสตูว์ ซอส น้ำพริก
  • เครื่องสำอาง เช่น ครีม โลชั่น น้ำมัน น้ำหอม
  • เจล เช่น ยาสีฟัน ยาสระผม เจลอาบน้ำ
  • วัตถุที่ต้องฉีดพ่น เช่น สเปรย์ โฟม
  • สิ่งที่มีส่วนผสมของของแข็งและของเหลว เช่น มาสคาร่า ลิปสติกชนิดน้ำ ลิปกลอส

#AOTOfficial #aviation #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย #สาระการบินน่ารู้

เงื่อนไขในการนำของเหลวเจล สเปรย์ ขึ้นเครื่อง

  • ขนาดบรรจุภัณฑ์ไม่เกิน 100 มิลลิลิตร หรือในหน่วยวัดปริมาตรอื่นที่เท่ากัน และต้องมีข้อความระบุปริมาตรของบรรจุภัณฑ์
  • สามารถนำไปได้มากกว่า 1 ชิ้น แต่ต้องมีปริมาตรรวมกันสูงสุดไม่เกินคนละ 1,000 มิลลิลิตร
  • ของเหลว เจล สเปรย์ ที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยาน อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้ แต่ต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดผนึก และไม่มีร่องรอยการแกะ การฉีกขาด หรือการเปิดปากถุง และต้องแสดงหลักฐานว่าซื้อในวันที่เดินทาง

ของเหลว เจล สเปรย์ ที่ยกเว้น ไม่ต้องมีปริมาตรตามกำหนด แต่มีปริมาณเหมาะสมกับระยะเวลาเดินทาง

  • ของเหลว เจล สเปรย์ ประเภทยาต้องมีใบรับรองแพทย์ ฉลาก หรือเอกสารกำกับยาที่ระบุชื่อผู้โดยสาร เว้นแต่เป็นยาสามัญประจำบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  • อาหารที่ต้องพกพาตามข้อกำหนดทางการแพทย์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางโภชนา
  • อาหารหรือนมสำหรับเด็กทารกที่มีความจำเป็นต้องใช้บริโภคระหว่างเที่ยวบิน

#AOTOfficial #aviation  #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย #สาระการบินน่ารู้

เงื่อนไขพิ่มเติม เริ่มใช้ 23 มิถุนายน 2562 นี้

น้ำพริก แกง น้ำจิ้ม อาหารพื้นเมือง ในปริมาตรที่เกินกว่ากำหนด ที่เคยผ่อนปรนให้สำหรับเที่ยวบินในประเทศจะไม่ได้รับการยกเว้น ผู้โดยสารต้องนำไปกับสัมภาระที่บรรทุกใต้ท้องเครื่องบิน #AOTOfficial #aviation  #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย #สาระการบินน่ารู้

ของเหลว เจล สเปรย์ ที่ผู้ปฎิบัติงานจะนำขึ้นเครื่องหรือนำเข้าไปในเขตหวงห้าม

  • ผู้ประจำหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานบนห้องโดยสารอากาศยาน หรือบุคคลที่เข้าไปในเขตหวงห้ามของสนามบินสาธารณะที่จำเป็นต้องนำของเหลวฯ ไปใช้ส่วนตัว สามารถนำของเหลวฯ เข้าไปได้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่และเหมาะสมกับระยะเวลาการปฏิบัติงานจริง (Operating Hours) โดยต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยทำการตรวจสอบ
  • ผู้ปฏิบัติงานในสนามบิน ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตหวงห้าม หรือผู้ปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินที่จำเป็น ต้องนำของเหลวฯ ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถนำของเหลวฯ เข้าไปได้ โดยต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้น ณ บริเวณจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยทำการตรวจสอบ

โดยต้องแสดงให้พนักงานตรวจค้นตรวจสอบ ณ จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point)

#AOTOfficial #aviation  #airport #travel #boarding #ท่าอากาศยานไทย #สาระการบินน่ารู้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก