กฎหมายการทํางานบนที่สูง ล่าสุด

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ.2564

กฎกระทรวงอันตรายการตกจากที่สูง พ.ศ.2564

สถานที่ปฏิบัติงานสูงเท่ากับหรือมากกว่า 2 เมตรจากพื้นหรือโครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทไม่ว่าแบบถาวรหรือชั่วคราวที่มีความสูงเหนือพื้นดิน ซึ่งจะต้องมีคนขึ้นไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงส่วนพื้นล่างของหลุมซึ่งกว้างพอที่คนสามารถพลัดตกลงไปได้ โดยอ้างอิง จากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีอันตรายที่สูงและทางลาดชันจากวัสดุตกกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับพัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

ที่สูงและงานที่ต้องปฏิบัติบนที่สูงคืออะไร

ที่สูงและงานที่ต้องปฏิบัติบนที่สูงคืออะไร  หมายถึง สถานที่ปฏิบัติงานสูง เท่ากับหรือ มากกว่า 2 เมตรจากพื้นหรือโครงสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท ไม่ว่าแบบถาวรหรือ ชั่วคราว ที่มีความสูงเหนือพื้นดิน ซึ่งจะต้องมีคนขึ้นไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงส่วนพื้นล่างของหลุมซึ่งกว้างพอที่คนสามารถพลัดตกลงไปได้ 


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากที่สูง

1.  สภาพพื้นที่ปฏิบัติงานมีสภาพที่ไม่มั่นคงหรือไม่ปลอดภัย ทำเกิดการถล่ม พังทลายหรือมีช่องเปิดโล่งอันตราย

2. ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

3. สภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่มีความพร้อม


สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากที่สูง

4.  ขาดการออกแบบที่ดีและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก

5.  ไม่มีการเตือนอันตรายหรือกำหนดจุดอันตราย

6.  ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย

7.  อุปกรณ์ต่างๆมีสภาพชำรุดหรือไม่เหมาะสม เช่นนั่งร้าน บันได รถยก เป็นต้น


การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

หลักการใช้อุปกรณ์

1. จุดยึดอุปกรณ์ Anchorage Point

2. เข็มขัดนิรภัย Safety Belt / Safety Harness

3. สายเชือกนิรภัย Lanyard ตะขอ Hook ห่วง Ring


การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

1. จุดยึดต่างๆ Anchorage Pointควรรับแรงได้มากพอ และต้องอยู่สูงกว่าตัวผู้ปฏิบัติงาน

การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

2. เข็มขัดนิรภัย Safety Belt / Safety Harnessการเลือกใช้เข็มขัดนิรภัย ทั้งแบบรัดเอว และแบบชนิดรัดเต็มตัว ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน


การใช้อุปกรณ์ป้องกันจากที่สูง

3.สายเชือกนิรภัย Safety Lanyard ตะขอ SafetyHook ห่วงนิรภัย Safety Ring ต้องเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ให้เหมาะสม ระหว่างจุดยึดกับระบบอุปกรณ์ป้องกันซึ่งต้องมีความแข็งแรงพอ หากเกิดการตกจากที่สูงห้ามใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดหรือได้รับการดัดแปลงโดยเด็ดขาด 

มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง

1.หมวกนิรภัย

2.แว่นนิรภัย

3.เข็มขัดนิรภัย

4.ถุงมือ

5.รองเท้านิรภัย

6.กางเกงนิรภัย

7.ชุดฟอร์ม

8.อุปกรณ์ป้องกันเสียง

มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง

1. มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards : AS/NZS)

2. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN)

3. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards : JIS)

4. มาตรฐานสถาบัน ความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH)

5. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection   Association : NFPA)

6. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)

7. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and HealthAdministration : OSHA)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก