เป็น ประจำเดือน เยอะมาก แต่ ท้อง

ประจำเดือนมามากผิดปกติ อันตรายหรือไม่?

ในภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณผู้หญิงบางคนต้องพบเจอ ทำให้มีคำถามอยู่ว่าภาวะดังกล่าวเป็นอันตรายหรือไม่อย่างไร วันนี้ทางเราก็มีรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติมาฝาก เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

โดยปกติแล้วผู้หญิงเราจะมีประจำเดือนออกมา 3-7 วันแล้วหมดไป ก่อนจะมาใหม่ในเดือนถัดไปตามลำดับ และมีการใช้ผ้าอนามัยต่อวัน 2-3 แผ่น ขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือนของแต่ละคน แต่ในคนที่มีภาวะมามากกว่าปกติ มักจะมีปริมาณประจำเดือนที่ผิดไปจากเดิม สามารถสังเกตตัวเองได้โดยการเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ประจำเดือนเคยมาในเดือนก่อนๆ

เช่นในกรณีตัวอย่าง ผู้หญิงวัย 50 ปีหนึ่งราย ในภาวะปกติจะมีประจำเดือน 4-5 วันและต่อวันจะใช้ผ้าอนามัยสูงสุดอยู่ที่ 2 แผ่นเท่านั้น แม้ในวันที่มามาก แต่ในภาวะมามากผิดปกติ ผู้หญิงรายนี้มีประจำเดือนเพียงวันเดียวแล้วหมดไป โดยในวันนั้นมีการใช้ผ้าอนามัยมากกว่าปกติอยู่ที่จำนวน 3-4 แผ่นต่อวัน ในรายดังกล่าวยังมีการพบสูติ- นรีแพทย์ แล้วตรวจพบติ่งเนื้อที่บริเวณมดลูกด้วย

กรณีนี้ที่มีติ่งเนื้อบริเวณมดลูกจะต้องได้รับการตรวจวินัจฉัยละเอียด

โดยการขูดมดลูกเพื่อนำติ่งเนื้อดังกล่าวมาตรวจดู จึงจะสามารถสรุปได้ว่าใช่สาเหตุของประจำเดือนมามากผิดปกติหรือไม่อย่างไร แต่ในกรณีทั่วไปสำหรับคนที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ โดยเฉพาะในวัยกลางคนอายุเข้าสู่เลข 5 ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วัยทอง มักมีประจำเดือนที่ลดน้อยลง หากพบว่าประจำเดือนมามากกว่าปกตินั้น แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติอยู่แน่นอน ส่วนคำถามที่ว่าอันตรายหรือไม่อย่างไร จะต้องได้รับการตรวจละเอียดอีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้และควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาประจำเดือนมามากผิดปกตินั้นก็คือ

เยื่อบุมดลูกเป็นเนื้อร้ายหรือเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่อายุมากขึ้น จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป โดยปกติแล้วติ่งเนื้อที่บริเวณมดลูก จะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนที่มีติ่งเนื้อนี้เกิดขึ้นจะมีความอันตรายทั้งหมด หากติ่งเนื้อดังกล่าวเป็นเพียงติ่งเนื้อทั่วไปจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองที่เยื่อบุโพรงมดลูก และทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติได้ แต่ถ้าหากเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งถือเป็นอันตรายร้ายแรงและมีความจำเป็นที่จะต้องตัดทิ้งโดยเร็ว

นอกจากนี้ในภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ด้วย ได้แก่ ภาวะเลือดจาง เป็นต้น ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ซึ่งควรได้รับการรักษาโดยเร็วเช่นกัน แม้ไม่อันตรายก็ตาม แต่ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว

ข้อมูลจาก
อ.พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา │ถอดเสื้อกาวน์ │ ประจำเดือนมาเยอะผิดปรกติ” ได้ที่นี่

Enfa สรุปให้

  • มีคุณแม่หลายคนที่หลังจากตรวจครรภ์แล้ว ก็ได้ผลลัพธ์ว่ากำลังตั้งครรภ์ ที่ตรวจครรภ์ขึ้นสองขีด เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าตั้งครรภ์แน่นอน

  • แต่จู่ ๆ ก็พบว่าประจำเดือนมาตามปกติ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้พบว่าเกิดขึ้นได้ แต่โดยมากแล้วเลือดที่ไหลออกมานั้นจะไม่ใช่เลือดประจำเดือน

  • เลือดดังกล่าวอาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก เลือดที่เกิดจากการแท้ง ภาวะแท้งคุกคาม หรืออาจเกิดจากการนับประจำเดือนคลาดเคลื่อน หรือที่ตรวจครรภ์ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการตั้งครรภ์จริงแต่ตัวอ่อนได้ฝ่อและแท้งไปแล้ว

เลือกอ่านตามหัวข้อ

• มีประจำเดือนแต่ท้อง เกิดขึ้นได้จริงหรือ
• อาการเหมือนคนท้อง แต่มีประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร
• ไขข้อข้องใจเรื่องมีประจำเดือน แต่ตั้งครรภ์ กับ Enfa Smart Club

มีหลายคนที่ทำการตรวจครรภ์แล้วก็พบว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน พบว่ามีประจำเดือนมาปกติ ก็ตกอกตกใจกันใหญ่ว่า เอ้า นี่ตกลงท้องหรือไม่ท้อง ถ้าท้องแล้วทำไมประจำเดือนยังมาอยู่ล่ะ คนท้อง แต่ยังมีประจำเดือน เกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือ? หรือว่าจริง ๆ แล้วไม่ได้ตั้งท้องกันแน่นะ...? 

ประสบการณ์มีประจำเดือนแต่ท้อง เกิดขึ้นได้จริงหรือ

มีผู้หญิงหลายคนที่ทำการตรวจครรภ์ แล้วพบว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่อยู่ดี ๆ ไม่กี่วันหลังจากนั้นประจำเดือนก็มาปกติ อาการเมนส์มา แต่ท้อง สามารถเกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือ? 

จริง ๆ แล้วเรื่องนี้อาจจะแบ่งได้เป็นหลายกรณีนะคะ เช่น 

  • ไม่ได้ท้อง แต่ผลตรวจผิด เพราะอุปกรณ์ตรวจครรภ์ไม่ได้คุณภาพ เมื่อถึงเวลาประจำเดือนจึงมาปกติ 

  • ท้องจริง แต่เลือดที่ไหลออกมานั้นไม่ใช่เลือดประจำเดือน แต่เป็นเลือดล้างหน้าเด็ก ที่เกิดจากการฝังตัวอ่อนลงในมดลูก 

  • ท้องจริง แต่เลือดที่ไหลออกมานั้น เกิดจากการแท้ง หรือภาวะแท้งคุกคาม 

  • มีภาวะตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (Chemical pregnancy) ซึ่งอาจเกิดหลังจากผลตรวจครรภ์เป็นบวกผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ ประจำเดือนก็มาตามปกติ 

  • นับประจำเดือนคลาดเคลื่อน ทำให้เข้าใจว่าที่ประจำเดือนยังไม่มานั้นเป็นเพราะตัวเองท้อง 

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ก็จะไม่มีประจำเดือนมาแล้วค่ะ เลือดเมนส์ที่เห็นนั้น อาจเป็นเลือดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์มากกว่า 

อาการเหมือนคนท้อง แต่มีประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร  

อาการก่อนมีประจำเดือน กับ อาการคนท้องนั้น เรียกได้ว่าคล้ายกันราวกับแกะ จนบางครั้งก็แยกไม่ออก หรือแยกออกยากมาก ว่านี่เป็นอาการก่อนมีประจำเดือนตามปกติ หรือเป็นอาการคนท้องระยะแรกกันแน่ 

ซึ่งพ่อตัวดีที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ก็คือฮอร์โมนในร่างกายนั่นเอง โดยช่วงก่อนประจำเดือนจะมา และช่วงตั้งครรภ์นั้น ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงและผันผวน ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น 

  • คัดตึงเต้านม  

  • เสียวแปลบที่หัวนม 

  • วิงเวียนศีรษะ 

  • อ่อนเพลีย 

  • อารมณ์แปรปรวน 

  • อยากอาหารผิดปกติ 

  • ปวดเกร็งท้อง 

แต่ความแตกต่างที่จะชี้ชัดหลังจากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นก็คือ จะมีประจำเดือนมาตามปกติ กับไม่มีประจำเดือนมา และตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ 

เมนส์มาน้อย ท้องไหม? เมนส์มาแค่วันเดียว มีโอกาสท้องหรือเปล่า 

ถ้าหากเมนส์มา ก็แปลว่าคุณไม่ได้กำลังตั้งครรภ์ค่ะ การที่ประจำเดือนมามาก หรือมาน้อย ไม่ได้บอกถึงแนวโน้มว่าจะตั้งครรภ์ แต่ปริมาณที่มากไปหรือน้อยไปของประจำเดือนนั้น อาจเป็นสัญญาณสุขภาพ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ หรือเสี่ยงต่อเนื้องอกมดลูก เป็นต้น 

ดังนั้น หากพบว่าประจำเดือนครั้งล่าสุด มาน้อยหรือมากกว่าปกติที่เคยเป็น ควรหาเวลาไปตรวจสุขภาพภายในกับแพทย์จะดีกว่าค่ะ  

หรือถ้าหากอยากจะตั้งครรภ์ ก็จะได้ทำการตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกาย รวมถึงประเมินโอกาสในการตั้งครรภ์ไปพร้อมกันได้เลย 

เป็นประจำเดือนเยอะมาก แต่ท้อง เกิดขึ้นได้จริงไหม  

ประจำเดือนมาปกติ แต่ท้อง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงค่ะ หรืออาจจเกิดได้น้อยมาก ๆ  

ส่วนกรณีที่ประจำเดือนมา แต่ผลตรวจครรภ์เป็นบวกนั้น อาจจะเกิดจากเหตุปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น 

  • ไม่ได้ท้อง แต่ผลตรวจผิด เพราะอุปกรณ์ตรวจครรภ์ไม่ได้คุณภาพ เมื่อถึงเวลาประจำเดือนจึงมาปกติ 

  • ท้องจริง แต่เลือดที่ไหลออกมานั้นไม่ใช่เลือดประจำเดือน แต่เป็นเลือดล้างหน้าเด็ก ที่เกิดจากการฝังตัวอ่อนลงในมดลูก 

  • ท้องจริง แต่เลือดที่ไหลออกมานั้น เกิดจากการแท้ง 

  • มีภาวะตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (Chemical pregnancy) ซึ่งอาจเกิดหลังจากผลตรวจครรภ์เป็นบวกผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ ประจำเดือนก็มาตามปกติ 

  • นับประจำเดือนคลาดเคลื่อน ทำให้เข้าใจว่าที่ประจำเดือนยังไม่มานั้นเป็นเพราะตัวเองท้อง 

ประจำเดือนมา แต่ท้อง อันตรายไหม  

ท้อง แต่มีประจําเดือน ไม่มีอยู่จริงค่ะ และยากที่จะเป็นไปได้ ถึงเป็นไปได้ก็คงจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก 

แต่ถ้าหากตั้งครรภ์อยู่แล้วมีเลือดไหลออกมา กรณีนี้จะต้องไปพบแพทย์นะคะ เพราะเลือดที่ออกมานั้น เราไม่รู้ได้เลยว่าเป็นเพียงเลือดล้างหน้าเด็ก หรือเป็นเลือดที่เกิดจากการแท้ง หรือเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อใด ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา 

ไขข้อข้องใจเรื่องมีประจำเดือน แต่ตั้งครรภ์ กับ Enfa Smart Club

 คนท้องเดือนแรกมีประจำเดือน ไหม? 

ถ้าหากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ ก็จะไม่มีประจำเดือนออกมาแล้วค่ะ แต่เลือดที่ออกมานั้น อาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก หรือเป็นเลือดที่เกิดจากการแท้ง หรือเกิดจากการอักเสบ หรือติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา 

 ท้อง 1 เดือน แต่เป็นประจำเดือน เกิดขึ้นได้จริงหรือ? 

เมื่อตั้งครรภ์แล้ว จะไม่มีประจำเดือนตามมาแล้วค่ะ หากมีประจำเดือนมาแปลว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และที่ตรวจครรภ์นั้นอาจจะไม่ได้มาตรฐาน ชำรุด ทำให้ผลตรวจครรภ์ผิดเพี้ยน 

แต่ถ้าผลตรวจครรภ์ว่าท้องจริงแล้วมีเลือดไหลออกมาจนเข้าใจว่าเป็นเลือดประจำเดือน ที่จริงแล้วเลือดนั้นอาจจะเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก หรือเป็นเลือดที่เกิดจากการแท้ง หรือเกิดจากการอักเสบ หรือติดเชื้อต่าง ๆ ได้ 

ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา 

 เมนส์มาวันเดียว ท้องไหม? 

เมนส์มามาก หรือมาน้อย จะมาวันเดียว หรือมาหลายวัน ไม่ได้บอกว่าอาจจะมีโอกาสตั้งครรภ์นะคะ แต่อาจจะหมายถึงความผิดปกติทางสุขภาพได้ หากพบว่าประจำเดือนมาน้อยเกินกว่าปกติที่เคยเป็น ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาค่ะ 

เพราะการที่ประจำเดือนมาน้อยเกินไป หรือมากระปริบกระปรอย อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ หรือเสี่ยงต่อเนื้องอกมดลูก เป็นต้น 

 ตรวจแล้วท้อง แต่มีประจำเดือน ลูกในท้องจะปลอดภัยหรือไม่? 

หากตรวจแล้วพบว่าตั้งครรภ์และมีเลือดไหลออกมา จนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือน ซึ่งจริง ๆ แล้วเลือดนั้นอาจจะเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก หรือเป็นเลือดที่เกิดจากการแท้ง หรือเกิดจากการอักเสบ หรือติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา  

เพราะถ้าหากไม่ใช่เลือดล้างหน้าเด็ก แต่เป็นเลือดที่เกิดจากความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ทารกอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ

    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    • สังเกต 20 อาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1-4 สัปดาห์แรก
    • แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไร ให้หายเร็ว และลดรอย
    • หัวนมคนท้อง กับความเปลี่ยนแปลงตลอดการตั้งครรภ์
    • เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มาแปลว่าท้องใช่ไหม
    • เลือดล้างหน้าเด็ก สัญญาณแรกสู่ตั้งครรภ์ที่คุณแม่ควรรู้
    • ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหนกันแน่นะ?
    • ฝากครรภ์ จำเป็นไหม? ไม่ฝากครรภ์ได้หรือเปล่า?

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก