การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหายมากจะเป็นบริเวณใด บริเวณใดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด เพราะเหตุใดแผ่นดินไหวจึงเกิดในบริเวณแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนไหว บริเวณใดที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวน้อยที่สุด ศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดบริเวณภาคใด บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากที่สุดจะอยู่บริเวณใด แผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร ประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว เหตุการณ์แผ่นดินไหว แผ่นดินไหวมีกี่ประเภท แผ่นดินไหว ผลกระทบ การป้องกัน

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณใดที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเพราะเหตุใด

    แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร และแผ่นดินไหวเกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุแผ่นดินไหว และผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว มาฝากกัน

          จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับชาวเชียงรายเป็นอย่างมาก บ้านบางหลังพัง บางหลังเกิดรอยร้าว ถนนบางสายเกิดรอยแยก รวมถึงอาคาร สถานที่ก็ได้รับความเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 6.3 แมกนิจูด อีกทั้งยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา 278 ครั้ง (ข้อมูลเมื่อเวลา 06.20 น. วันที่ 7 พฤษภาคม 2557)

          อย่างไรก็ดี เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนพะเยาที่เลื่อนตัวในแนวราบแบบเหลื่อมซ้ายระนาบเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยยังมีรอยเลื่อนอยู่อีกมาก และมีถึง 14 รอยเลื่อนที่มีพลัง อาจจะทำให้เกิดเหตุแผ่นดินไหวซ้ำได้อีก อ่าน "14 รอยเลื่อนมีพลังในไทย ที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหว

          แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว คืออะไร และผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

          แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร 

          เว็บไซต์กรมทรัพยากรธรณี  ได้ระบุว่า แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลอดปล่อยพลังงาน เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

          ส่วนสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวนั้น มี 2 สาเหตุใหญ่ ได้แก่

          1. การกระทำของมนุษย์ อาทิ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่ เป็นต้น

          2. การเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีดังนี้..

          - ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก

          โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว
     
          - ทฤษฎีว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ

          โดยแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน และเมื่อรอยเลื่อนเคลื่อนตัวมาจุดหนึ่ง วัตถุจะขาดออกจากกันและเสียรูปอย่างมาก พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไห

          


          แผ่นดินไหวในประเทศไทย

          จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่ผ่านมา แนวของศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนมากจะอยู่รอบ ๆ ประเทศไทย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อบ้านเราไม่มากก็น้อยเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริเวณและแรงสั่นสะเทือน ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว เนื่องจากรอยเลื่อนในประเทศที่ยังเคลื่อนตัวอยู่ โดยรอยเลื่อนเหล่านี้จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งจะมีแรงสั่นสะเทือนแตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้ เราขอรวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่มีขนาดเกิน 5 แมกนิจูด มาให้ได้ทราบกัน //www.seismology.tmd.go.th/earthquakestat.html

          - วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2518  แผ่นดินไหว 5.6 แมกนิจูด ที่ อ.ท่าสองยาง  จ.ตาก  เกิดจากรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี

          - วันที่ 22 เมษายน 2526 แผ่นดินไหว 5.9 แมกนิจูด ที่ อ.ศรสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

          - วันที่  1 ตุลาคม 2532 แผ่นดินไหว 5.3 แมกนิจูด ที่ พรมแดนไทย-พม่า  เกิดจากรอยเลื่อนเชียงแสน 

          - วันที่  11 กันยายน 2537 แผ่นดินไหว 5.1 แมกนิจูด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย  เกิดจากรอยเลื่อนใน  จ.เชียงราย 
     
          ส่วนล่าสุด วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 แผ่นดินไหว 6.3 แมกนิจูด ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา

         

 ดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 40 ปีในประเทศไทยทั้งหมด คลิกค่ะ 

          ขนาดของแผ่นดินไหว กับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น            

          


          สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

          รวมไปถึงเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารขัดข้อง ขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง ส่งผลต่อการลงทุน การประกันภัย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหวว่ามากน้อยแค่ไหน และต้องดูจุดกำเนิดว่าอยู่บริเวณใด เนื่องจากถึงแม้แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก แต่ถ้าอยู่ไกล ความสั่นสะเทือนของคลื่นที่มาถึงสิ่งปลูกสร้างก็จะเบาลงมาก หากขนาดปานกลางแต่จุดกำเนิดใกล้กับอาคารก็จะทำให้เกิดความเสียหายในระดับรุนแรงได้ และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในส่วนของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ หรือที่เรียกว่า "สึนามิ" ซึ่งมีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล

การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหายมากจะเป็นบริเวณใด

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Intensity) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อย ๆ ลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลาย ...

บริเวณใดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว 1. แนวรอยต่อล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดว่าเป็นบริเวณที่เกิดค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด (80 %ของการเกิดแผ่นดินไหนทั่วโลก) 2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและหิมาลัยในเอเชีย (15 %) 3. แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ (5%) เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และ อาร์กติก

เพราะเหตุใดแผ่นดินไหวจึงเกิดในบริเวณแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนไหว

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ทฤษฎีว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก โดยแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้ง โก่งตัวอย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

บริเวณใดที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวน้อยที่สุด

พื้นที่ที่มีความรุนแรงรองลงมาในระดับความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง คือ บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้ ตามแนวรอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จัดอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงน้อย และไม่มีความเสี่ยง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก