ในพาเนลเลเยอร์

การใช้งานเลเยอร์ ในหัวข้อนี้เราจะมาเรียนรู้จักวิธีการใช้งานเลเยอร์เบื้องต้น เพื่อให้เราสามารถประยุกต์ใช้กับเลเยอร์เรื่อง อื่นๆได้ ทำงานกับ Active Layer ในการใช้งานโปรแกรม Photoshop แม้ชิ้นงาน จะประกอบไปด้วยหลายเลเยอร์ แต่เราจะทำงานได้เพียงทีละเลเยอร์ เท่านั้นโดยเลเยอร์ที่เรากำลังทำงานอยู่ เรียกว่า “Active Layer” ซึ่งในพาเนล Layers จะปรากฏเป็นแถบสีน้ำเงิน แสดงว่ากำลังทำการปรับแต่งให้กับเลเยอร์นั้น
^ แถบสีน้ำเงิน หมายถึง Active Layer
เราสามารถเรียกเลเยอร์ใด ๆมาทำงานได้ โดยการเลื่อนเมาส์ไปที่เลเยอร์นั้น ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูป แล้ว คลิกเมาส์ที่แถบของเลเยอร์ที่ต้องการ เลเยอร์นั้น ก็จะกลายเป็น Active Layer ทันที
^ คลิกเมาส์ที่เลเยอร์ที่ต้องการใช้งาน
^ จากนั้น Active Layer จะเปลี่ยนไปตามเลเยอร์ที่เราเลือก
เปลี่ยนเลเยอร์ BackGround ให้เป็นเลเยอร์ปกติ สังเกตว่าเลเยอร์ BackGround จะมีรูป
ล็อคอยู่ ทำให้ไม่สามารถตกแต่งแก้ไขภาพได้ ดังนั้นเราจะต้องเปลี่ยน เลเยอร์ BackGround ให้เป็นเลเยอร์ปกติเสียก่อน จึงจะสามารถแก้ไขเคลื่อนย้ายและตกแต่งสีลงไปได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ดับเบิลคลิกเมาส์ที่เลเยอร์ BackGround
2.เปลี่ยนชื่อพร้อมกำหนดคุณสมบัติของเลเยอร์
3.คลิกเมาส์ใช้ค่าที่กำหนด
^ จะเปลี่ยนเป็นเลเยอร์ปกติทันที
ซ่อนและแสดงเลเยอร์ ถ้าชิ้นงานที่เราแก้ไขประกอบด้วยเลเยอร์จำนวนมาก เราต้องการซ่อนบางเลเยอร์ที่ยังไม่ได้ใช้ เพื่อความสะดวก ในการทำงาน เมื่อเสร็จแล้วก็ให้แสดงเลเยอร์นั้นให้เห็นดังเดิม ดังตัวอย่างเราจะทดลองซ่อนเลเยอร์ข้อความ ดังนี้
ซ่อนเลเยอร์
1.คลิกเมาส์ที่
เพื่อซ่อนเลเยอร์
2.เลเยอร์ข้อความจะหายไป
แสดงเลเยอร์
1.คลิกเมาส์ที่
เพื่อแสดงเลเยอร์
2.ภาพในเลเยอร์ข้อความจะกลับมา
ซ่อนและแสดงหลายๆ เลเยอร์พร้อมกัน
1.ลากผ่านเลเยอร์ทั้งหมดที่ต้องการซ่อน
2.จะแสดงเพียงเลเยอร์ BackGround ที่เป็นพื้นหลัง
เปลี่ยนลำดับของเลเยอร์ โดยปกติภาพซ้อนกันจะถูกเรียงเลเยอร์เป็นลำดับตามการสร้างงานของเรา (เลเยอร์ที่สร้างก่อนจะอยู่ล่างสุด) แต่เพื่อความเหมาะสม เราก็สามารถสลับตำแหน่งการวางของเลเยอร์แต่ละเลเยอร์ได้
ในตัวอย่างเราจะสลับตำแหน่งของเลเยอร์ โดยให้เลเยอร์ สุขสันต์วันเกิด จากที่เคยอบู่บนสุด มาอยู่ด้านล่างของ Layer1 ที่เป็นภาพ เพื่อให้ขอบภาพซ้อนอยู่เหนือข้อความ
^ ก่อนการเปลี่ยนลำดับเลเยอร์
1.คลิกเมาส์เลือกเลเยอร์
2.ลากเมาส์ไปยังตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ
3.ภาพข้อความจะปรากฏอยู่ด้านล่างของภาพ
^ หลังการเปลี่ยนลำดับเลเยอร์
ล็อกเลเยอร์ เราเลือกล็อคบางอย่างในเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่เพื่อไม่ให้ถูกแก้ไขโดยบังเอิญได้ โดยคลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการ ล็อกและคลิกเลือกรูปแบบการล็อคที่พาเนล Layers มี 4 รูปแบบ ดังนี้คือ
การล็อคบางส่วน (Partially Lock) ได้แก่
Lock transparency pixels ล็อคภาพส่วนที่โปร่งใส
Lock image pixels ล็อคการแก้ไขภาพ
Lock position ล็อคตำแหน่งภาพ
การล็อคแบบสมบูรณ์ (Fully Lock)
คือ

Lock All ล็อคทั้งการแก้ไขและเคลื่อนย้าย
จัดหมวดหมู่ของเลเยอร์ สำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเลเยอร์จำนวนมาก เราสามารถจัดหมวดหมู่ของเลเยอร์ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกลุ่มของเลเยอร์เหล่านี้ว่า “เลเยอร์กรุ๊ป (Layer Group) ” โดยจะมีคุณสมบัติการทำงานเหมือนเลเยอร์ทั่ว ๆ ไป แต่ทั้งนี้การทำงานใด ๆ ที่เกิดขึ้นในเลเยอร์กรุ๊ปจะมีผลกับทุกเลเยอ์ที่อยู่ในกรุ๊ปนั้นด้วย
^ ภาพที่เราจะแบ่งเลเยอร์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คน ผีเสื้อ และนก
ในตัวอย่างเรามีเลเยอร์ 6 เลเยอร์ คือ human1, human2, butterfly1, butterfly2, bird1 และ bird2 ซึ่งเราจะจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ - เลเยอร์กรุ๊ปที่ 1 ชื่อ human ประกอบด้วย human1, human2 - เลเยอร์กรุ๊ปที่ 2 ชื่อ butterfly ประกอบด้วย butterfly1, butterfly2 - เลเยอร์กร๊ปที่ 3 ชื่อ bird ประกอบด้วย bird1, bird2
1.คลิกเมาส์เลือกตำแหน่งที่จะวางเลเยอร์กรุ๊ป 2.คลิกเมาส์ เพื่อสร้างเลเยอร์กรุ๊ป
3.เลเยอร์กรุ๊ปจะแสดงอยู่บนเลเยอร์ที่เราเลือก
4.ตั้งชื่อให้กับเลเยอร์กร๊ป
5.ลากเลเยอร์ที่ต้องการไปเก็บในเลเยอ์กรุ๊ป
คลิกเมาส์ปิดเลเยอร์ย่อยๆ ให้แสดงเฉพาะเลเยอร์กรุ๊ป วีดีโอสาธิต การใช้งานเลเยอร์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก