สภาพบ้านเมืองภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ให้แก่พม่าเป็นอย่างไร

สาเหตุการเสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310)

สมัยอยุธยาตอนปลาย ภายหลังสิ้นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ชาวอยุธยาหลงใหลกับความสุขสบายมากเกินไป จนเกิดความประมาท ระบบราชการหย่อนยาน บ้านเมืองอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับข้าศึกภายนอกได้ ในที่สุดก็เสียเอกราช เมื่อ วันอังคาร เดือน เม.ย. พ.ศ. 2310

สาเหตุของการเสียกรุงครั้งที่ 2 ประกอบด้วย สาเหตุระยะสั้น และสาเหตุระยะยาว

1. สาเหตุระยะยาว การชิงราชย์

-    เนื่องมาจากปัญหาการแย่งชิงอำนาจของชนชั้นปกครองปลายกรุงศรีอยุธยาในราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตั่งแต่สินแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงสมัยพระเจ้าเอกทัต ซึ่งเป็นให้นำไปสู้การกวาดล้างบ้านเมือง

-    ทำให้ขาดผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารและการรบ ผู้แพ้จะถูกฆ่าล้างโคตร เพื่อไม้ให้เป็นเสี้ยนหนาม หรือถูกจองจำ ถูกถอดยศ ยิ่งเกิดการชิงราชย์บ่อยเท่าใด บ้านเมืองก็ยิ่งอ่อนแอมากเท่านั้น

-    ทำให้เกิดความแตกสามัคคีในหมู่ข้าราชการ ซึ่งแตกเป็นสองฝ่ายตามแต่เจ้านายตน โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าเอกทัต กับ พระเจ้าอุทุมพร แม้จะมีข้าศึกประชิดเมือง ข้าราชการก็ไม่สามารถสามัคคีกันได้

-    ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เพราะไพร่พลถูกเกณฑ์ไปรบ ไม่มีเวลาทำมาหากิน พ่อค้าต่างชาติไม่กล้าเข้ามาค้าขาย ทำให้บ้านเมืองขาดเสบียง เมื่อพม่าล้อมจึงเสียกรุงในที่สุด

2. สาเหตุระยะสั้น

1.1  การไร้ความสามารถของพระเจ้าเอกทัต

-    ทรงไร้สติปัญญา ไม่เป็นที่พอใจของประชาชนและขุนนางกลุ่มต่าง ๆ

-    ทรงไร้สามารถในการบริหาร เพราะขาดการวางแผนที่ดี

-    ทรงไร้ความสามารถในการบ ไม่เคยเสด็จออกรบ ไม่เคยบัญชาการรบ

-    เช่นเมื่อเกิดศึกพม่าใน พ.ศ. 2302 2303 พระเจ้าเอกทัตไม่สามารถต้านทานได้ ประชาชนเรียกร้องพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชา สึกพระเพื่อมารับศึกพม่า จึงได้รับชัยชนะ

1.2  ฝ่ายไทยตั่งตนอยู่ในความประมาท

-    ภายหลังสงครามยุทธหัตถี ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใน พ.ศ. 2135 พม่าก็ไม่เคยมาตีไทยอีกเลย จึงรบไม่เป็น

-    คนไทยตั่งตนอยู่ในความประมาท หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข ขาดความสามัคคี

-    ขาดการฝึกซ้อมทางการทหาร การใช้อาวุธ เช่นยิงปืนใหญ่ไม่เป็น เมื่อพม่าล้อมกรุง ฝ่ายไทยผสมดินปืนไม่ได้อัตราส่วน ทำให้ยิงพลาดเป้า

-    ขาดการเตรียมพร้อมในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ปล่อยปะละเลยไม่เคยซ้อมบำรุง

-    ขาดการเตรียมเสบียงอาหาร เมื่อพม่าล้อมเมืองทำให้ต้องแบ่งปันอาหารกินเพียงพอกันตาย

1.3  ระบบการเกณฑ์ไพร่พลล้มเหลว

-    เนื่องจากมีบัญชีไพร่พลอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ในกรมสุรัสวดีอย่างแต่ก่อน

-    จำนวนไพร่พลที่แท้จริงไม่ตรงตามบัญชี เจ้ากรมกองต่าง ๆ มักปิดบังเพื่อประโยชน์ของตนเอง

-    ประชาชนหนีระบบการเกณฑ์ไพร่พล ประชาชนและขุนนางต่างหนีเอาตังรอดเมื่อเห็นว่ากรุงจะแตก

1.4  การจัดการปกครองอาณาจักรที่เห็นแก่ความมั่งคงของกษัตริย์จนเกินไป

-    เช่น ห้ามขุนนางหัวเมืองและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กันโดยไม่ได้พระบรมราชานุญาติ ขุนนางจึงขาดความสามัคคี ขาดความร่วมมือกัน

-    เจ้าเมืองต่าง ๆ ตั่งตนเป็นใหญ่ ตั่งตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา

2.ปัจจัยฝ่ายพม่า

-    เชลยพม่าที่ไทยจับตัวมาไว้ในกรุงศรีฯ รู้ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งภายในกรุงศรีฯ แอบส่งข่าวให้กับทางพม่า

-    พม่าเตรียมตัวมาดี มีการเตรียมเสบียง เตรียมเรือ ไม่ต้องยกทัพกลับเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ดังครั้งก่อน

-    พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่ามีความสามารถทางการรบ ทรงยึดหัวเมืองต่าง ๆ ก่อนเข้าตีกรุง หัวเมืองเหล่านั้นจะได้ไม่สามารถยกกำลังเข้ามาช่วยกรุงศรีฯ ได้

   จากสาเหตุปัจจัยดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องเสียกรุงในครั้งที่ 2 ในปี 2310

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก