วิธี ทำ กระปุก ออมสิน ด้วย ไม้ไผ่

อุปกรณ์

               -ไม้ไผ่

               -มีด(สำหรับตัด)

               -เลื่อย

               -อุปกรณ์ตกแต่ง

************************************************

วิธีทำ

             -ตัดไม้ไผ่ออกเป็นข้อๆ

             -เจาะรูให้เหมือนกระปุกออมสิน

             -นำสีและอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ

*****เสร็จเรียบร้อย*****

จุดประสงค์

    -เพื่อนำสิ่งของจากธรรมชาติและสิ่งที่เหลื่อใช้มาทำสิ่งของให้เป็นประโยชน์

               -เพื่อมีวินัยในการออมเพื่อไปใช้ในวันข้างหน้าหรือยามที่จำเป็น

คณะผู้จัดทำ

นางสาวจารุวรรณ     ชัยรัตน์        เลขที่ ๘

  นางสาวนิรชา           นาลงพรม    เลขที่ ๑๖

นางสาวอุไรลักษณ์  สีกุลฮาด      เลขที่๓๐

*****ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๒*****

วิธีการดำเนินงาน

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง 

กระปุกออมสินจากไม้ไผ่นี้คณะผู้จัดทำมีวิธีการดำเนินโครงงาน ดังต่อไปนี้

1.เตียมอุปกรณ์ตัดไม้ไผ่มาตามที่ต้องการ

2.ตัดไม้ไผ่เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ

3.ขูดเปลือกนอกออกให้เหลือแต่เนื้อใน

4.นำมาขัดด้วยกระดาษทราย

5.วาดลายตามที่ต้องการลงในกระบอกไม้ไผ่

6.ใช้หัวแร้งจี้ตามเส้นที่เราวาดลายไว้

7.เหลือบด้วยแชล็ค

8.เส็จสมบูรณ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ทำมาหากิน : กระปุกออมสินไผ่สหกรณ์ตาดข่า 'หัตถกรรม' เสริมรายได้สมาชิก : โดย...สุรัตน์ อัตตะ

การนำวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาผลิตเป็นกระปุกออมสิน นอกจากเป็นการนำวัสดุท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าแล้วยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการออมให้แก่เด็กและเยาวชนอีกด้วย   อ.หนองหิน จ.เลย ถือแหล่งผลิตกระปุกออมสินจากกระบอกไม้ไผ่ โดยชาวบ้านได้ร่วมกันคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์ก่อนจะรวมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพตั้งแต่ปี 2547 ในนาม "กลุ่มหัตถกรรมไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง และกะลามะพร้าว” สังกัดสหกรณ์การเกษตรประชาสามัคคีตาดข่า จำกัด ปัจจุบัน วีระยุทธ แก้วโวหาร เป็นประธานกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลย เป็นเงินอุดหนุนให้กลุ่ม 40,000 บาท สำหรับนำไปซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและซื้อวัตถุดิบนำมาผลิตสินค้ารวมถึงเป็นทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม 

อนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดเลย เปิดเผยว่า สินค้าหลักของกลุ่มหัตถกรรมไม้ไผ่ วัตถุดิบหลักคือไม้ไผ่ ที่นำเอามาจากในป่าใกล้กับหมู่บ้าน และมีชาวบ้านบางรายปลูกต้นไผ่ไว้ในพื้นที่หัวไร่ปลายนา ไม้ไผ่จะถูกนำมาแปรรูปเป็นกระปุกออมสินและของใช้ของที่ระลึก ซึ่งขนาดของไม้ไผ่ที่จะนำมาแปรรูปได้นั้นมีขนาดอายุ 2 ปีขึ้นไป หากตัดไม้ที่มีอายุต่ำกว่านั้นจะมีปัญหาเรื่องการยุบตัวของไม้และปริแตก เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อสินค้า กลุ่มจะแบ่งงานให้สมาชิกแต่ละบ้านรับไปทำตามความถนัดหรือตามเวลาว่างที่แต่ละคนจะสามารถทำได้ ก่อนจะรวบรวมมาส่งไว้ที่เดียวที่บ้านประธาน สมาชิกจะมีรายได้เสริมครอบครัวละประมาณ 10,000-20,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ดีกว่าการออกไปรับจ้าง ยอดการสั่งซื้อสินค้ามีต่อเนื่องตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปีใกล้วันปีใหม่จนไปถึงเดือนมีนาคม จะเป็นช่วงที่ลูกค้าโทรมาสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายดีได้แก่ กระปุกออมสินไม้ไผ่แบบทรงสูง และสั่งซื้อคราวละประมาณ 3,000-5,000 ชิ้น

“การทำกระปุกออมสินกระบอกไม้ไผ่ เป็นอาชีพที่ทุกคนสามารถทำได้อยู่กับบ้านในยามว่างที่เสร็จสิ้นหลังจากทำไร่ ทำนา ขั้นตอนการทำกระปุกออมสินไม้ไผ่ เมื่อตัดไม้ไผ่มาแล้วจะพักไม้ไว้ประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้ไม้อยู่ตัว ไม่ให้แตกหรือยุบตัว จากนั้นตัดเป็นท่อนๆ เป็นรูปร่างตามแบบ ก่อนจะนำมาขัดผิวเอาเปลือกไม้ไผ่ออก และแต่งรูปร่างแล้วจึงตกแต่งให้สวยงาม ใช้สีเมจิกวาดตัวลวดลายเป็นตัวการ์ตูนบนผิวไม้ไผ่ ซึ่งแต่ละวันลูกหลานของสมาชิกเมื่อกลับจากโรงเรียนจะมาล้อมวงกันวาดภาพ โดยใช้ทักษะฝีมือด้านศิลปะมาช่วยครอบครัวหารายได้เสริม หลังจากวาดภาพและตกแต่งสีสันจนสวยงามแล้ว นำกระบอกไม้ไผ่ไปเคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ ก่อนจะผึ่งแดดสักระยะหนึ่งเพื่อไล่ความชื้นไม่ให้เกิดเชื้อรา จากนั้นจึงรวบรวมและจัดส่งให้ลูกค้าได้ทันที”   

สหกรณ์จังหวัดเลยระบุว่าขณะนี้มีกำลังการผลิตกระปุกออมสินของสมาชิกแต่ละบ้านเฉลี่ย 100 กระบอกต่อวัน สร้างรายได้วันละประมาณ 1,000 บาท หากมียอดสั่งซื้อจากลูกค้าจำนวน 3,000 ชิ้น จะใช้เวลาในการผลิตประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะขายส่งเป็นสินค้าทั้งชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ราคาตั้งแต่ 10 บาทถึง 100 บาท สินค้ามีทั้งกระปุกออมสินหลายขนาด หลายรูปแบบ ตามลักษณะและจินตนาการของผู้ผลิตซึ่งเป็นชาวบ้าน รูปแบบส่วนใหญ่จะเป็นทรงกระบอกตามลักษณะของไม้ไผ่ นอกจากกระปุกออมสินที่เป็นสินค้าขายดีแล้ว ทางกลุ่มยังผลิตเป็นแก้วน้ำ แก้วกาแฟ แก้วไวน์ กระติกน้ำ โคมไฟไม้ไผ่ ซึ่งได้นำกะลามะพร้าวมาเป็นส่วนประกอบตกแต่งด้วย

“กลุ่มจะผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า แต่สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือกระปุกออมสินไม้ไผ่ ซึ่งจะมีบริษัทห้างร้านและโรงเรียนสั่งซื้อไปแจกเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่างๆ หรือแจกให้นักเรียนไว้ใช้สำหรับการออมเงิน และยังมีร้านค้าสั่งซื้อไปวางจำหน่ายตามสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเลย”

สหกรณ์จังหวัดเลยย้ำด้วยว่า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเลยเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือชาวบ้านมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อใช้เวลาว่างจากงานประจำมาสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและวัสดุในท้องถิ่นมาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าเพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปคอยให้คำแนะนำและสนับสนุนด้านการตลาด โดยเชื่อมโยงกับสหกรณ์ต่างๆ ภายในจังหวัด สั่งซื้อสินค้ากระปุกออมสินจากกลุ่มดังกล่าวสำหรับแจกจ่ายและใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการออมให้แก่สมาชิกสหกรณ์แต่ละแห่งอีกด้วย

นับเป็นผลิตภัณฑ์เด่นฝีมือชาวบ้านที่นำวัสดุจากธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาเพิ่มมูลค่าด้วยการผลิตเป็นกระปุกออมสิน ปลูกสร้างจิตสำนึกในการออมให้แก่เด็กๆ อีกด้วย สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ที่โทร.08-1058-3630 ได้ตลอดเวลา

--------------------

(ทำมาหากิน : กระปุกออมสินไผ่สหกรณ์ตาดข่า 'หัตถกรรม' เสริมรายได้สมาชิก : โดย...สุรัตน์ อัตตะ)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก