แอมมิเตอร์ควรต่อแบบใดในวงจรไฟฟ้า

วัดกระแสไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานสัญลักษณ์ของแอมมิเตอร์นิยมเขียนด้วยตัว A ในวงกลม A เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าหรือแอมมิเตอร์มี 2 แบบ ด้วยกัน คือเครื่องวัดปริมาณไฟฟ้ากระแสตรงหรือแอมมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรง ( D.C.Ammeter ) เมื่อจะใช้วัดกระแสไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงขั้วบวกและขั้วลบของเครื่องมือวัดด้วย ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ แอมมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสสลับ ( A.C.Ammeter ) เมื่อจะใช้วัดกระแสไฟฟ้าสลับไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้วบวกและขั้วลบ เหมือนกับแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง เนื่องจากไฟฟ้ากระแสสลับมีการเปลี่ยนแปลงขั้วบวกขั้วลบอยู่ตลอดเวลา 


การอ่านค่ากระแสไฟฟ้าจากแอมมิเตอร์ ในกรณีที่ใช้แอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรงผู้ใช้จะต้องต่อขั้วบวกของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย และต่อขั้วลบของแอมมิเตอร์เข้ากับอีกปลายข้างหนึ่งของวงจร และก่อนที่จะวัดนั้นจะต้องทราบว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรนั้นมีค่าประมาณเท่าใด กระแสที่ต้องการวัดต้องไม่เกินขนาดของย่านการวัดแอมมิเตอร์ที่ใช้ ตัวอย่างเช่น ถ้าย่านการวัดของแอมมิเตอร์มีขนาด 0-2 แอมแปร์ กระแสที่วัดต้องไม่เกิน 2 แอมแปร์ และถ้าย่านการวัดของแอมมิเตอร์มีขนาด 0-5 แอมแปร์ กระแสที่วัดจะต้องไม่เกิน 5 แอมแปร์

หน่วยของปริมาณของกระแสไฟฟ้า นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณหาหน่วยของไฟฟ้าจากอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้า 6.28 X 1018 ตัว เท่ากับ 1 หน่วย เรียกว่า 1 คูลอมบ์ เพื่อเป็นการยกย่องนักฟิสิกส์ ชื่อ กูลง, ชาร์ล-โอกูสแตง เดอ ( Coulomb, harles-Augustin de ) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้คิดคำนวณหาปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน โดยกำหนดปริมาณประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ เคลื่อนที่ในตัวนำผ่านจุดๆ หนึ่งภายในเวลา 1 วินาที เป็นปริมาณกระแสไฟฟ้า 1 หน่วย เรียกว่า 1 แอมแปร์

กำหนดให้ 1 แอมแปร์ ( A ) = 1,000 มิลลิแอมแปร์ ( mA )
หรือ 1 มิลลิแอมแปร์ ( mA ) = 0.001 แอมแปร์ ( A )

ในปัจจุบัน เครื่องวัดกระแสไฟฟ้ามีหลายแบบ แต่ที่นักเรียนควรรู้จักมี 2 แบบ คือ

1. เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบเข็มชี้ ( Analog )

เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบเข็มชี้นี้มีการออกแบบหน้าปัด เป็นสเกลขนาดต่างๆ เมื่อต้องการทราบค่ากระแสไฟฟ้า ให้อ่านค่าตัวเลขที่เข็มชี้ของเครื่องวัดขึ้นบนสเกลของเครื่องวัดนั้นๆ

ในการปฏิบัติการทางช่างไฟฟ้า ซึ่งเกี่ยวกับการบริการทางไฟฟ้าจะต้องเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของการเดินสายและการติดตั้งไฟฟ้าในสถานที่ต่างๆ นั้น การต่อสายเข้าเครื่องวัดกระแสไฟฟ้ากระทำได้ยากและไม่ปลอดภัย ในทางปฏิบัติจึงนิยมใช้แคลมบ์ออนมิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอีกแบบหนึ่งที่ใช้คล้องหรือเกี่ยวสาย เป็นการวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่สะดวกประเภทหนึ่ง

2.เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบตัวเลข ( Digital )

ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้คิดและผลิตเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบตัวเลข ซึ่งอ่านค่าได้สะดวกและรวดเร็วกว่าแบบเข็มชี้ เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าแบบนี้เหมาะกับการปฏิบัติงานไฟฟ้าทั่วๆ ไป ที่ต้องออกปฏิบัติงานนอกสถานที่

แอมมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สําคัญชนิดหนึ่งในทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วัดปริมาณ กระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าใด ๆ

แบ่งออกได้ 2 ชนิดตามลักษณะของกระแสไฟฟ้า คือ

1) แอมมิเตอร์ ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Ammeter)

2) แอมมิเตอร์ ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Ammeter)

ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะใช้ชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัล (D’Arsonval moving coil) เป็นอุปกรณ์

หลักในการแสดงผลปริมาณกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น

แอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่ดัดแปลงจากชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์ สันวัล โดยอาศัยสนามแม่เหล็กถาวรและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดเคลื่อนที่ ดังนั้นเมื่อมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจึงทําให้เกิดแรงบิดบ่ายเบนจากขดลวดเคลื่อนที่พาให้เข็มมิเตอร์แสดงค่าปริมาณ กระแสไฟฟ้าได้ โดยปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ทําให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไปจนเต็มสเกลนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า เต็มสเกล

แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงนี้เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าแบบอะนาลอก (Analog Instrument) หรือ อาจจะเรียกอีกชื่อว่าเครื่องมือวัดแบบเข็มชี้ (Indicating Instrument) ใช้สําหรับวัดกระแสไฟฟ้าแบบ กระแสตรง (Direct Current : DC) โดยลักษณะของการวัดจะต่อแบบอนุกรมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการ วัด (ภาพที่ 1) และแสดงผลการวัดด้วยเข็มมิเตอร์ซึ่งติดอยู่กับขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัล ซึ่งจะหมุน ไปพร้อมกันเพื่อแสดงค่ากระแสไฟฟ้าบนสเกลของหน้าปัทม์ตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวด เคลื่อนที่

แอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งดัดแปลงจากขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัล จะพันขดลวดด้วย ลวดตัวนําขนาดเล็กจึงทําให้เกิดค่าความต้านทานน้อย ๆ ค่าหนึ่งขึ้นในขดลวดตัวนํา เรียกว่า ความต้านทาน ขดลวด (Moving Coil Resistance) ใช้สัญลักษณ์ว่า Rm ดังนั้นเมื่อนําไปใช้วัดกระแสไฟฟ้าจึงมีขีดจํากัดใน การวัดกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณหนึ่งเท่านั้น ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้าที่จํากัดนี้ เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเต็มสเกล (Full Scale Current) หรือกระแสไฟฟ้าขดลวด (Moving Coil Current) ใช้สัญลักษณ์ว่า Im ซึ่งเป็นค่า กระแสไฟฟ้าที่ทําให้เข็มของมิเตอร์บ่ายเบนไปจนเต็มสเกล

แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

โครงสร้างของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับจะประยุกต์ใช้ชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัล เช่นเดียวกับแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ดังนั้นการใช้งานจึงต้องต่ออนุกรมกับวงจรที่ต้องการวัดหรือ อนุกรมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะวัดเหมือนแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงทุกประการเพียงแต่การใช้งานไม่ต้อง คํานึงถึงขั้วของกระแสไฟฟ้าเหมือนกับแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ส่วนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะเป็น ค่าเฉลี่ยกําลังสอง หรือ ค่า อาร์เอ็มเอส (RMS : Root Mean Square) ของค่าไฟฟ้ากระแสสลับ ภาพที่ 6 แสดงสัญลักษณ์ของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งจะต่างจากแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงคือไม่มี เครื่องหมายแสดงขั้วไฟฟ้าหรือมี ∼ อยู่ใต้ตัว A

โครงสร้างของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

เนื่องจากชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัลนั้นใช้วัดปริมาณไฟฟ้ากระแสตรง ดังนั้นการดัดแปลง เป็นแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับจึงต้องผ่านกระบวนการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนด้วยวงจรเรียงกระแส (Regtifier) ดังภาพที่ 7 ไฟฟ้ากระแสตรง (IDC ) ที่ผ่านกระบวนการเรียงกระแส นั้นจะมีค่าไม่เท่ากับค่าของไฟฟูากระแสสลับ (IAC ) ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการปรับแต่งสเกลของ แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้แสดงปริมาณกระแสไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

สรุปสาระสําคัญ

แอมมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดที่ดัดแปลงจากชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวัล ใช้สําหรับวัดปริมาณ กระแสไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ เนื่องจากภายในพันลวดตัวนําขนาดเล็กจึงเกิดค่าความต้านทาน ขึ้น เรียกว่า ความต้านทานขดลวด (Moving Coil Resistance) และค่ากระแสไฟฟ้าที่ทําให้เข็มของมิเตอร์ บ่ายเบนไปจนเต็มสเกล เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเต็มสเกล (Full Scale Current) ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้านี้จะมี ปริมาณน้อยมากจึงไม่สามารถวัดกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงได้จึงต้องทําการดัดแปลงเครื่องมือวัดนี้ เรียกว่า การขยายย่านวัด

หลักการขยายย่านวัดใช้หลักการของวงจรขนาน (Parallel Circuit) โดยการนําตัวต้านทานชั้นท์ (Shunt Resistor : Rs) มาต่อขนานกับขดลวดเคลื่อนที่ เพื่อแบ่งปริมาณกระแสไฟฟ้าออกเป็นสองส่วน คือ กระแสไฟฟูาเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ (Im) และกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลผ่านตัวต้านทานชั้นท์ ซึ่งจะแบ่ง กระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินจากกระแสไฟฟ้าเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ออกไป ซึ่งทําให้กระแสไฟฟ้าทั้งสอง เป็นสัดส่วนกันอย่างพอดี ดังนั้นการบ่ายเบนไปของขดลวดเคลื่อนที่เนื่องจากกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงจึงเป็น สัดส่วนกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ถูกแบ่งให้ไหลผ่านขดลวดเคลื่อนที่ จึงทําให้สามารถเขียนสเกลใหม่บน สเกลเดิมได้ รวมทั้งยังสามารถใช้เทคนิคเดียวกันนี้ประยุกต์ใช้สร้างแอมมิเตอร์แบบหลายย่านวัดได้

แอมมิเตอร์ต่อแบบใดในวงจรไฟฟ้า

จากรูปเป็นการต่อ ดีซีแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง ดีซีแอมมิเตอร์ต้องต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า สามารถต่อได้ทุกจุดในวงจรแต่ต้องระมัดระวังในเรื่องขั้วของแอมมิเตอร์ ต้องต่อให้ตรงขั้ว กับแหล่งจ่ายไฟฟ้า สเกลของแอมมิเตอร์จะเป็นสเกลแบบมีมาตราส่วนเท่ากันเลขศูนย์จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ตัวเลขมากจะอยู่ทางขวามือ ปกติเข็มของแอมมิเตอร์ จะอยู่ ...

แอมมิเตอร์ เป็นมิเตอร์ประเภทใด

แอมมิเตอร์ (Ammeter) มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) เป็นเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าได้หลายย่านการวัด เช่น วัดกระแสไฟฟ้าเป็นไมโครแอมแปร์ (Microampere) เรียกว่า ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter), ใช้วัดกระแสไฟฟ้าเป็นมิลลิแอมแปร์ (Milliampere) เรียกว่า มิลลิแอมมิเตอร์ (Milliammeter), ...

การวัดกระแสไฟฟ้าต้องต่อแบบใด

เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าเรียกว่า แอมมิเตอร์ (Ampere meter) ตัวอย่างการวัด ทำการต่อหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับแบตเตอรี่ และวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้า โดยนำปลาย + ของแอมมิเตอร์ผ่านหลอดไฟฟ้าต่อกับขั้ว + ของแบตเตอรี่ และนำปลาย - ของแอมมิเตอร์ต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่ ดังรูป

การใช้แอมมิเตอร์จะมีลักษณะการต่อใช้งานอย่างไร

1 เลือกบริเวณในวงจรไฟฟ้าที่ต้องการจะวัดกระแสไฟฟ้า และสังเกตว่าไฟฟ้าบริเวณนั้นมีทิศ การไหลอย่างไร 2 ตั้งช่วงการวัดของแอมมิเตอร์ให้สูงกว่ากระแสไฟฟ้าของบริเวณนั้น แล้วนาแอมมิเตอร์ไป ต่อแทรกหรือต่ออนุกรม ณ บริเวณนั้น โดยต้องเป็นการต่อที่ทาให้กระแสไฟฟ้าบริเวณนั้นไหลเข้าทาง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก