ใช้หนี้ ก ยศ เดือนละ เท่า ไหร่

ข่าววันนี้ วิธีจ่ายหนี้ กยศ. เตรียมตัวไว้จะได้ไม่ร้อนใจเมื่อใกล้ถึงกำหนด! ใครกู้ยืมเงินสามารถชำระหนี้คืนก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย (วันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันสุดท้ายของการจ่ายหนี้ กยศ.) เอาละวันนี้ TrueID รวบรวมวิธีมาให้แล้ว 

วิธีจ่ายหนี้ กยศ. 

1. ตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ที่ต้องจ่ายแต่ละปีจากเว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th เลือก "ตรวจสอบยอดหนี้ หรือ scan QR code ในรูปนี้

2. คำนวณและวางแผนเก็บเงินเป็นรายเดือน เพื่อจ่ายหนี้ให้ครบตามกำหนด (ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี)

จำนวนเงินที่ต้องเก็บ = ยอดหนี้รายปี  (หาร) จำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงกำหนดชำระ

สำหรับผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ก่อนจ่ายหนี้ กยศ. ควรเตรียมตัวด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ

  1. หลักเกณฑ์การชำระหนี้
  2. ช่องทางการชำระหนี้
  3. ตารางวางแผนผ่อนชำระหนี้

1. หลักเกณฑ์การชำระหนี้

  • ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
  • ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
  • การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
  • หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
  • ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด


หมายเหตุ

(ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี

(ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

2. ช่องทางการชำระหนี้ กยศ.

ทั้งนี้ กยศ.จะมีหนังสือแจ้งชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน หรือรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบ หากผู้กู้ยืนไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้ สามารถตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตนเองได้ทางแอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเว็บไซต์ //wsa.dsl.studentloan.or.th นำเงินไปชำระได้ตามช่องทาง ดังนี้ 

ธนาคารกรุไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM
  4. อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
  5. แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM 

ชำระหนี้ กยศ.ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking

  1. เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอปพลิเคชัน "กยศ. Connect
  2. เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking
    • กด สแกนจ่าย
    • เลือกภาพ QR Code ที่บันทึกไว้
    • ชำระเงิน

ชำระหนี้ กยศ. ด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode

แสดง Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์ //wsa.dsl.studentloan.or.th  หรือแอปพลิเคชัน "กยศ. Connect ใช้เพื่อชำระหนี้ผ่านหน่วยรับชำระ ดังต่อไปนี้

  • ไปรษณีย์ไทย
  • บิ๊กซี
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารไทยธนชาต
  • ธนาคารกรุงศรี
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ

หมายเหตุ :


1. ชำระได้เฉพาะผู้กู้ยืมที่ไม่มียอดค้างชำระ และมีสถานะชำระหนี้ปกติตามสัญญา 15 ปี เท่านั้น
2. สามารถตรวจสอบรายการลดหนี้ได้ภายหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมชำระเงินไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ 
3. ผู้กู้ยืมต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละช่องทางที่ใช้บริการ

3. ตารางวางแผนผ่อนชำระหนี้ กยศ.

อย่าลืมเช็กตารางผ่อนชำระหนี้ กยศ. จะได้วางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ตามนี้

ข้อมูล : ศคง. 1213

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มทำงาน ยังเป็นหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ “กยศ.” มีกำหนดให้ชำระคืนเงินระยะยาวถึง 15 ปี ที่ดอกเบี้ย 1% ต่อปี
“การวางแผน” และ “การบริหาร” เพื่อจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ทำยังไงจึงจะสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น เสียดอกเบี้ยน้อยลง และไม่กระทบต่อการวางแผนใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน มาดูกัน

  • ทำความเข้าใจเงื่อนไขหนี้ กยศ.ก่อนจ่าย
  • เช็กยอดหนี้ – วางแผนจ่ายหนี้ ให้หมดไว
  • ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ กยศ.

Link ที่เกี่ยวข้อง

ทำความเข้าใจเงื่อนไขหนี้ กยศ.ก่อนจ่าย

ก่อนจะจ่ายหนี้ กยศ. ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายหนี้ว่ามีกี่ประเภท และวิธีการคิดดอกเบี้ย กับระยะเวลาในการชำระหนี้ เพราะถ้าขาดส่ง หรือขาดการแจ้ง หรือหายตัวไปเลย จะกลายเป็น “ผิดนัดชำระหนี้” อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือยึดทรัพย์ได้ จึงต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขหนี้ก่อน ดังนี้

เข้าใจเงื่อนไขหนี้ ก่อนวางแผนจ่าย

ก่อนที่เราจะวางแผนจ่ายหนี้ อันดับแรกต้องทำความเข้าใจ “เงื่อนไขหนี้” ก่อน

  1. สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนคือ เงินกู้ กยศ. “ไม่ใช่เงินให้เปล่า” มีกำหนดชำระหนี้ มีอัตราดอกเบี้ย และถ้าผิดนัดชำระหนี้ ขาดการติดต่อ หรือหนีหนี้ อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือยึดทรัพย์ได้ คนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดหากหนี้ไม่ถูกชำระคือ ตัวผู้กู้ เนื่องจากจะถูกดำเนินคดีแล้ว ยังส่งผลกระทบถึงน้อง ๆ รุ่นหลังจะหมดโอกาสกู้เรียน เพราะไม่มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบ
  2. กยศ. มีระยะปลอดหนี้ 2 ปี หลังจากจบการศึกษา หมายความว่าระยะ 2 ปีนี้จะไม่ต้องชำระหนี้ใด ๆ
  3. กยศ. คิดดอกเบี้ย 1% ต่อปี
  4. กยศ. จะแจ้งยอดการชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ 3 หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยมีกำหนดให้ชำระคืนไม่เกินวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี
  5. ต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด 1% ต่อปี โดยต้องคืนกองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
  6. ถ้าผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
  7. อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ถ้าผิดนัดชำระหนี้ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระแต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว
  8. การขอชำระหนี้ก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย
  9. กรณีที่ยังศึกษาอยู่ แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาต่อไป ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษากับผู้บริหารและ จัดการเงินที่กู้ยืม โดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ต้องแสดงและแจ้งทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

กยศ.มีระบบคิดดอกเบี้ยอย่างไร

กยศ. คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 1% ต่อปี แต่หากผิดนัดชำระหนี้ จะมีการคิดเบี้ยปรับในกรณีไม่เกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ หากเกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ

วิธีคิดดอกเบี้ย
1. กรณีชำระหนี้ตามเวลา ร้อยละ 1 ต่อปี

ดอกเบี้ย = เงินต้นทั้งหมด xอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 x จำนวนวัน
              หารด้วย 365 วัน
                                                                                                                                        

2. กรณีผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี
ไม่เกิน1 ปี คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 12 ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นที่ค้างชำระx เบี้ยปรับร้อนละ 12 x จำนวนวันที่ค้างชำระ
              หารด้วย 365 วัน
                                                                                                                                              

3. กรณี ผิดนัดชำระหนี้ เกิน 1 ปี
เบี้ยปรับเกิน 1 ปีคิดดอกเบี้ยร้อยละ 18 ของเงินต้นที่ค้างชำระ

เบี้ยปรับ = เงินต้นค้างชำระ x ร้อยละ 18 x จำนวนวันที่ค้างชำระ
หารด้วย 365วัน
                                                                                                                                           

สำหรับกรณี ที่นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการผิดนัดชำระ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระ แต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว หรือกรณีที่ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี

ระบบ DSL คืออะไร

Digital Student Loan Fund System (DSL) เป็นระบบกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล สำหรับให้บริการกู้ยืมเงินตลอดจนชำระหนี้ ทาง Application กยศ. connect และเว็บไซต์ อ่านรายละเอียดการใช้งานและวิธีการใช้งานได้ที่นี่

เช็กยอดหนี้ - วางแผนจ่ายหนี้ ให้หมดไว

หลังจากตรวจยอดชำระหนี้แล้ว สิ่งที่สำที่สุดคือการวางแผนบริการจัดการหนี้เพื่อให้ชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดแล้ว ยังสามารถวางแผนลดหนี้ลงไปได้ โดยการเริ่มสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเอง ดังนี้

1. เก็บออมเงินเพื่อจ่ายในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี

การบริหารการเงินในช่วง “ระยะปลอดหนี้ 2 ปี” เป็นช่วงเวลาสำคัญในการจัดการหนี้ และการสร้างวินัยในการบริหารจัดการหนี้  เพราะสามารถใช้ช่วงเวลานี้เก็บเงินเตรียมไว้สำหรับจ่ายหนี้ กยศ. เมื่อถึงกำหนดชำระได้ 

หัวใจสำคัญในช่วงปลอดหนี้คือการเก็บเงินสำรองไว้จ่ายหนี้ กยศ. โดยเฉพาะในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเก็บเงินรายวัน ทีละเล็กละน้อย ตามระยะเวลา โดยหักเงินจากบัญชีเงินเดือนหรือรายได้ เก็บไว้ทุก ๆ เดือนก่อนที่จะใช้จ่ายในส่วนอื่น โดยเก็บเงินก้อนนี้มาใช้ในการจ่ายหนี้ กยศ. เท่านั้น

วิธีการคำนวณ เพื่อหักรายได้รายเดือนในช่วงปลอดหนี้ง่าย ๆ โดยการนำยอดชำระหนี้ในแต่ละปีมาหาร 12 เดือน เช่น ยอดชำระหนี้ 5,484 บาท หาร 12 เดือน เท่ากับว่าในแต่ละเดือนต้องเก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ 457 บาท เป็นต้น

ในทุกเดือนผู้กู้จะต้องมีวินัยในการหักค่าใช้จ่ายเพื่อจ่ายหนี้ กยศ. เพียงเก็บเงินวันละ 5 บาทก็สามารถปลดหนี้ กยศ. ได้ โดยเงินจำนวนดังกล่าว สามารถเริ่มนำมาใช้หนี้ กยศ. ได้เลยหลังเรียนจบ

2. จ่ายหนี้ กยศ. ช่วงปลอดหนี้ ช่วยลดภาระเงินต้น

ผู้กู้ที่เป็นนักเรียน นักศึกษา สามารถวางแผนการชำระหนี้ให้เร็วขึ้นได้ ด้วยการเริ่มต้นชำระหนี้คืนกองทุนฯ ตั้งแต่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ หรือช่วง 2 ปีหลังจบการศึกษา

โดยในช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปีนี้ ผู้กู้จะยังไม่ต้องเริ่มชำระหนี้คืนกองทุนฯ แต่หากมีความพร้อมในการชำระหนี้ก็สามารถชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดชำระหนี้งวดแรกให้เร็วขึ้นได้ เพราะจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในช่วงเวลานี้ เงินที่จ่ายไปทั้งหมดก็จะถูกหักออกจากเงินต้น ยิ่งผู้กู้ชำระเงินในช่วงปลอดหนี้ได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้เร็วขึ้นเท่านั้น

3. ปิดบัญชี ลดเงินต้นทันที 3%

ถ้ามีเงินก้อนใหญ่เพียงพอที่จะชำระหนี้แบบปิดบัญชี ยังมีช่องทางในการลดภาระเงินต้น โดยแจ้งปิดบัญชีชำระหนี้ทั้งหมดจะได้รับการ “ลดเงินต้นทันที 3%” (ไม่รวมดอกเบี้ย)” ณ วันที่ปิดบัญชีหนี้หนี้ทั้งหมด

หากสนใจที่ปิดบัญชีชำระหนี้ทั้งหมด สอบถามข้อมูล กยศ. หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 0 2016 4888 ให้บริการข้อมูล ชี้แจง ตอบปัญหา ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 20.00 น.

ส่งข้อมูลสอบถาม ได้ที่อีเมล หรือ Facebook: @studentloan.th

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ กยศ.

ก่อนจะเริ่มชำระหนี้ กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือนหรือรายปี ให้ผู้กู้ยืมทราบ

หากไม่ได้รับหนังสือสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ด้วยตัวเองที่แอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ iOS และ Android และผ่านทาง เว็บไซต์กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ส่วนช่องทางการชำระเงินกู้แบ่งออกเป็น ดังต่อไปนี้

1. ผ่านธนาคารกรุงไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ ATM
  4. อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
  5. แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง

2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  1. หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  2. หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  3. ตู้ATM

3. ชำระด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking

4. ชำระ หนี้ผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น บิ๊กซี

5. ชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนจากนายจ้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน

กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ “กยศ.” เกิดขึ้นเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษาในระดับชั้นต่าง ๆ ที่ไม่มีทุนเรียนได้กู้ยืมเรียน การวางแผนจ่ายหนี้ กยศ. ให้หมดไว นอกจากจะช่วยให้สภาพการเงินของเราแข็งแรงไม่กระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว ยังช่วยให้มีเงินหมุนกลับไปยังกองทุน กยศ. เพื่อให้น้อง ๆ รุ่นหลังได้มีเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อไปอีกด้วย

Link ที่เกี่ยวข้อง

กยศ ให้ใช้หนี้กี่ปี

ต้องชำระให้หมดภายใน 15 ปี เริ่มชำระหนี้หลังจากจบการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว 2 ปี ตัวอย่าง ตารางการผ่อนชำระหนี้

ใช้หนี้ กยศ ยังไงให้หมดเร็ว

เช็กยอดหนี้ - วางแผนจ่ายหนี้ ให้หมดไว.
1. เก็บออมเงินเพื่อจ่ายในช่วงปลอดหนี้ 2 ปี ... .
2. จ่ายหนี้ กยศ. ช่วงปลอดหนี้ ช่วยลดภาระเงินต้น ... .
3. ปิดบัญชี ลดเงินต้นทันที 3%.

กยศ จ่ายครั้งแรกกี่บาท

รู้ยอดต้องชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ยแล้ว ต้องชำระให้ทัน (ภายในวันที่ 5 .. xxxx) ของทุกปี หรือจะผ่อนจ่ายก็ได้ เท่าไหร่ก็ได้ ให้เท่ากับยอดที่ชำระในปีนั้น เช่น 2000 บาท ผ่อนจ่ายเดือนละ 166 บาท ห้ามต่ำกว่ายอดที่ชำระงวดนั้น อาจจะโดนคิดเบี้ยปรับก็ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก