คณะนิติศาสตร์ต้องเรียนกี่ปี

เวลาเราได้ยินว่า คน ๆ นี้เรียนกฎหมาย เรียนคณะ นิติศาสตร์ หรือเรากำลังจะตัดสินใจเรียนกฎหมายหรือสอบเข้าคณะ นิติศาสตร์ คำถามคือ คณะนิติศาสตร์ที่เขาว่ากันว่าเป็นคณะที่จะสอนกฎหมายเรา แล้วในโรงเรียนกฎหมายเนี่ยเขาสอนอะไรบ้าง นักกฎหมายที่จบคณะนี้เราสามารถอนุมานว่าเขาจะเรียนกฎหมายอะไรมากันบ้างนะ บทความนี้ผมจะมาเล่าในฟังในฐานะที่เป็นนิสิตนักศึกษาในคณะนิติศาสตร์คนหนึ่ง

คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) อาจจะมีชื่อเรียกในบางที่หรือในบางประเทศว่าเป็นโรงเรียนกฎหมาย (Law School) สิ่งที่คณะนี้จะสอนก็คือ “กฎหมาย” แต่คำว่า กฎหมาย เป็นคำที่ซับซ้อนในหมู่นิสิตหรือนักศึกษากฎหมาย ถ้าท่านถามนักกฎหมายว่า “กฎหมายคืออะไร?” ท่านก็จะได้รับคำตอบที่หลากหลายพิสดารผิดไปจากความคิดของคนถามอย่างมาก

1. ชีวิตในรั้วคณะ นิติศาสตร์

การเรียนกฎหมายใช้ระยะเวลา 4 ปี ในชั้นปีแรก ๆ นิสิตและนักศึกษาคณะนิติศาสตร์จะได้เรียนเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และวิชากฎหมายพื้นฐานที่จะใช้ต่อยอดไปในปีสูง ๆ โดยที่ที่ผมเรียนมานั้น โครงสร้างวิชาการเรียนในแต่ละปี (ถ้าไม่นับวิชาบังคับบางอย่างที่เรียนกับมหาวิทยาลัย เช่น วิชาทั่วไป Gen-Ed) จะเป็นดังนี้

ในชั้นปีที่ 1 จะได้เรียนวิชาความรู้เบื้องต้นทางกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายมหาชนเบื้องต้น กฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรม-สัญญา กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายลักษณะทรัพย์ และวิชานอกคณะ วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาอื่น ๆ เช่น นิติมูลบท นิติตรรกศาสตร์ ประวัติศาสตร์กฎหมาย (ซึ่งบางมหาวิทยาลัยอาจนำวิชานี้ไปเรียนตอนปีสูง ๆ)

ในชั้นปีที่ 2 เราจะขยับมาเรียนกฎหมายลักษณะหนี้ ละเมิด สัญญาที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น ซื้อขาย เช่า กู้ยืม หลักประกัน จำนำ จำนอง ตัวแทน เรียนกฎหมายอาญาภาคความผิดที่ลึกขึ้น เรียนกฎหมายมหาชนขั้นลึก เช่น รัฐธรรมนูญ เรียนวิชาเกี่ยวกับการศาล (ซึ่งหลักสูตรตอนนี้ได้ข่าวว่าเปลี่ยนไปแล้ว) แล้วก็ยังมีการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ (สามารถเลือกเรียนฝรั่งเศสได้) รวมถึงบางวิชาเลือกอื่น ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ หรือ บัญชี (สำหรับนักกฎหมาย)

ส่วนชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนกฎหมายห้างหุ้นส่วนบริษัท ตราสารเปลี่ยนมือ วิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและคดีบุคคล กฎหมายปกครอง (บางทีวิชาเหล่านี้ก็โดนย้ายไปเรียนปี 2) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน  กฎหมายภาษี และเป็นปีที่สามารถเลือกสายกฎหมายที่จะเรียนต่อเป็นพิเศษได้ ในมหาวิทยาลัยของผมจะแบ่งเป็น 4 สาย คือ กฎหมายแพ่งและอาญา กฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ

และในปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก็จะมีการเรียนวิชา “นิติปรัชญา” และวิชาที่เลือกเรียนตามสายต่าง ๆ ในเชิงลึกขึ้น เช่น สายกฎหมายแพ่งและอาญา ก็จะได้เรียน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายประกันภัย กฎหมายบังคับคดี เป็นวิชาบังคับ สายกฎหมายธุรกิจก็จะเรียนกฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายธนาคาร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายการค้าและธุรกิจระหว่างประเทศ ในขณะที่สายมหาชนจะได้เจาะลึกลงไปยังกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ส่วนสายระหว่างประเทศอาจจะเจาะลึกไปเรียนเรื่องสิทธิมนุษยชน กฎหมายสหภาพยุโรป กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น

หากดูตามโครงสร้างวิชาที่เรียนจะพบว่า เราสามารถแบ่งวิชากฎหมายได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

2. วิชากฎหมายในคณะ นิติศาสตร์

วิชาประเภทนี้จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 หมวดใหญ่ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความ และกฎหมายสำคัญอื่น ๆ ซึ่งอธิบายได้ว่า

A. วิชากฎหมายทั่วไป

(1) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Civil Law and Commercial Law)

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน ในมุมหนึ่งจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายเอกชน (Private Law) กฎหมายในหมวดนี้จึงเกี่ยวกับเรื่องของเอกชน เช่น

กฎหมายลักษณะบุคคลจะเรียนเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพบุคคล เช่น การเกิด บรรลุนิติภาวะ มีความสามารถในการใช้สิทธิ และสิ้นสุดชีวิตตอนไหน (รวมไปถึงนิติบุคคล) และพอคนหลายคนรวมกันวิชาต่อไปก็คือกฎหมายลักษณะครอบครัวและมรดก เรียนเรื่องสถาบันครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาและบุตร มรดกและพินัยกรรม ใครเป็นทายาทรับทรัพย์สินของผู้ตาย

สองสาขากฎหมายสำคัญ คือ กฎหมายทรัพย์กับสัญญา โดยกฎหมายลักษณะทรัพย์จะเรียนเรื่องของทรัพย์ สิทธิในทางทรัพย์ทั้งหลายไม่ว่าจะกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ฯลฯ ปัญหาคาบเกี่ยวในทรัพย์ชิ้นเดียวกัน ส่วนกฎหมายลักษณะหนี้จะเรียนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ กฎหมายนิติกรรม-สัญญาก็จะเรียนเรื่องการทำสัญญาต่าง ๆ ทั้งหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสัญญา จนไปถึงวิชาเกี่ยวกับสัญญาเฉพาะเรื่อง เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาตัวแทน สัญญาฝากทรัพย์ สัญญาจ้างแรงงาน

(2) กฎหมายอาญา (Criminal Law)

กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและโทษที่จะได้รับ ซึ่งโดยปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคทั่วไป เรียนเรื่องลักษณะการกระทำแบบใดที่จะเรียกว่ามีเจตนากระทำความผิดทางอาญา เส้นแบ่งระหว่างเจตนากับประมาท เหตุยกเว้นความผิดและเหตุบรรเทาโทษ ฯลฯ กับ ภาคความผิด ซึ่งจะเรียนความผิดเฉพาะเรื่อง เช่น อย่างไรเป็นการฆ่า อย่างไรเป็นการทำร้ายร่างกาย อย่างไรเป็นการลัก วิ่ง ชิง ปล้น กรรโชกทรัพย์

(3) กฎหมายวิธีพิจารณาความ (Procedural Law)

หมวดนี้เป็นกฎหมายที่เรียกว่ากฎหมายวิธีสบัญญัติ เนื่องจากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายแบบสารบัญญัติ คือ กำหนดว่าเราจะทำอะไรได้บ้างหรือไม่กระทำอะไรได้บ้าง แต่กฎหมายวิธีสบัญญัติจะกำหนดว่าถ้าเราต้องการจะใช้สิทธินั้นจะต้องใช้ในลักษณะอย่างไร

ผมยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายลักษณะหนี้บอกว่าเราผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิอะไรในหนี้กับลูกหนี้บ้าง แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ถ้าต้องการจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หากไม่มีวิธีการอื่นใด โดยปกติก็จะต้องมาฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลบังคับคดีให้

กฎหมายในส่วนของการฟ้องคดีนี่ล่ะครับว่าจะฟ้องคดีอย่างไร ที่ศาลไหน มีวิธีกระบวนการดำเนินคดีในศาลอย่างไร คือ กฎหมายวิธีพิจารณาความ (แพ่ง) ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็จะเป็นลักษณะของกฎหมายที่ว่าด้วยการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เช่น กระบวนการจับกุม ค้น สอบสวน สืบพยาน กระบวนพิจารณาในศาล ฯลฯ

(4) กฎหมายสำคัญอื่น อันได้แก่

กฎหมายมหาชน (Public Law) อันเป็นกฎหมายที่มุ่งไปสู่การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรัฐและการจำกัดอำนาจรัฐ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน กฎหมายในกลุ่มนี้จึงเน้นไปที่การเรียนทฤษฎีกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ฯลฯ

ส่วนกฎหมายสำคัญต่อมา คือ กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) กฎหมายพื้นฐานในสาขานี้จะแบ่งเป็นแผนกคดีเมืองกับแผนกคดีบุคคล (International Public Law and International Private Law) เรียนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐและรัฐกับเอกชนในมุมกฎหมายระหว่างประเทศ  รวมไปถึงกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับทะเล ฯลฯ

B. วิชาเลือกเรียนต่อยอดหรือขั้นสูง

นอกจากกฎหมายที่เป็นวิชาพื้นฐานแล้ว ยังมีวิชาสำคัญอื่น ๆ ที่นักศึกษากฎหมายบางคนเท่านั้นที่อาจจะเรียน ไม่ได้เรียนเหมือนกันทั้งคณะ เพราะยังมีกฎหมายอื่นอันประกอบไปด้วยกฎหมายที่อยู่ในสายของการเรียนแยกเป็นสาขา หรือในบางมหาวิทยาลัยเป็นวิชาเลือกที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้โดยอิสระ เช่น

ในกลุ่มกฎหมายธุรกิจ นักศึกษากฎหมายสาขานี้อาจจะเน้นไปที่การเรียนเกี่ยวกับกฎหมายทางพาณิชย์และธุรกิจต่าง ๆ เช่น กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายธนาคารและหลักทรัพย์ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

หากแต่ในกลุ่มของกฎหมายมหาชน อาจจะเรียน กฎหมายเกี่ยวกับศาลปกครอง กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญชั้นสูง ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีวิชากฎหมายอื่นที่อาจเป็นวิชาเลือกและมีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น กฎหมายล้มละลาย กฎหมายที่ดิน กฎหมายวิธีพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายสหภาพยุโรป กฎหมายประกันภัย ฯลฯ

C. ข้อสังเกต

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนน่าจะพอเห็นภาพได้ว่า ในส่วนของกฎหมายพื้นฐานทั้งหลาย เช่น กฎหมายแพ่งทั่วไป เช่น กฎหมายครอบครัว มรดก หรือกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา นักศึกษาในโรงเรียนกฎหมายไทยน่าจะได้เรียนกันครบทุกคน แต่ในส่วนของกฎหมายพิเศษ ถ้าท่านถามพวกเขา พวกเขาอาจจะไม่สามารถตอบได้ในทันที เพราะไม่ได้เรียนกันมา เช่น ถ้าเราไปถามกฎหมายเฉพาะด้านของกฎหมายระหว่างประเทศ นักศึกษากฎหมายหลาย ๆ คนอาจจะไม่สามารถให้คำตอบได้ หรือกฎหมายบางอย่างที่จากประสบการณ์ส่วนตัว ทุกคนจะคิดว่านักกฎหมายต้องรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร นักกฎหมายหลายท่านไม่ได้เรียนมาแน่ ๆ ทุกคนอาจจะไม่สามารถตอบท่านได้ในทันที

นอกจากนี้ กฎหมายแม้จะเป็นกฎหมายพื้นฐาน แต่ด้วยความที่ผ่านการเรียนมานานแล้ว ก็ต้องมีการลืมไปบ้าง อาจจะต้องใช้เวลาในการรื้อฟื้น และเมื่อวิชากฎหมายหลากหลายเช่นนี้ ความถนัดแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันครับ บางคนอาจจะไม่ถนัดกฎหมายวิธีพิจารณาความเลย หรือบางคนอาจจะถนัดกฎหมายอาญา แต่ไม่ชอบกฎหมายมหาชน ก็ย่อมเป็นไปได้ทั้งสิ้น อย่างเพื่อนในคณะของผมหลายคนมีความชอบที่หลากหลายและความถนัดที่แตกต่างกันออกไป

3. การเรียนการสอนในคณะ นิติศาสตร์

ด้านการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยปกติจะเป็นการบรรยาย (Lecture) นักศึกษาจะนั่งฟังอาจารย์บรรยายกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ อาจารย์ที่มาบรรยายอาจเป็นอาจารย์ประจำในคณะเอง หรืออาจารย์จากภายนอก ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพในวงการกฎหมาย เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายในสำนักงานต่าง ๆ (Law firm & In-house)

ข้อสอบวิชากฎหมายมักจะเป็นข้อสอบอัตนัย ซึ่งโดนปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อสอบแบบทฤษฎี กับข้อสอบแบบอุทาหรณ์ เพื่อให้เห็นภาพจะยกตัวอย่างให้ดูครับ

สมมติว่า ข้อสอบวิชากฎหมายอาญาต้องการจะถามเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาท ถ้าเป็นข้อสอบทฤษฎีก็จะอาจจะถามว่า “การกระทำโดยประมาทในทางอาญามีหลักเกณฑ์อย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ” นักศึกษาก็จะต้องตอบโดยบรรยายให้ครบตามที่ถูกถาม

หากแต่ถ้าเป็นข้อสอบอุทาหรณ์ วิธีการถามจะสมมติเรื่องเป็นอุทาหรณ์ขึ้นมา (บางครั้งเรียกข้อสอบตุ๊กตา) เช่น นาย A ขับรถยนต์มาด้วยความเร็วปกติ ทันใดนั้น นาย B วิ่งพุ่งออกมาจากถนนตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด นาย A เบรกไม่ทันจึงชนนาย B คำถามคือ นาย A ผู้ขับรถจะต้องรับผิดในทางอาญาหรือไม่ คำถามประเภทนี้ นักศึกษาจะต้องวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำโดยเจตนาและประมาท พร้อมทั้งวินิจฉัยว่า การกระทำของนาย A นั้นจะทำให้นาย A ต้องรับผิดโดยประมาทหรือไม่

นอกจากนี้ ข้อสอบกฎหมายบางที่สอบเฉพาะปลายภาค (Final) 100 คะแนนเต็ม เช่น ออกข้อสอบ 5 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน หรือบางที่ (เช่นที่ที่ผมเรียนจบมา) จะแบ่งเป็นข้อสอบกลางภาคกับปลายภาคในหลายวิชา อาจจะแบ่งเป็น 40 กับ 60 คะแนน หรือบางวิชาก็เป็น 100 คะแนนปลายภาคเหมือนที่อื่น

และบางวิชาก็อาจจะสอบแบบ close-book exam คือไม่สามารถเอาอะไรเข้าห้องสอบได้ มีแต่ความรู้ในหัวเพียว ๆ เท่านั้น หรือขั้นต่อมาคือ มีประมวลกฎหมายแจกให้ห้องสอบ จนกระทั่งเป็นการสอบแบบ open-book คือ จะเอาอะไรเข้าห้องสอบก็ได้ ซึ่งมีตั้งแต่ที่อาจารย์ระบุให้เอาเข้าได้ ไปจนถึงบางวิชาให้เอาเข้าได้ทุกอย่าง ข้อสอบแบบนี้จะวัดการวิเคราะห์ วิพากษ์ จึงเป็นข้อสอบที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นกว่าปกติ

การเรียนกฎหมายถามว่าจะต้องความจำดีไหม? มาถึงตอนนี้ผมตอบได้เลยว่า การเรียนกฎหมายจะต้อง “เข้าใจกฎหมาย” เข้าใจในหลักกฎหมาย หลักเกณฑ์ ทฤษฎี องค์ประกอบ ไม่ใช่การจำมาแต่ตัวบท ถ้อยคำในมาตรา โอเคว่าเราจำมาตราและตัวบทได้ เราก็น่าจะจำหลักกฎหมายได้ แต่โดยปกติถ้าเราพยายามทำความเข้าใจกับหลักกฎหมายจนแจ่มแจ้ง และอ่านหลายรอบ มันก็จะทำให้เราจำมาตราไปโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ในการตอบข้อสอบไม่จำเป็นต้องระบุมาตราเป๊ะ เช่น ต้องเขียนว่าผิดตามมาตรา xxx ถ้าสามารถอธิบายหลักกฎหมายถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องระบุมาตราก็ได้ครับ

4. บทสรุปคณะ นิติศาสตร์

การเรียนกฎหมายในรั้วคณะนิติศาสตร์ 4 ปี เป็นเวลาที่ไม่นาน แม้นักศึกษาจะมีความรู้พื้นฐานในการทำความเข้าใจกฎหมาย และโรงเรียนกฎหมายจะสอนวิธีคิดทางกฎหมาย นิติวิธี ให้กับนักกฎหมาย แต่นักกฎหมายที่จะต้องการทำความเข้าใจในกฎหมายให้เชี่ยวชาญถ่องแท้ ก็จะต้องมีความขยันระดับหนึ่งครับ กฎหมายเป็นวิชาที่ยากมาก (เป็นคำกล่าวของปรมาจารย์คนสำคัญของวงการกฎหมาย อ.หยุด แสงอุทัย) แต่ก็ไม่ได้เกินความสามารถของคนที่พยายามอย่างตั้งใจ

นิติศาสตร์ ปี3 เรียนอะไรบ้าง

ปี 3 เรียนในด้านกฎหมายเข้มข้นขึ้น เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

เรียนนิติศาสตร์ ม.ราม กี่ปี

ระยะเวลาการศึกษาเพื่อรับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต กําหนดให้ศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา ( ตามแผนการ ศึกษาที่จัดไว้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตร 4 ปี) 5. หลักสูตร จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร การศึกษาเพื่อรับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต นักศึกษาจะต้องสอบให้ได้จํานวน หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

เรียนกฎหมายต้องเรียนคณะอะไร

คณะนิติศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับตัวกฎหมายที่มีทั้งหมด โดยจะเริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจตัวกฎหมาย ข้อบังคับใช้ต่าง ๆ อธิบายคำว่ากฎหมายแบบเข้าใจง่าย คือ กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่จะช่วยให้ทุกคนมีความประพฤติที่ยอมรับได้ สามารถอยู่รวมกันในสังคมโดยไม่มีข้อขัดแย้ง ใครที่ทำผิดกฎหมาย ก็จะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้นั่นเอง

นิติศาสตร์ ปี2 เรียนอะไรบ้าง

ปี 2 ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษวิชากฎหมายเข้ามาแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของน้อง ๆคณะนิติศาสตร์ และยังมีวิชาพื้นฐานของ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก