แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1 มีกี่ระยะ

                  ����Ѳ�ҷ��Թ ��Ѳ�ҿ�鹿����͹��ѡ���Ѿ�ҡôԹ ��������繰ҹ��ü�Ե�ת����ʹ��� ��蹤� �������׹ ����ռš�ô��Թ�ҹ����Ӥѭ ���� ��èѴ�Ӣ����ŷ�Ѿ�ҡ÷��Թ ��ҹ��èѴ��ࢵ�������Թ��л����Թ�ż�Ե�ת���ɰ�Ԩ��Ѵ��ࢵ�������Թ 24 ��Դ�ת �Ѵ��Ἱ�Ѳ�ҷ�Ѿ�ҡ÷��Թ�дѺ�Ӻ� 7,125 �Ӻ� �ç��èѴ��Ἱ����Ҿ������������ԧ�Ţ �ҵ����ǹ 1:4,000 ����ҵ����ǹ 1:25,000 ������ç��èѴ��Ἱ������͡�ú����÷�Ѿ�ҡø����ҵ���з�Ѿ���Թ�ͧ��з�ǧ�ɵ�����ˡó� ��ҹ෤��������ʹ����С��������� ��ҹ���͹��ѡ��Թ��й�� �ҹ�Ѳ�� ���觹�� ��ṡ�� 4 ������ ������� �ҹ�Ѳ�����觹�Ӣ�Ҵ��� ��Ѻ��ا��鹷����ШѴ���к��觹������� ��Ѻ��ا���觹�Ӹ����ҵ����������觼�Ե����� �ҹ�Ѳ�� ���觹������� ��Ҵ 1,260 ź.�. ���óç�����������û�١˭��ὡ���͡��͹��ѡ��Թ��й�� ��ҹ��û�Ѻ��ا�س�Ҿ�Թ ��鹷��Թ������Թ�����ѵ�ص�� ��鹷��Թ������/�Թ�ô ��鹷��Թ��� ��鹷��Թ������-�Թ����Ҥ�� ��þѲ�Ҿ�鹷�����ɵ��ѹ���ͧ�Ҩҡ����Ҫ���� �Ѳ����ʹԹ���һ�ШӵӺ�/�����ҹ

สาระสำคัญ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 ได้กำหนดแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปของระบบคมนาคมและขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ เป็นอันมากการที่รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปในรูปโครงการดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชน และเพิ่มผลผลิตทางสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างได้ผลดี เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ผลการพัฒนา
ผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 1 ได้มีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศรุดหน้าไปอย่างเห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่าเข้าสู่ยุคการพัฒนาเป็นครั้งแรกอย่างแท้จริงการขยายตัวของมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 8 ต่อปี คือเพิ่มจากฐานเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการผลิตเพียง 59,000 ล้านบาทในปี 2503 เป็นประมาณ 89,000 ล้านบาท ในปี 2509 ทางด้านโครงการขั้นพื้นฐานได้มีการเริ่มงานชลประทานซึ่งเป็นโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ โครงการแม่กลอง และโครงการแม่น้ำน่าน เริ่มก่อสร้างบูรณะทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดตามโครงการ 8 ปี และ 6 ปี เริ่มส่งพลังงานไฟฟ้าจากโครงการยันฮี และโครงการไฟฟ้าลิกไนท์ที่กระบี่ ตลอดจนการดำเนินการตามโครงการอื่น ๆ ที่มีความสำคัญอีกหลายสิบโครงการ
ในด้านการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าสินค้าออก และสินค้าเข้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะยังมีการขาดดุลการค้า แต่ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศมีฐานะเกินดุลทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีปริมาณสูงขึ้นเป็น 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2509 และค่าเงินบาทมีเสถียรภาพดีเป็นที่เชื่อถือทั่วไป ความมั่นคงทางการคลังของประเทศเป็นปัจจัย สำคัญประการหนึ่งที่ได้ยังผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จตลอดมาด้วยดี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี--

          รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเร่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพ โดยการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศจะต้องมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่ชัดเจน โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการปฏิรูปประเทศที่มุ่งสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต เน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็น คนดี คนเก่ง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย 2023 ในงาน WEALTH FORUM ลงทุนอย่างไรให้รวย # ปี3 จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ “ฐานเศรษฐกิจ” และ “เนชั่นทีวี” ว่า การลงทุนมีความเสี่ยงไม่ว่าจะยังไงก็ยังเสี่ยง แต่การลงทุนก็เป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะลงทุนไม่งั้นอาจเสียโอกาส

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 4.5% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 แม้ไตรมาส 2 จะไม่ดีมากเพราะเผชิญปัญหา supply chain ของภาคอุตสาหกรรมหดตัว บวกกับราคาน้ำมัน และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยโตมาจากหลายตัว อาทิ อุปโภค-บริโภคภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน ภาคการผลิต และการท่องเที่ยว เป็นต้น

“กิจกรรมทางเศรษฐกิจประเทศตอนนี้เข้าสู่ภาวะปกติและคงฟื้นตัวขึ้นมาได้เรื่อย ๆ และรายจ่ายภาครัฐด้านสาธารสุขจะหายไปเนื่องจากประเทศไทยได้ประกาศเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งหลายประเทศก็ได้เปิดการท่องเที่ยวจะเห็นว่าสายการบินไปญี่ปุ่นหาเที่ยวบินยากมากในช่วงนี้ จึงอยากให้ประชาชนเที่ยวในประเทศก่อน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ”

นายดนุชา กล่าวว่า ปัญหาเงินเฟ้อยังเป็นปัญหาที่ต้องติดตามและเป็นตัวที่ทำให้เกิดปัญหาในแง่ของเศรษฐกิจโลก เพราะขณะนี้อัตราการเจริญเติบโตของอเมริกาเศรษฐกิจหลักยังคงลดลง และมีแนวโน้มจะไม่โตอย่างที่คาดไว้ ส่วนประเทศเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเวียดนามหรือมาเลเซียโต 2 ดิจิต ส่วนเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในลำดับจะ Top 20-30 ของโลก แต่การที่เราจะขยายตัวขนาด 2 ดิจิต หรือ 7-8% ในช่วงถัดไป จะต้องอาศัยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจค่อนข้างมาก

“อัตราเงินเฟ้อหลายประเทศยังคงไม่ได้ แต่อเมริกาน่าจะเริ่มปรับตัวลงมาได้เล็กน้อย เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงปีหน้าเราต้องเผชิญกับเงินเฟ้อ ความขัดแย้ง ที่มีผลต่อราคาพลังงาน ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวได้ช้า เพราะจากนโยบาย Zero covid และปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ยังแก้ปัญหาไม่ตก การฟื้นตัวจึงยาก ดังนั้น ในสมมติฐานที่ใช้ในการประมาณการสำหรับแนวโน้มปี 2566 จะโต 2.6% ปริมาณการค้าโลกยังคงชะลอตัวจากเดิมที่ปีนี้คาดว่า 4% ปีหน้าจะอยู่ที่ 2% ราคาน้ำมันยังคงอยู่ระดับสูง อาจมีบางช่วงขึ้นถึงระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถ้าไม่มีการยิงกันอาจอยู่ที่ 80-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล”

สำหรับรายรับจากการท่องเที่ยวปีนี้จะอยู่ที่ 5.7 แสนล้านบาท ยอดนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน ปี 2566 จะอยู่ที่ 22 ล้านคนรายได้อยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท และหากจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการในการให้การเดินทางระหว่างประเทศนักท่องเที่ยวจีนจะเข้ามาในประเทศไทยครึ่งหลังของปี 2566 ดังนั้นเศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่า GDP จะโต 3.2% ส่วนปีหน้าคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตที่ 3.5 ประมาณ 3-4% ส่วนเรื่องของเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบเป้าหมายได้ในปีหน้า ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดหากส่งออกได้และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจะทำให้ดุลบัญชีเงินสะพัดกลับมาเป็นบวกได้

ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนหลักในปี 2566 คือภาคการท่องเที่ยว การลงทุนของภาคเอกชน ขณะเดียวกันแนวโน้มนักลงทุนต่างประเทศเริ่มสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะจากปัญหาตัวความขัดแย้งระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ทำให้ภาคธุรกิจมองหาการบริหารความเสี่ยงในการผลิตของตัวเองจึงมองประเทศที่เป็นกลาง ๆ อย่างประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยได้เตรียมในเรื่องของการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศไปบ้างแล้ว

นอกจากนี้ อีกส่วนสนับสนุนคือการบริโภคภายในประเทศจะช่วยพยุงเศรษฐกิจประเทศไปได้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น การว่างงานลดลง ส่วนภาคการเกษตรปีหน้าจะขยายตัวได้ดีเพราะปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นในปีนี้เพียงพอที่จะสนับสนุนภาคการเกษตร แม้ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมียังต้องนำเข้า และมีราคาสูง รัฐบาลจะต้องดึงในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในชุมชน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต 

“ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหลัก ๆ คือความขัดแย้งและมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจยังเกิดขึ้นในปีหน้า ดังนั้น ปัญหา supply chain ยังคงอยู่ ภาคธุรกิจจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวังมากขึ้น เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ จึงต้องเตรียมพร้อมบริหารความเสี่ยงการให้ข้อมูลประชาชนสำคัญ ส่วนปัญหาโควิด-19 ก็ยังทิ้งไม่ได้ เพราะเป็นเชื้อไวรัส”

ทั้งนี้ การบริหารเศรษฐกิจต่อไปนี้ จะต้องรักษาการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ขณะเดียวกันจะต้องรีบปรับอีโคซิสเต็มที่เกี่ยวข้อง อาทิ อำนวยความสะดวกการลงทุน เพื่อให้นักลงทุนเข้ามาในเมืองไทย จะเห็นได้จากการที่ AWS เข้ามาลงทุน ประเทศไทยต้องคุยและปรับกฎระเบียบต่าง ๆ พอสมควร ซึ่งในระยะถัดไปสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะเปิดประตูรอให้ต่างชาติเข้ามาอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องมีทีมที่เข้าไปคุยเพราะในช่วงนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ

อย่างไรก็ตาม ในวิกฤติยังมีโอกาส ความขัดแย้งของต่างประเทศส่งผลให้ภาคธุรกิจที่เป็น Global Company ต้องหาเซฟโซนในการตั้งฐานการผลิต ดังนั้นประเทศไทยเป็นอีกที่สำคัญ จึงต้องพยายามดึงมา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญที่เป็นอนาคตของประเทศ เช่น ชิปต้นน้ำ ที่จะต้องใช้ในเรื่องของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถ EV ดังนั้น ต่อจากนี้จนปี 2566 ต้องเร่งปรับโครงสร้าง กระจายการลงทุนออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ได้อนุมัติเพิ่มเติมทำให้เกิดการกระจายการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เป็นภูมิภาคของประเทศ

“อย่าลืมว่าการลงทุนคือความเสี่ยง จะต้องดูให้ดีและปีหน้า ปัจจัยเสี่ยงอาจจะมีเพิ่มเติมก็ได้ ถือเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ ดังนั้น หน่วยงานเศรษฐกิจทั้งหมดกำลังช่วยกันมอนิเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลตลอด เพื่อจะทำให้เศรษฐกิจไทยเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและทุกคนจะไม่เจอวิกฤติ”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก