ข้าราชการหักภาษี ณ ที่จ่าย กี่%

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยเงินรายได้ของเราจะถูกหักทันทีจากผู้จ่ายเพื่อนำส่งให้สรรพากร

วอย่างเช่น ยุ้ย พนักงานออฟฟิศ มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และโบนัสปีละ 1 เดือน จากข้อมูลนี้ ช่วยให้ฝ่ายบัญชีของบริษัทสามารถประมาณรายได้ทั้งปีของยุ้ยได้เป็น 30,000 x 13 = 390,000 บาท ยุ้ยเคยให้ข้อมูลกับทางบริษัทว่า เธอทำประกันชีวิตไว้ปีละ 20,000 บาท ซึ่งบริษัทจะเก็บข้อมูลนี้เพื่อคำนวณเป็นค่าลดหย่อน และคำนวณเป็นภาษีเงินได้ที่ยุ้ยจะต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ก่อนที่จะหารด้วย 12 เพื่อเฉลี่ยเป็น “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หรือก็คือเงินที่จะถูกหักออกจากเงินเดือนของยุ้ยในทุก ๆ เดือนนั่นเอง เมื่อถึงปลายปี บริษัทจะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อสรุปเงินได้ของยุ้ย และยอดภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปตลอดทั้งปี ซึ่งหากยุ้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายได้ หรือค่าลดหย่อนตามที่แจ้งไว้กับบริษัทแล้ว ยุ้ยก็ไม่ควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอีก แต่หากยุ้ยมีรายได้เสริม เช่น รับจ้างเขียนบทความ ยุ้ยก็มีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่ม สำหรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ต้องแสดงก็คือเอกสารที่ได้รับจากบริษัทที่ว่าจ้างยุ้ยเขียนบทความนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อนำมาคำนวณหารายได้รวมจากทั้งสองงาน ภาษีที่ควรจะต้องชำระ และนำมาเปรียบเทียบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งปี เพื่อพิจารณาว่า จะได้รับภาษีคืน หรือต้องชำระเพิ่ม

ในกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เงินได้ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายเช่นกัน ตัวอย่างการหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบนี้ก็คือ แอน โปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ รับค่าจ้างเป็นโปรเจกต์ ปีที่ผ่านมา แอนรับงานทั้งสิ้นสี่โปรเจกต์ แอนตกลงราคาค่าจ้างสำหรับโปรเจกต์แรกเป็นเงิน 20,000 บาท โดยผู้ว่าจ้าง ทำการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือคิดเป็นเงิน 600 บาทเพื่อส่งให้กับสรรพากร และโอนเงินเข้าบัญชีให้แอน จำนวน 19,400 บาท ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับอีกสามโปรเจกต์ที่เหลือก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น เมื่อถึงเวลายื่นภาษี แอนต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งก็คือเอกสารที่ได้รับจากนายจ้างของทั้งสี่โปรเจกต์ มาคำนวณเพื่อหาจำนวนภาษีที่ควรจะเสียจริงทั้งปี ซึ่งแอนมีโอกาสที่ต้องชำระภาษีเพิ่มหากผลจากการคำนวณมียอดสูงกว่าภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปแล้วตลอดทั้งปี และในทางกลับกัน แอนก็มีโอกาสที่จะได้รับเครดิตเงินภาษีคืน หากแอนได้เสียภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งปีแล้วสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้

นับได้ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือเทคนิคหนึ่งในการลดภาระการเสียภาษีก้อนใหญ่ครั้งเดียวในแต่ละปี ด้วยการทยอยนำส่งให้สรรพากรทันทีที่ได้รับรายได้ เช่น ในกรณีของยุ้ยที่จ่ายภาษีทุกเดือน หรือแอนที่จ่ายภาษีเมื่อได้รับค่าจ้างในแต่ละโปรเจกต์

 

สรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ทยอยจ่ายไว้แล้วในระหว่างปีเป็นจำนวนเท่าไหร่นั่นเองครับ

สำหรับบทความด้านภาษีอื่น ๆ สามารถเลือกอ่านได้ที่นี่นะครับ

หลังจากที่มีมาตรการคลายล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มมีรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการทั้งหลายก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งก็มาจากพนักงานที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขฝ่าฝันวิกฤตินี้มาด้วยกันจนก้าวเข้าสู่ปี 2565

และผลพลอยได้จากการร่วมมือร่วมใจกันของผู้ประกอบการและพนักงาน เชื่อว่าหลายบริษัทก็ได้มีการปรับฐานเงินเดือนให้กับพนักงานประจำกันอย่างทั่วถึง แต่พนักงานประจำที่ได้รับการปรับเงินเดือนเหล่านี้ อาจจะยังไม่ทราบว่าเมื่อเงินเดือนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

ดังนั้น ปี 2565 นี้ ใครที่ได้ปรับเงินเดือนรีบเช็กด่วน ว่าจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และหากถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะถูกหักเท่าไร พร้อมวิธีการคำนวณภาษี หากพร้อมแล้วไปหาคำตอบกัน

  • มนุษย์เงินเดือนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อไหร่

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือภาษาทางการคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้รับจะถูกหักเงินไว้ส่วนหนึ่งทันที ณ ตอนที่มีการจ่ายเงิน โดยผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นบริษัท หรืออยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินเดือน จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7-15 ของทุกเดือนด้วยแบบ ภ.ง.ด.1  

เงินเดือน” ที่นายจ้างมีการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างให้กับพนักงานถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หากเงินเดือนของพนักงานถึงเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทผู้เป็นนายจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกเดือน ก่อนมอบเงินเดือนให้แก่พนักงาน

ทั้งนี้ หากใครมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว ถ้ามีฐานเงินเดือนดังต่อไปนี้ จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเสียภาษีประจำปี ดังนี้

- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี

- เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

- เงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี

- หากไม่ได้จ่ายประกันสังคม และเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

- หากไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี 

โดยปกตินายจ้างจะต้องนำรายได้ทั้งหมดของพนักงานตลอดทั้งปีมาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย วิธีการเหมือนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย

แต่เมื่อคำนวณแล้วหากต้องเสียภาษีเพิ่ม บริษัทที่เป็นนายจ้างจะนำยอดเงินที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว มาหารด้วย 12 ก็จะได้เป็นยอดเงินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือนนั่นเอง

  • วิธีคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายมนุษย์เงินเดือน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว บริษัทที่เป็นนายจ้างจะต้องนำรายได้และสิทธิประโยชน์ทางภาษีของพนักงานทั้งปีมาประมาณการ โดยจะใช้วิธีเหมือนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราภาษีขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35%

จากนั้นจึงนำค่าภาษีที่ต้องเสียทั้งหมดที่คำนวณได้มาหารด้วย 12 เพื่อเฉลี่ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายปีให้เป็นรายเดือน แล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของแต่ละเดือนที่ทางบริษัทจะต้องหักจากพนักงานและนำส่งกรมสรรพากร

หลักการ คือ​

Step 1
(เงินเดือนทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)
x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

​Step 2
ภาษีที่ต้องจ่าย ÷ 12 
= ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ละเดือน

ตัวอย่างที่ 1​ :

Step 1 (410,000 – 100,000 – 60,000 (ลดหย่อนส่วนตัว) –9,000 (ลดหย่อนประกันสังคม)) = 241,000 x อัตราภาษีก้าวหน้า =  4,550 บาท (ภาษีที่ต้องจ่าย)

​​Step 2​

4,550 ÷ 12 = 379.16 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ละเดือน)

ตัวอย่างที่ 2 ​:

310,000 (เงินเดือนทั้งปี) – 100,000 (ค่าใช้จ่าย) – 60,000 (ลดหย่อนส่วนตัว) – 9,000 (ลดหย่อนประกันสังคม) = 141,000 บาท (เงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี) 

  • เงือนเดือนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกเดือน แต่ไม่มีหนังสือรับรองให้ ?

ตามหลักการแล้ว เมื่อบริษัทนิติบุคคลมีการซื้อขาย หรือมีการจ่ายเงินให้ผู้รับ ผู้จ่ายเงินจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ส่วนหนึ่งตามอัตราภาษีแต่ละประเภท และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้ผู้รับไปพร้อมกับเงินทันที

แต่สำหรับกรณีเงินเดือนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละเดือน จะไม่มีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ทุกเดือน ซึ่งพนักงานสามารถดูรายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้จากในสลิปเงินเดือนแต่ละเดือน

และจะได้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่แสดงรายละเอียดตั้งแต่เงินเดือนตลอดทั้งปี ยอดหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด ยอดเงินสมทบประกันสังคม แบบครบทุกถ้วน ให้กับพนักงานในช่วงสิ้นปี เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆ และให้พนักงานนำไปยื่นภาษีประจำปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.91 

แต่ถ้าหากพนักงานมีค่าลดหย่อนอื่นๆ มาช่วยเพิ่มเติมจนไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว สามารถขอเงินคืนได้

สรุป

ดังนั้น หากตอนนี้หลายคนเมื่อได้ปรับฐานเงินเดือน แล้วถึงเกณฑ์ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อเข้าสู่ช่วงยื่นภาษีประจำปี แนะนำว่าให้นำค่าลดหย่อนต่างๆ ในปีภาษีเดียวกัน มาช่วยลดหย่อนให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ถูกเก็บภาษีเพิ่ม และไม่แน่หากคำนวณแล้วเงินได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็มีโอกาสขอเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปคืนได้อีกด้วย

-----------------------------------
Source : Inflow Accounting
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก