เล่นดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองอย่างไร

  • การเล่นดนตรีเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
  • คนเล่นดนตรีสามารถฟังและประมวลผลได้ดี จดจำถ้อยคำได้เยอะ
  • ดนตรีปลูกฝังความอดทน วินัย และทักษะการบริหารเวลา
  • การเล่นดนตรีทำให้เรามีสมาธิที่ดี จดจ่อ และควบคุมตัวเองได้เก่ง
  • การเล่นดนตรีบ่มเพาะความมั่นใจ
  • ดนตรีสร้างทักษะทางสังคม ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
  • การเล่นดนตรีช่วยให้ไม่เครียด ผ่อนคลายจิตใจ

การเล่นดนตรีเป็นความสามารถพิเศษที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทใดก็ตาม โดยนอกจากความเพลิดเพลินที่ได้จากเสียงเพลง การเล่นดนตรียังหล่อหลอมตัวตนและมอบทักษะมากมายให้กับผู้เล่น ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถเอาไปปรับใช้กับเรื่องอื่นนอกเหนือจากดนตรีได้แม้แต่เรื่องงาน

วันนี้ JobThai จะมาแชร์ว่าการเล่นดนตรีช่วยสร้างเสริมทักษะอะไรบ้าง และสามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องงานได้ยังไง

การเล่นดนตรีเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์

การฝึกฝนดนตรีเป็นเวลานาน ๆ ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อย่างยอดเยี่ยม ตั้งแต่เริ่มต้นเขียนโน้ตดนตรี แต่งเนื้อเพลง หรือแม้กระทั่งว่าเพลงถูกเขียนจนเสร็จเรียบร้อยมีคอร์ดและโน้ตที่ชัดเจนแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกครั้งเล่นเพลงนั้นเราจะต้องถ่ายทอดออกมาตามเดิมเป๊ะ ๆ เพราะคนแต่งเพลงอาจไม่สามารถระบุรายละเอียดทั้งหมดของเพลงออกมาได้ในกระดาษบรรทัด 5 เส้น เวลาที่เราเล่นดนตรีก็สามารถใช้สิ่งที่คนแต่งเพลงกำหนดเอาไว้มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ในการตีความอารมณ์เพลงและออกแบบลีลาการเล่นได้ตามสไตล์ของตัวเอง บางคนก็ชอบการด้นสดให้เพลงออกมามีความแปลกใหม่และเฉพาะตัว  ซึ่งนั่นก่อให้เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์อย่างมากในโลกการทำงานปัจจุบันที่ใคร ๆ ก็มองหาไอเดียที่นอกกรอบ ไม่ซ้ำใคร

คนเล่นดนตรีสามารถฟังและประมวลผลได้ดี จดจำถ้อยคำได้เยอะ

จากผลการสแกนสมองของคนเล่นดนตรีผ่านเครื่อง MRI พบว่าส่วนหนึ่งของสมองอย่าง Planum Temporale ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญในการจัดการกับภาษาและดนตรีนั้นมีขนาดใหญ่กว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี โดย Planum Temporale มีความเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจคำศัพท์ที่พูดหรืออ่านและการประมวลเสียงซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในโลกการทำงานที่จำเป็นต้องอาศัยการฟังประโยคที่มีความซับซ้อนและจับใจความเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ

การศึกษาของนักจิตวิทยามหาวิทยาลัย China University of Hong Kong ยังเปิดเผยอีกว่าคนที่ฝึกฝนดนตรีไม่ว่าจะฝึกในเพลงประเภทไหนก็ตามจะมีทักษะในการจดจำถ้อยคำที่ได้ยินที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่นดนตรี ยิ่งถ้าเป็นคนที่ฝึกดนตรีมาเป็นเวลานานก็ยิ่งจดจำถ้อยคำต่าง ๆ ได้เยอะ

ดนตรีปลูกฝังความอดทน วินัย และทักษะการบริหารเวลา

ดนตรีไม่ใช่สิ่งที่สามารถฝึกได้ในชั่วข้ามคืนแต่เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยการหมั่นซ้อมซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ทั้งจิตใจและกล้ามเนื้อร่างกายคุ้นชินกับเสียงและเครื่องดนตรีนั้น ๆ การฝึกเล่นดนตรีจึงเป็นการปลูกฝังให้ผู้เล่นมีความอดทน มุ่งมั่น และทุ่มเทอย่างหนักเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดี

นอกจากนี้ผู้เล่นจะต้องเป็นคนที่มีวินัยในการฝึกซ้อมให้มีความต่อเนื่องเพื่อขยายขีดจำกัดของตัวเอง อีกทั้งยังต้องรู้จักใช้ทักษะการบริหารเวลาเข้ามาช่วยจัดการหาเวลาซ้อม เพราะบางครั้งชีวิตที่ต้องทำงานและเดินทางไปกลับออฟฟิศมันก็ยุ่งมากพอแล้ว ในเมื่อเรามีวินัยมาช่วยผลักตัวเองให้ลุกขึ้นไปซ้อมได้อย่างสม่ำเสมอแล้วเราก็ต้องเอาตารางชีวิตประจำวันมานั่งกางดูแล้วล่ะว่าพอจะมีเวลาให้การซ้อมดนตรีได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละสัปดาห์ เมื่อเราถูกหล่อหลอมให้มีคุณสมบัติเหล่านี้แล้วเราก็จะมีทักษะการบริหารเวลา วินัย และแรงความทุ่มเทแบบเดียวกันกับในตอนฝึกดนตรีที่สามารถเอาไปปรับใช้กับเรื่องงานให้ออกมาดีได้

การเล่นดนตรีทำให้เรามีสมาธิที่ดี จดจ่อ และควบคุมตัวเองได้เก่ง

ในระหว่างการฝึกดนตรีผู้เล่นจำเป็นต้องจดจ่อกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าท่อนนี้มีโน้ตอะไรบ้าง คอร์ดอะไร ซึ่งการฝึกให้ตัวเองโฟกัสอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ จะช่วยให้เราเป็นคนที่มีสมาธิที่ดี เมื่อเราทำงานแล้วต้องเจอกับชิ้นงานที่ต้องใช้สมาธิสูง เราก็จะสามารถจดจ่อกับงานชิ้นนั้น ๆ ได้ดีพอจนทำให้งานออกมาเนี๊ยบมากยิ่งขึ้น

ถ้าเราฝึกซ้อมดนตรีแบบเป็นวง เรายิ่งต้องเปิดหูและคอยฟังเสียงของเครื่องดนตรีตัวเองกับเครื่องดนตรีของเพื่อนร่วมวงทุกคนและรู้จักประคับประคองตัวเองให้ยังคงเล่นอย่างลื่นไหล ไม่คร่อมจังหวะ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเสียงเครื่องดนตรีเครื่องอื่น ๆ นับว่าเป็นการใช้ทักษะด้านการสังเกตและสติที่ดีเพื่อช่วยให้เพลงออกมาไพเราะ

การเล่นดนตรีบ่มเพาะความมั่นใจ

เมื่อฝึกดนตรีไปเยอะ ๆ และคนรอบข้างเริ่มรู้ว่าเราสามารถเล่นดนตรีได้ เราก็อาจจะมีโอกาสได้โชว์ความสามารถให้คนจำนวนมาก ๆ ได้ดูในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยงรวมญาติ งานวันเกิดแฟน หรือจะเป็นงานประกวดดนตรีที่เราลงแข่ง ยิ่งถ้าเราได้แสดงต่อหน้าคนเยอะ ๆ บ่อยครั้งมากเท่าไหร่เราก็จะมีความมั่นใจสะสมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จากคนที่เคยกล้า ๆ กลัว ๆ มือไม้สั่นเมื่อต้องเป็นจุดรวมความสนใจของทุกคนในห้องก็จะกลายเป็นคนที่เจนเวที ส่งผลให้เราควบคุมสติได้ดีแม้อยู่ท่ามกลางสายตาของคนจำนวนมาก ซึ่งความมั่นใจแบบเดียวกันนี้ก็จะตามมาช่วยเราในห้องประชุมระหว่างที่เรากำลังพรีเซนต์งานสำคัญ ทำให้เราดูเป็นคนที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

ดนตรีสร้างทักษะทางสังคม ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม

ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ช่วยให้คนฟังเข้าใจความรู้สึกของผู้เล่นได้แม้จะเป็นคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด หรือพูดคนละภาษา เราจึงสามารถใช้มันในการเข้าหาคนหรือดึงดูดให้คนที่สนใจในเสียงเพลงเข้ามาหาเราเพื่อสร้างมิตรภาพดี ๆ ได้ ทำให้เรามีสังคมที่ดีขึ้น ทำความรู้จักคนได้หลากหลายกลุ่มมากขึ้นเพราะเจอคนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน

เมื่อเราได้เจอคนรู้จักใหม่ ๆ แล้วชวนกันมาเล่นดนตรีด้วยกัน เราก็จะได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม รู้จักตกลงกันว่าใครต้องรับผิดชอบในส่วนไหนของเพลงและในระหว่างการแสดงก็คอยรับส่งจังหวะระหว่างกันจนเพลงออกมาเพราะน่าฟัง

การเล่นดนตรีช่วยให้ไม่เครียด ผ่อนคลายจิตใจ

ดนตรีมีพลังเฉพาะตัวที่ช่วยให้จิตใจสงบ บรรเทาความเครียด โดย Jane Collingwood นักจิตวิทยาเชื่อว่าเพียงแค่ฟังดนตรีโดยเฉพาะดนตรีคลาสสิคที่มีทำนองเนิบ ๆ ช้า ๆ ก็สามารถช่วยปลอบประโลมจิตใจแถมยังส่งผลดีต่อร่างกายมากมาย เช่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง ลดปริมาณความดันในเลือดที่สูงจนเกินไป อีกทั้งยังลดปริมาณฮอร์โมนเครียด เพราะฉะนั้นการหยิบกีต้าร์มาเล่นเพลงโปรดสัก 2-3 เพลงหลังเลิกงานก็เป็นอีกหนึ่งวิธีดี ๆ ที่ช่วยให้เราเป็นคนทำงานที่มีจิตใจผ่อนคลาย

นอกเหนือจากความเพลิดเพลินแล้วดนตรียังมอบสิ่งต่าง ๆ ให้กับผู้เล่นและผู้ฟังได้อีกมากมาย เพราะฉะนั้นใครที่เล่นดนตรีเป็นประจำอยู่แล้วขอให้พัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ ส่วนใครที่ไม่ได้เล่นดนตรี นี่อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะหยิบเครื่องดนตรีสักชิ้นมาลองฝึกดู ไม่แน่คุณอาจจะเป็นคนที่มีความสามารถซ่อนอยู่ก็ได้นะ ถ้าใครมีงานอดิเรกหรือความถนัดในด้านอื่นก็ขอให้คุณเต็มที่กับมันเพราะไม่ว่ายังไงคุณก็จะได้รับบางอย่างตอบแทนความตั้งใจและความทุ่มเทของคุณไม่มากก็น้อย

 
JobThai Official Group
Public group · 350,000 members
 

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 4 พฤษจิกายน 2021 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

ที่มา:

netinbag.com

lifehack.org

classicfm.com

pianopower.org

การเล่นดนตรีมีผลดีอย่างไร

ดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ ขยับร่างกายให้เข้ากับจังหวะดนตรี พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น 4 ช่วยให้จิตใจมั่นคง เสียงดนตรีเบาๆช้าๆ จะช่วยกล่อมเกลาจิตใจทำให้เด็กความรู้สึกสงบ สามารถลดอาการขี้โมโห เอาแต่ใจและฉุนเฉียวของเด็กลงได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กมีสมาธิมากยิ่งขึ้นด้วย

ดนตรีมีส่วนสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาสมองของมนุษย์

ดนตรีเปรียบเสมือน “อาหารสมอง” ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง เพราะกิจกรรมดนตรีเป็นกิจกรรมที่ทำให้สมองทั้งสองซีกของเด็กเกิดการทำงานอย่างสมดุล คือช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานไปพร้อม ๆ กัน ขณะฟังดนตรีเด็กจะรู้สึกสบาย ผ่อนคลายและปล่อยความคิดจินตนาการไปตาม ...

เสียงดนตรีมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร

ดนตรีดีต่อเด็กอย่างไร? 1. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย เราจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อเด็กได้ยินเสียงดนตรีที่มีทำนองและจังหวะที่สนุก เด็กก็จะกระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกาย ตามเสียงดนตรีอย่างมีความสุขสนุกสนาน ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กๆมีร่างกายแข็งแรงเพราะได้บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนร่างกาย เช่น แขน ขา นิ้วมือ คอ ไหล่

ดนตรีช่วยพัฒนาสติปัญญาได้อย่างไร

4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเด็ก ดนตรีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านสติปัญญาของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะมีกิจกรรมดนตรีหลากหลายให้เด็กได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา โดยเด็กๆ สามารถเรียนรู้ในเรื่องของภาษาผ่านทางเนื้อร้องของแต่ละบทเพลง ในเรื่องของคณิตศาสตร์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของตัวเลขจาก ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก