ปัจจุบัน มนุษย์ ใช้ ประโยชน์ อย่างไร จาก ภาพถ่าย ทางอากาศ และ ภาพ จากดาวเทียม

1.3 ประโยชน์ของการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ        มีประโยชน์อย่างกว้างขวางมากมาย ซึ่งพอสรุปดังนี้        1) การใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ    เป็นงานเริ่มแรกและงานหลักในการถ่ายภาพทางอากาศ และนิยมใช้ทำแผนที่มากที่สุด โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับงานสำรวจภาคสนาม ทั้งการรังวัดค่าพิกัดทางราบและหรือทางดิ่งของจุดควบคุมภาพถ่าย เพื่อใช้ในการขยายจุดควบคุม ในงานสามเหลี่ยมทางอากาศ (Aerial triangulation)  กรมแผนที่ทหาร ใช้เป็นข้อมูลหลักในผลิตแผนที่ฐาน กรมชลประทาน ใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศเพื่อก่อสร้างระบบชลประทาน การนำภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ช่วยทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในงานสำรวจภาคสนามได้มาก เมื่อเปรียบเทียบกับงานสำรวจภาคพื้นดินด้วยกล้องธีโอโดไลด์ (Theodolite)  แต่เพียงอย่างเดียว
       2) ด้านวิศวกรรม เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ การคำนวณปริมาณงานขุดและการถมดิน การประมาณราคาค่าก่อสร้าง และช่วยสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่เพื่อหารูปแบบการระบายน้ำ
       3) ด้านการรังวัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Cadastral Survey) ภาพถ่ายทางอากาศช่วยสร้างแผนที่ถือครองได้ โดย พ.ศ. 2516-2521 กรมที่ดิน ใช้ภาพถ่ายปรับแก้ (Rectified photo) เพื่อการออกโฉนดที่ดิน นส.3 ก. ด้วยมาตราส่วน1:15,000 หรือเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และ พ.ศ. 2538 ได้ผลิตภาพถ่ายมาตราส่วน 1:4,000 ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล และมาตราส่วน 1:1,000 ในเขตเทศบาลและเขตเมือง เป็นต้น
       4) ด้านการวางผังเมือง กรมโยธาธิการและการผังเมือง นำไปใช้กำหนดขอบเขตการใช้ทประโยชน์ที่ดิน เช่น ย่านการค้า ย่านที่อยู่อาศัย ย่านอุตสาหกรรม การกำหนดโครงข่ายการคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางผังเมืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
       5) ด้านกิจการทหาร ในส่วนนี้หมายถึงการใช้ภาพถ่ายทางอากาศสืบราชการลับและงานด้านความมั่นคงของประเทศร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนยุทธการและกำหนดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
       6) ด้านสิ่งแวดล้อม และการวางแผนจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้เพื่อการ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และวางแผนอนุรักษ์เพื่อความเหมาะสม การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสำรวจการใช้ทรัพยากรที่ดิน
       7) ด้านการป่าไม้ กรมป่าไม้ นำภาพถ่ายทางอากาศเพื่อประโยชน์ในการป่าไม้ การหาปริมาตรไม้โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากแปลงตัวอย่าง การเก็บสถิติต่าง ๆ เช่น ความสูงเฉลี่ยของแปลงตัวอย่าง หาเส้นผ่าศูนย์กลางของเรือนยอด การปกคลุมของเรือนยอด การหาพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งสามารถวัดได้ง่าและรวดเร็วโดยใช้ภาพถ่ายดิ่งที่มีส่วนซ้อน เพื่อมองเห็นภาพทรวดทรงหรือภาพ 3 มิติ

�ѧ����ʵ�� �Ѱ��ʵ�� ������ͧ ���ɰ��ʵ�� >>

 �ѧ���֡��
(�Ѹ���֡�ҵ͹����)

��Ҿ������ʵ�����Ҿ
�ѡɳл�ҡ���ó�ҧ�����ҵԷ���Ӥѭ��С�û�ͧ�ѹ�ѹ����
�Ը�������ͧ��ͷҧ������ʵ��
�ѭ�ҡ�÷���·�Ѿ�ҡø����ҵ��������Ǵ����
�Ƿҧ��û�ͧ�ѹ��䢻ѭ�ҡ�÷���·�Ѿ�ҡø����ҵ��������Ǵ���� �»�ЪҪ������ ͧ����Ҥ�Ѱ �Ҥ�͡��

�Ը�������ͧ��ͷҧ������ʵ��

�ٻ���·ҧ�ҡ������Ҿ�ҡ�������

�ٻ���·ҧ�ҡ������Ҿ�ҡ����������ٻ���͢����ŵ���Ţ�����ҡ���红����� �Ҥ��鹴Թ�ҡ���ͧ���Դ����Ѻ��˹� �� ����ͧ�Թ ���ʹ������ ���ա�úѹ�֡���������ҧ�����´������Һ�����ᵡ��ҧ�ѹ �֧���������Ҿ����ͧ������鹷����С������¹�ŧ��ҧ � �������ҡ�����鹼���š �� ����Դ�ط���� 俻�� �������¹�ŧ �������Թ ��á�����ҧʶҹ��� �繵�

����ª��ͧ�ٻ���·ҧ�ҡ������Ҿ�ҡ������� ��������ѹ�ҡ�����ٻ�����Ҿ���·����ҡ����з�͹�����ʧ�ͧ�ǧ�ҷԵ������������ͧ�ѹ�֡���Դ���躹����ͧ�Թ���ʹ������ ��úѹ�֡�������Ҩ�з��������� �� �ٻ���·ҧ�ҡ���բ�� � �� �����ٻ���·ҧ�ҡ���ո����ҵ� ��úѹ�֡�����Ũҡ������������ѭ�ҳ�繵���Ţ���Ǩ֧�ŧ��ҵ���Ţ���Ҿ�ҡ������������ѧ

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

ภาพถ่ายทางอากาศ คือ

รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปติดใต้อากาศยาน อันได้แก่ บอลลูน เครื่องบิน เป็นต้น

        ภาพถ่ายทางอากาศแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

        1. ภาพถ่ายแนวดิ่ง หมายถึง ภาพถ่ายที่แกนของกล้องถ่ายภาพถ่ายทางอากาศตั้งฉากพื้นผิวโลก มักมีสัดส่วนคงที่ ใช้ในการรังวัดทำแผนที่ภูมิประเทศ และแปลความหมายข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในภาพ

        2. ภาพถ่ายเฉียง หมายถึง ภาพถ่ายทางอากาศที่แกนกล้องเฉียงไปจากพื้นผิวโลก มีจุดประสงค์เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่าภาพถ่ายแนวดิ่ง และไม่ได้นำไปใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ

        ภาพถ่ายทางอากาศจะได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงนำไปใช้แสดงข้อมูลที่มีมาตราส่วนใหญ่ได้ดี และสามารถแสดงข้อมูลลักษณะภูมิประเทศเป็น 3 มิติได้ ถ้ามีการถ่ายภาพที่ซ้อนทับกัน 60 % ในแนวบินเดียวกัน โดยดูผ่านกล้องมองภาพสามมิติ (Stereoscope)

ภาพถ่ายดาวเทียม

        ดาวเทียมดวงแรกของโลกที่สามารถส่งขึ้นไปเพื่อทดลองระบบ คือ ดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) เป็นดาวเทียมภายใต้การดำเนินงานของรัสเซียที่ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยเริ่มจากดาวเทียมสปุตนิก 1 ที่สามารถโคจรรอบโลกได้นานถึง 92 วัน


ภาพ ดาวเทียมสปุตนิก


         แบ่งตามชนิดได้เป็น

        1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านสภาพอากาศ เช่น ดาวเทียม GMS และ NOAA

        2. ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ำแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล เป็นต้น

        3. ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านทรัพยากรบนแผ่นดิน เช่น ดาวเทียม THEOS เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ส่วนดาวเทียม LANDSAT เป็นของสหรัฐอเมริกา และดาวเทียม SPOT เป็นของประเทศฝรั่งเศส

        4. ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ วิทยุ เช่น ดาวเทียมไทยคม

ข้อมูลจากดาวเทียม

        สิ่งที่ส่งกลับมารูปของสัญญาณตัวเลขมาที่สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม แล้วจึงนำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลตัวเลขนี้มาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้

        ข้อมูลเชิงเลข คือ

            เวลาที่เก็บข้อมูลมาจากดาวเทียมดาวเทียมก็จะแปลค่าให้เป็นตัวเลข เช่น ดี = 1, แย่ = 2 และ แย่ที่สุด = 3 หรือชนิดของตัวเลขที่ใช้ในระบบราสเตอร์ จะเป็นตัวบอกว่าชั้นข้อมูลนั้น ๆ จะถูกแสดง หรือสามารถนำไปประมวลผลได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ชั้นข้อมูลความสูง ที่มีค่าในช่วง 550 ถึง 560 จะถูกใช้ต่างกับชั้นข้อมูลที่มีค่าแค่ 1, 2 หรือ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน น้ำ ดิน พืช จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ส่งกลับมาทุกอย่างจะถูกแปลผลไปเป็นตัวเลข แล้วเวลาใช้งานก็จะแปลตัวเลขมาเป็นข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ ในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ

การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม เช่น

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้สำรวจ ตรวจสอบสภาพผืนป่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้
  • ด้านการทำแผนที่ ใช้สำรวจวัตถุบนพื้นโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง การจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา การจัดทำแผนที่ชุดดิน
  • ด้านอุตุนิยมวิทยา ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศในช่วงเวลาในแต่ละวัน
  • ด้านคมนาคม เช่น การติดตามสภาพการจราจรขณะปัจจุบัน

รูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไร

ภาพถ่ายดาวเทียมมี ประโยชน์อย่างไรนะ ประโยชน์ของภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เช่นเดียวกับภาพถ่ายทาง อากาศ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน และการ พยากรณ์อากาศ วางแผนการใช้ที่ดิน

ประโยชน์ของการใช้รูปถ่ายทางอากาศ มีอะไรบ้าง

3) ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ มีดังนี้ 1. การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ 2. การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ 3. การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน

ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้เอื้ออำนวยประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานราชการต่างๆ ในการนำเอาข้อมูลไปศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร สำนัก งานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นอาทิ รวมไป ...

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในด้านใดบ้าง

1) การสื่อสาร ดาวเทียมสื่อสารช่วยให้การติดต่อสื่อสารต่างๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศการให้ความบันเทิงต่างๆ ด้านวิทยุสื่อสาร วิทยุโทรทัศน์การส่งข่าวสารถึงกันและกันเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว 2) การค้า การติดต่อสื่อสารทำธุรกิจค้าขายการส่งข่าวถึงกัน โดยตรง เพื่อประโยชน์ในการค้าต่างอาศัยการทำงานจากดาวเทียมสื่อสารทั้งสิ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก