แบบฟอร์มหักเงินประกันผลงาน

สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง การรับเงินค่าจ้างแต่ละงวดผู้ว่าจ้างจะหักเงินประกันผลงาน (Retention) ไว้และจะคืนให้เมื่อหมดภาระผูกพันตามสัญญาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระบุเงื่อนไขในสัญญา กิจการจะต้องรับรู้ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเงินประกันผลงานตามแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร

เงินประกันผลงาน คือ เงินที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญา โดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เช่น 5% ของเงินค่างวดที่ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายชำระในแต่ละงวด ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันกรณีที่มีความเสียหายหรือข้อผิดพลาดระหว่างระยะเวลาตามสัญญา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดให้ผู้รับจ้างโดยหักเงินประกันผลงาน ผู้ว่าจ้างจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากจำนวนเงินค่าจ้างก่อนหักเงินประกันผลงาน เนื่องจากผู้รับจ้างต้องรับรู้เป็นรายได้เต็มจำนวนมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวด และ

  • เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายคืนเงินประกันผลงานให้ ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอีก

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นขณะที่ได้รับเงินค่าจ้างแต่ละงวด ดังนั้นผู้รับจ้างต้องนำเงินประกันผลงานที่ถูกหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี และ

  • เมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานคืนให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนำเงินประกันผลงานดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

การบันทึกบัญชี

อ้างอิง: คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541

เงินประกันผลงานหัก ไม่ใช่หลักประกัน การปฏิบัติตามสัญญา 5%

เงินประกันผลงานหัก ไม่ใช่หลักประกัน การปฏิบัติตามสัญญา 5% เงินประกันผลงานหัก คือเงินของผู้รับจ้างที่มีสิทธิ์ได้รับตามงวด
งาน แต่จะถูกหักไว้บางส่วนตามสัญญาจ้างข้อ 6 เพื่อป้องกันผู้รับจ้างทิ้งงาน เมื่อผู้ร้บจ้างส่งมอบงานจ้างงวดสุดท้าย ผู้ว่าจ้างก็จ่ายเงินที่หักไว้ตามสัญญา ข้อ 6 คืนผู้รับจ้าง ซึ่งแตกต่างจากหลักประกันการปฎิบัติตามสัญญา ตามสัญญาข้อ 3 จะคืนผู้รับจ้างเมื่อพ้นระยะเวลาประกันผลงาน 2 ปี การใส่เงินประกันผลงานหัก ในการคำนวณค่า Factor F จะส่งผลให้ค่า Factor F สูงขึ้น ราคากลางจะสูงขึ้น บางหน่วยงานยังเข้าใจผิด ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องนะครับ…

Comments

เมื่อกิจการเราได้มีการว่าจ้างคู่ค้ามาก่อสร้าง, ต่อเติม, หรือทำงานโครงการบางอย่างให้แก่กิจการ กิจการเราอาจมีการหักเงินประกันผลงานจากคู่ค้าดังกล่าวไว้ตามที่ตกลงกันไว้ โดยในส่วนเงินประกันผลงานที่เราหักจากคู่ค้าไว้ คือ หนี้สินในทางบัญชี ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โดยในการบันทึกรายการเงินประกันดังกล่าว เราต้องไปเพิ่มผังบัญชีในส่วนนี้ก่อน

สามารถทำการเพิ่มผังบัญชีและสร้างเอกสารได้ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ให้ทำการเพิ่มผังบัญชี เงินประกันผลงานก่อน ค่ะ โดยการเข้าไปที่ บัญชี >> ผังบัญชี >> กดเพิ่มบัญชี >> แล้วทำการระบุผังบัญชีใหม่ตามตัวอย่างค่ะ หลังจากนั้นกด เพิ่ม

ขั้นตอรที่ 2 เมื่อสร้างผังบัญชีเรียบร้อย ให้เข้าสร้างเอกสารที่หน้า รายจ่าย > บันทึกรายจ่าย/เจ้าหนี้ > สร้าง

ให้ทำการใส่รายละเอียดต่างๆ แล้วเพิ่มค่าธรรมเนียมหรือรายการปรับปรุงอื่น เป็นเงินประเงินประกันผลงานทีสร้างไว้ ใส่จำนวนตามที่ตกลงในสัญญาการหักเงินประกันผล หลังจากนั้นกดนมัติรายการ

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อครบกำหนดที่ต้องจ่ายเงินประกันผลงานที่หักไว้ ให้เข้าสร้างเอกสารที่หน้ารายจ่าย > บันทึกรายจ่าย/เจ้าหนี้ แล้วเลือกหมวดเงินประกันผลงานแล้วรายการจ่ายกดอนุมัติรายการ

หมายเหตุ ข้อมูลจากสรรพากร //www.rd.go.th/fileadmin/print/3580.html

ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK

หักเงินประกันผลงาน คิดยังไง

เงินประกันผลงาน คือ เงินที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญา โดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เช่น 5% ของเงินค่างวดที่ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายชำระในแต่ละงวด ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันกรณีที่มีความเสียหายหรือข้อผิดพลาดระหว่างระยะเวลาตามสัญญา

เงินประกันผลงาน กี่ปี

คดีนี้ผู้รับเหมาฟ้องเรียกเงินประกันผลงานคืน ศาลพิจารณาแล้วว่า เงินประกันผลงาน "ไม่ใช่ค่าจ้าง" ดังนั้นจึงไม่นำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34 (1) มาใช้ "จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 คือ 10 ปี" 🔑🔑🔑🔑

เงินประกันผลงาน เสียภาษีไหม

ผู้ รับจ้างต้องนำเงินประกันผลงานที่ถูกผู้ว่าจ้างหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมา รวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนำเงินประกันผลงานมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

Retention คือค่าอะไร

Retention คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม เมื่อคุณผ่อนบ้านในอัตราดอกเบี้ยคงที่จนครบ 3 ปีแล้ว จะสามารถทำการยื่นเรื่องกับธนาคารเดิมที่ตนเองกู้บ้านเพื่อขอต่อรองอัตราดอกเบี้ยในเรทต่ำได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก