คณะสังคมสงเคราะห์ เงินเดือน

มธ. เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ชี้แพทย์ ได้เงินเดือนสูงสุด ส่วนโอกาสทำงาน บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหเวชศาสตร์ มีงานทำสูงสุด 100%

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ "ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554" ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทําต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556

โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้

- มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน)
- ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน)
- ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)


เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด

อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน

อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57

อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54

อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26

อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92

ส่วนประเภทงานที่ทำ

พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน)

ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน)

ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน)

ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน)

พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน)

พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน)

ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)

โดยบัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่

1. คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท
2. คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท
3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท
4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท
5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท
6. คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท
7. คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท
8. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท
9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท
10. คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท
11. คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท
12. คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท
13. คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท
14. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท
15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท
16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท
17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท
18. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท
19. วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท

โดยความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67

โดยบัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)

ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก

ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน)
ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน)
ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน)
ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน)
ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน)
สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน)
ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)

สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก

ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน)
รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน)
สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)

สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย

เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน)
เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)

เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า

ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน)
ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)

เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก

งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน)
เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน)
เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน)
ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)

สังคมสงเคราะห์จบมาทำงานอะไร มั่นคงไหมคะ เงินเดือนมาตรฐานเท่าไหร่ ผู้ปกครองมีความคิดว่ามันไร้สาระไม่อยากให้เรียนทำไงดี?!

ตั้งกระทู้ใหม่

เราซิ่วมาจากคณะเศรษฐศาสตร์ค่ะอยู่ปี3เเล้วเเต่มันทรมาณมากจะอ้วกไม่โอเคเลยขออนุญาตลาออกไปเรียนอย่างอื่นตอนเเรกก็อนุญาตนะคะเเค่พอรู้ว่าจะเรียนคณะสังคมสงเคราะห์เขาก็ด่ากลับมาเเล้วบังคับให้ไปลงเรียนพวกบัญชีการตลาดไรเงี่ย
  • #พ่อเเม่บังคับ
  • #สังคมสงเคราะห์

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

แสดงความคิดเห็น

8 ความคิดเห็น

0927908706 6 พ.ย. 60 เวลา 00:33 น. 1

เราว่าท่านพยายามเปิดใจกับ จขกท.พอสมควรนะ เพราะยังไงท่านก็อนุญาติให้ซิ่วแม้จะเรียนถึงปี 3 แล้ว แต่ในมุมผู้ใหญ่ ท่านคงคิดว่าถ้า จขกท. จะลงทุนซิ่ว มันควรจะต้องซิ่วไปคณะที่โอเคกว่า ไม่ใช่ว่าสังคมสงเคราะห์ไม่โอเคนะ เพียงแต่ท่านคงคิดแบบนั้น จขกท.ลองคิดดีๆถึงสิ่งที่จะทิ้งไป ว่ามันคุ้มแล้วหรือยัง หรือแน่ใจแล้วใช่ไหมว่าชอบสังคมสงเคราะห์ ถ้าชอบจริงๆเราว่าก็คุ้มนะที่จะเรียนในสิ่งที่ชอบจริงๆ แล้วเราก็คิดว่าท่านคงสามารถเปิดใจกับคณะใหม่ได้ ถ้าท่านเห็นความตั้งใจของเรา สู้ๆนะ ขอถามต่อได้ไหมว่าคณะเศรษฐศาสตร์เป็นยังไง แล้วมีเหตุผลอะไรถึงซิ่ว เพราะเราก็สนใจค้างๆคาๆกับคณะนี้ (เราเคยอยากเรียน) 555555

1 0

  • แจ้งลบ

แมวเหมียว 6 พ.ย. 60 เวลา 07:17 น. 2

สังคมสงเคราะห์เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับศิลปะการช่วยเหลือคนอะไรประมาณนี้ โดยส่วนมากคนที่จบมาจะไม่ค่อยได้ทำงานตรงสายสักเท่าไหร่ แต่ทุกคนมีงานทำซึ่งส่วนมากก็จะอยู่ในระบบราชการ อาจจะอธิบายได้ไม่ครบถ้วนสักเท่าไหร่เพราะรู้แค่นี้555 เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้นะครับ

0 0

  • แจ้งลบ

modnganpsdc 6 พ.ย. 60 เวลา 18:49 น. 3

สังคมสงเคราะห์ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก แต่ประเทศไทยยังไม่ค่อยเท่าไรทั้งๆที่เป็นวิชาชีพเฉพาะ

ส่วนใหญ่ระบบราชการจะเปิดรับอยู่ในหน่วยงานด้านสังคม (กระทรวงพัฒนาสังคมฯ(บ้านพักเด็กเยาวชนฯ )

ซึ่งมีน้อยตำแหน่งมากๆ

หลายคนเลยเบนเข็มไปเรียนจิตวิทยาให้คำปรึกษา หรือสายเฉพาะเลยก็จิตวิทยาคลินิกแทน เพราะสามารถสอบตำแหน่งราชการได้มากกว่า เพราะสามารถสอบได้ทั้งตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ และตำแหน่งนักจิตวิทยาในหน่วยงานของ กระทรวงพัฒนาสังคมฯ(บ้านพักเด็กเยาวชนฯ ),กระทรวงยุติธรรม(ราชทัณฑ์ /คุมประพฤติ/สถานพินิจฯ/ศาลเด็ก

0 0

  • แจ้งลบ

anonymous 12 พ.ย. 60 เวลา 19:54 น. 4

ก่อนตัดสินใจเข้าสังคมสงเคราะห์ อยากให้ศึกษาคุณภาพอาจารย์ด้วยค่ะถ้าคิดว่ารับกับอาจารย์ที่คณะได้ก็เข้ามาเถอะค่ะ เพราะถ้าเข้ามาอาจพบว่าคุณภาพหลักสูตรหรือคุณภาพอาจารย์อาจแย่กว่าที่เก่าก็เป็นไปได้ค่ะ ด้วยความหวังดีค่ะ ส่วนที่ถามว่าสังคมสงเคราะห์ ทำงานอะไรนั้น ส่วนใหญ่ที่จบไป ก็ตกงานบ้าง เป็นพนักงานบริการบนเครื่องบินบ้าง เป็นคนทำงาน ngo เป็นคนทำงานอิสระทำธุรกิจต่อจากทางบ้าน ทำงานมูลนิธิ ทำงานกระทรวงพัฒนาสังคม และอื่นๆ ผู้ปกครองมีความคิดว่ามันไร้สาระไม่อยากให้เรียนทำได้อย่างเดียวค่ะ คือ พยายามอธิบายให้ท่านเข้าใจถ้าเราอยากเรียนจริงๆ

0 1

  • แจ้งลบ

นันฐภรณ์ เอียดหวัง 12 มี.ค. 63 เวลา 21:25 น. 4-1

หนูปรึกษาหน่อยได้ไหมค่ะว่าสามารถอธิบายกับผู้ปกครองได้ยังไงบ้าง... เพราะว่าหนูอยากเรียนสังคมสงเคราะห์แต่แม่ไม่สนับสนุนแล้วก็บอกว่าจะไม่ให้เรียนต่อม. 6อีกด้วยเพราะเค้าว่าเรียนสังคมสงเคราะห์ไปก้อไม่มีประโยชน์อ่ะค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

คนโรคจิต 12 พ.ย. 60 เวลา 20:22 น. 5

มาเรียนจิตวิทยาแทนก็ได้นะ คล้ายๆกัน

0 0

  • แจ้งลบ

เอาที่สบายใจ 12 พ.ย. 60 เวลา 20:39 น. 6

เรียนมาถ้าไม่รับราชการก็หางานดีๆมั่นคงรายได้สูงๆยากจ๊ะ ถ้าจะรับราชการก็หาตำแหน่งบรรจุยาก คิดให้ดีชีวิตเป็นของเราก็จริงแต่พ่อแม่เลี้ยงมาเค้าก็อยากให้เราทำงานดีๆ

0 0

  • แจ้งลบ

bookisbig 12 พ.ย. 60 เวลา 21:14 น. 7

ผมเรียนอยู่ครับ อยู่ปี 4 แล้ว

ถ้าไม่ชอบแนวเสดสาด น่าจะเหมาะกับที่นี่นะครับ แล้วเรื่องผู้ปกครอง ไม่เกี่ยวว่าเรียนแล้วทำงานอะไร แต่อยู่ที่ว่าหลังจบ 4 ปี หรือ อนคตทั้งหมดของชีวิต คุณมีเป้าหมายจะทำอะไรเพื่อให้ชีวิตของคุณมีความหมาย(ในแบบของคุณ)

ผมว่ามันน่าจะง่ายกับการตัดสินใจ แล้วไปพูดคุยกับผู้ปกครองได้ต่อนะครับ .

0 1

  • แจ้งลบ

Fourth 17 มิ.ย. 61 เวลา 12:35 น. 7-1

ช่วยแนะนำได้ไหมคะ ว่าต้องอ่านหนังสืออะไรถึงจะสอบเข้าคณะนี้ได้

1 0

  • แจ้งลบ

ซอบบี้BTOB 13 พ.ย. 60 เวลา 01:04 น. 8

สังคมสงเคราะห์มธ.ใช่ไหมคะที่อยากเข้า? การสอนส่วนใหญ่จะสอนเกี่ยวกับศาสตร์ในการช่วยเหลือ พัฒนาสังคม ไม่ได้จบไปทำงานแจกผ้าห่มนะคะ จะแจกผ้าห่มตอนนี้ก็แจกได้ค่ะ5555 อาจจะงงว่า เอะ แต่ช่วยเหลือคนมันยากตรงไหน? ต้องเรียนด้วยเหรอ ตอบว่สต้องเรียนค่า ศาสตร์ต่างๆที่สอนได้ใช้ในการทำงานแน่ๆ เช่น มีเยาวชนอายุ17ที่ท้องก่อนวันอันควรเลยฆ่าลูกตัวเอง เราจะหาทางช่วยเขายังไง เขาสมควรได้รับโทษไหม? แต่ในหน้าที่ คือเราต้องช่วยไง ถึงเขาจะได้รับโทษ แต่เราต้องช่วยเขาให้ได้มากที่สุด ต้องช่วยเขายันออกจากคุก จะทำให้เขายืนได้ด้วยตัวเองยังไง ประมาณนี้ ส่วนเรื่องงาน พี่ว่าไม่ตรงสายจริงๆนั่นแหละ ตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ในไทยน้อยมากเพราะเมืองไทยไม่ใฟ้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร ถ้าเรียนจะอินมาก 55555 คุณภาพชีวิตก็...ตามนั้น อยากให้มาเรียนนะคะ พี่คิดว่าการที่น้องอยากเข้าคณะนี้จริงๆก็เหมือนก้าวขาเข้ามาแล้วหนึ่งก้าว พี่ๆศิลป์เก่าที่นี่ 20คน เป็นนักสังคมสงเคราะห์ 2คน 5555 #เป็นทุกอย่างยกเว้นนักสังคมสงเคราะห์ แล้วก็ทำพวกฝ่ายบุคคล มีพี่ที่รู้จักคนนึงทำสถานฑูต ไม่แน่ใจว่าตำแหน่งอะไร การเรียนการสอน พี่ชอบอาจารย์ที่นี่นะ พี่ว่ามีคุณภาพระดับนึงเลย อาจารย์ชอบถามความคิดเห็นเราค่ะ ถ้าเป็นเรา เราจะทำยังไงงี้ ตอบได้หมด ไม่มีถูกผิด พี่ประทับใจ แต่ออกเกรดช้ามากก ไม่รู้ทำไม TT พิมพ์ซะยาว น้องจะอ่านไหมเนี่ย 55555 ลืมพูดเรื่องวิชาโท มี โทเด็กเยาวชนและครอบครัว,กระบวนการยุติธรรม,ผู้สูงอายุ,สังคมสงเคราะห์ด้านการแพทย์,พัฒนาชุมชม ลองไปดูว่าใช่ตัวเองไหม แต่พี่คิดว่าถึงมันไม่ใช่ ก็เรียนไหวนะเพราะไม่ได้เรียนยากมากเท่าคณะอื่น เน้นปฏิบัติ ฝึกงาน อะไรแบบนี้มากกว่า เอาเป็นว่าสู้ๆน้า ขอให้น้องมีความสุขกับคณะที่ต้องเรยนในอนาคต ไม่ว่าจะเรียนอะไรขอให้มันเป็นทางของน้องจริงๆ ️

2 2

  • แจ้งลบ

Sunisa Yimma 3 ม.ค. 63 เวลา 19:39 น. 8-1

พี่ค่ะขอคำแนะนำตอบตอบคำถามสัมภาษณ์หน่อยค่ะวันเสาร์ ที่ 4 มกราคม 2563 พรุ่งนี้แล้วค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

นันฐภรณ์ เอียดหวัง 12 มี.ค. 63 เวลา 21:29 น. 8-2

หหนูจะทำไงได้บ้างค่ะพี่... พอดีหนูอยากเรียนสังคมสงเคราะห์แต่แม่ไม่สนับสนุนอ่ะค่ะ

0 0

  • แจ้งลบ

รายชื่อผู้ถูกใจความเห็นนี้ คน

แจ้งลบความคิดเห็น

คุณต้องการจะลบความคิดเห็นนี้หรือไม่ ?

บทความที่คนนิยมอ่านต่อ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก