ปัจจัย ที่ทำให้เกิดการ สูญ เสีย การได้ยิน

  1. หน้าแรก
  2. เกี่ยวกับการได้ยิน
  3. ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน

ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน

บางครั้งการได้ยินไม่ได้ทำงานตามที่ควร การสูญเสียการได้ยินมีผลต่อหูข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ และเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย

มีการสูญเสียการได้ยินอยู่ 4 ชนิดหลักๆ และโดยปรกติแล้วแต่ละชนิดสามารถรักษาได้

การสูญเสียการได้ยิน
ชนิดการนำเสียงบกพร่อง

เมื่อหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางไม่สามารถนำเสียงได้อย่างเหมาะสม จะเรียกว่าเป็นการสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง

กรณีนี้คล้ายกับการสูญเสียการได้ยินของคุณหรือเปล่า

ดูเรื่องราวตัวอย่างเหล่านี้ซึ่งอิงมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริง และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางที่จะทำให้คุณได้ยินดีขึ้น

การสูญเสียการได้ยิน
ชนิดประสาทหูเสื่อม

เมื่อเซลล์ขนของก้นหอยหายไปหรือเสียหาย จะเรียกว่าเป็นการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทหูเสื่อม ทั้งนี้อาจมีสาเหตุทางพันธุกรรม หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ การสัมผัสกับเสียงดัง หรืออย่างอื่นในสิ่งแวดล้อม การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทหูเสื่อมยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเสื่อมตามวัยที่พบบ่อยอีกด้วย

กรณีนี้คล้ายกับการสูญเสียการได้ยินของคุณหรือเปล่า

เรื่องราวด้านล่างเป็นเรื่องแต่ง แต่อิงมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริง ลองอ่านดูและค้นพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางที่จะทำให้คุณได้ยินดีขึ้น

การสูญเสียการได้ยิน
ชนิดผสม

การสูญเสียการได้ยินชนิดผสมเป็นการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทหูเสื่อมร่วมกับชนิดการนำเสียงบกพร่อง ซึ่งเกิดจากปัญหาในทั้งหูชั้นในและหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง

กรณีนี้คล้ายกับการสูญเสียการได้ยินของคุณหรือเปล่า

อ่านเรื่องราวตัวอย่างนี้ซึ่ง อิงมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางที่จะทำให้คุณได้ยินดีขึ้น

การสูญเสียการได้ยิน
ชนิดประสาทรับเสียงเสื่อม

เมื่อประสาทรับเสียงเสียหายหรือขาดหายไป จะเรียกว่าเป็นการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับเสียงเสื่อม เครื่องช่วยการได้ยินและประสาทหูเทียมไม่สามารถช่วยได้ เนื่องจากเส้นประสาทไม่สามารถส่งข้อมูลเสียงต่อไปยังสมองได้

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดฝังอุปกรณ์ลงในก้านสมอง (Auditory Brainstem Implant หรือ ABI) อาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยหลายราย

ติดต่อเรา
กรอกแบบฟอร์มติดต่ออย่างง่ายของเราแล้วเราจะติดต่อกลับ
ติดต่อเดี๋ยวนี้

ภาวะสูญเสียการได้ยินคืออะไร?

ภาระสูญเสียการได้ยิน หมายถึง ความสามารถในการรับฟังเสียงลดลง โดยแบ่งเป็นระดับ ได้แก่

มากกว่า 20 เดซิเบล มีภาวะสูญเสียการได้ยิน

มากกว่า 40 เดซิเบลมีข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องช่วยฟัง

มากกว่า 90 เดซิเบล หูหนวก

สัญญาณเตือน

  • ความบกพร่องทางการได้ยิน
  • ได้ยินเสียงผิดปกติในหู
  • เข้าใจคำพูดแย่ลง
  • * ได้ยินแย่ลง
  • ตามบทสนทนาได้แย่ลง

สาเหตุ

  • อายุที่มากขึ้น
  • กรรมพันธุ์
  • การได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
  • ขี้หูอุดตัน เยื่อแก้วหูทะลุ
  • โรคต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อ เนื้องอก หินปูนเกาะกระดูก
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดังเป็นเวลานาน

ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2565
ที่มา : อ. ดร. พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร
ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรสังคมประวัติการทำงานในอดีต ประวัติการทำงานในปัจจุบันกับการสูญเสียการได้ยินของผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ในเขตจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาแบบตัดขวางกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการกิสโก้เทค 6 แห่ง ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 191 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ การสัมภาษณ์ การตรวจวัดระดับเสียงดังและเสียงสะสม รวมทั้งการตรวจสภาพช่องหูและการตรวยสมรรถภาพการได้ยิน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (65.97%) มีอายุ 20-24 ปี (40.84%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (46.84%) ระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี (76.22%) ทำงานในตำแหน่งดีเจ หรือนักดนตรี (49.21%) ส่วนใหญ่ทำงาน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน (56.61%) ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันหู (97.81%) และไม่เคยใช้อุปกรณ์ป้องกันหู (94.70%) การทำงานในอดีตเคยทำงานในสถานบันเทิง (27.75%) โดยทำงานมานาน 0-5 ปี (37.17%) ตัวอย่างไม่เคยทำงานมาก่อน (51.31%) ผลการตรวจวัดระดับเสียงดังต่อเนื่อง (Leq1 นาที) ในสถานประกอบการดิสโก้เทคทั้ง 6 แห่ง จำนวน 52 จุด อยู่ในช่วง 93.0-111.4 dB(A) ซึ่งเป็นระดับเสียงที่ดังเกินมาตรฐานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (100%) ส่วนผลการตรวจวัดเสียงสะสมติดตัวบุคคล กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (100%) ได้รับเสียงสะสมเกินมาตรฐานของ OSHA การตรวจสภาพช่องหู พบว่าหูปกติเป็นส่วนใหญ่ ผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ความถี่ พบว่ามีการสูญเสียการได้ยินที่หูข้างซ้ายมากกว่าหูข้างขวาในทุกความถี่และในช่วงความถี่ที่มีความสำคัญต่อการสนทนา (500-2000 Hz) พบว่ามีการสูญเสียการได้ยินหูข้างซ้าย ระดับตึงเล็กน้อย 53.93% และข้างขวา 49.21% จากการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยกับการสูญเสียการได้ยินพบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของหูซ้ายและหูขวา ที่ความถี่ 4000-8000 HZ(P<0.05) และระยะเวลาการทำงานแต่ละวัน มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของหูขวาส่วนแผนกการทำงานมีการสูญเสียการได้ยินที่หูซ้าย ที่ความถี่เฉลี่ย500-2000 Hz (P<0.05) ผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทค ส่วนใหญ่มีการสูญเสียการได้ยินจึงควรได้รับการดูและและป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการดิสโก้เทคต่อไป This study focused on factors relating hearing loss among discotheque workers in Chonburi province. The purpose of this study was to describe the relationship between population characteristics, Occupational history to hearing loss. A cross section study design was employed. Data were collected among 191 discotheque workers in six establishments in Chonburi province. The study was devided into 3 steps including interview, measurement of sound pressure level, noise dosemetry; otoscopy and audiometry. We had found that the majority of workers were males (65.97%), aged between 20-24 years old (40.84%), Education level was mostly secondary school (46.84%). Work duration was less than and equal to 3 years (76.22%). The tasks were mostly disk jocky or musicians (49.21%). The subjects worked for 8-10 hours per day (56.61%). 97.51% did not have hearing protection and 94.70% did not use hearing protection equipment. 27.75% use to work in entertainment facilities, 7.33% in factories and 53.31% never works prior to the present job. 52 sanpshot sound pressure level (Leq 1 minute) in six establishments ranged from 93.0-111.4dB(A) which was non-compliance with the Ministry of labour and social welfare standard. 100% of noise dosemetry also revealed non-compliance with OSHA standard. Otoscopic examination on the subjects was mostly normal. 53.93% had mild hearing loss in left ear and 49.21% on the right ear. statistical analysis revealed that sex was related to the hearing loss both on the left and on the right ear at frequency 4000-8000 Hz (P<0.05). The dail work duration was related to hearing loss on the right ear and job was related to hearing loss on the left ear at the frequency range of 500-2000 Hz (P<0.05). We recommended that hearing conservative program should be implemented.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก