ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาก่อให้เกิดผลอย่างไร ปัจจัยใดที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองทรงเลือกที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะเหตุใดจึงมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น สภาพภูมิอากาศและทำเลที่ตั้งมีผลดีต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอย่างไร ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงธนบุรี ได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักร สาเหตุของการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ม.2 สรุป ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ด้านภูมิศาสตร์ ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ช่องว่างทางการเมือง ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่

ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ได้แก่

    

สภาพภูมิศาสตร์

                      

  ๓.๑  แผนผังพระนครศรีอยุธยาที่โธมัส วัลเนอิรา ชาวฝรั่งเศส จัดทำขึ้นพ.ศ. ๒๒๓๐ ในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๑๘๙๓ แล้วขึ้นเสวยราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคง มั่งคั่ง และมีความยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานถึง ๔๑๗ ปี ด้วยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้

๑. ปัจจัยภายใน

•  กรุงศรีอยุธยามีภูมิสถานอันเหมาะสม คือ ที่ตั้งเมืองมีแม่น้ำล้อมรอบ ๓ ด้าน นับเป็นชัยภูมิที่ดีที่มั่นคง ป้องกันการโจมตีของข้าศึกได้

•  กรุงศรีอยุธยามีดินดีและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์

•  กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง มีลำน้ำสายต่างๆไหลผ่าน จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม เส้นทางการค้า และเส้นทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐที่อยู่เหนือขึ้นไปตอนในกับเมืองท่าชายฝั่งทะเลได้

๒. ปัจจัยภายนอก ในช่วงเวลานั้นเขมรหมดอิทธิพลที่เคยมีในดินแดนไทย จนกระทั่งไม่สามารถต้านทานกองทัพไทยที่เข้าไปตีเขมรได้

                                              

                                      ๓.๒ พระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

พระนามพระมหากษัตริย์ของอยุธยา

๑. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)                                       ๑๘๙๓ - ๑๙๑๒

๒. สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๑)                                                       ๑๙๑๒ - ๑๙๑๓

๓. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)                            ๑๙๑๓ - ๑๙๓๑

๔. สมเด็จพระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันทร์)                                           ๑๙๓๑ - ๑๙๓๑

     สมเด็จพระราเมศวร (ครั้งที่ ๒)                                                       ๑๙๓๑ - ๑๙๓๘

๕. สมเด็จพระรามราชาธิราช                                                              ๑๙๓๘ - ๑๙๕๒

๖. สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครินทราธิราช)                                    ๑๙๕๒ - ๑๙๖๗

๗. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)                             ๑๙๖๗ - ๑๙๙๑

๘. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ                                                           ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑

๙. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓                                                      ๒๐๓๑ - ๒๐๓๔

๑๐. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  (พระเชษฐาธิราช)                             ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒

๑๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (หน่อพุทธางกูร)                        ๒๐๗๒ - ๒๐๗๖

๑๒. พระรัษฎาธิราช                                                                          ๒๐๗๖ - ๒๐๗๗

๑๓. สมเด็จพระไชยราชาธิราช                                                          ๒๐๗๗ - ๒๐๘๙

๑๔. พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)                                                           ๒๐๘๙ - ๒๐๙๑

        ขุนวรวงศาธิราช                                                                         ๒๐๙๑ - ๒๐๙๑

๑๕. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)                                 ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑

๑๖. สมเด็จพระมหินทราธิราช                                                           ๒๑๑๑ - ๒๑๑๒

๑๗. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช                                                ๒๑๑๒ - ๒๑๓๓

๑๘. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช                                                      ๒๑๓๓ - ๒๑๔๘

๑๙. สมเด็จพระเอกาทศรถ                                                                ๒๑๔๘ - ๒๑๕๓

๒๐. พระศรีเสาวภาคย ์                                                                    ๒๑๕๓ - ๒๑๕๔

๒๑. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม                                                           ๒๑๕๔ - ๒๑๗๑

๒๒. สมเด็จพระเชษฐาธิราช                                                           ๒๑๗๑ - ๒๑๗๒

๒๓. พระอาทิตยวงศ์                                                                      ๒๑๗๒ - ๒๑๗๒

๒๔. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง                                                    ๒๑๗๒ - ๒๑๙๙

๒๕. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย                                                                      ๒๑๙๙ - ๒๑๙๙

๒๖. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา                                                        ๒๑๙๙ - ๒๑๙๙ 

๒๗. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช                                                  ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑

๒๘. สมเด็จพระเพทราชา                                                             ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖

๒๙. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ)                                 ๒๒๔๖ - ๒๒๕๑

๓๐. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ)                         ๒๒๕๑ - ๒๒๗๕

๓๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ                                                 ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑

๓๒. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)                                ๒๓๐๑ - ๒๓๐๑

๓๓. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)               ๒๓๐๑ - ๒๓๑๐

พัฒนาการของรัฐ

รัฐอยุธยามีพัฒนาการดังนี้

๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๙๑)

๒. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)

๓. สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ถึงการเสียกรุงครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๐๓๑ - ๒๑๓๓)

๔. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๑๕๓)

๕. สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๕๔ - ๒๒๓๑)

๖. สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๓๑๐)

สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๙๑)

      ในสมัยนี้นักประวัติศาสตร์หลายท่านมองว่าพัฒนาการของอยุธยาในยุคแรกเป็นผล มาจากการแข่งขันทางการเมืองของสองราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เชียงราย และราชวงศ์สุพรรณภูมิ ลักษณะทางการเมืองเช่นนี้ทำให้อยุธยาขากเอกภาพ จนในที่สุด ราชวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองก็ถูกกำจัดลงในสมัยสมเด็จพระอินทราชา ทำให้ราชวงศ์สุพรรณภูมิมีอำนาจแต่เพียงราชวงศ์เดียว

เศรษฐกิจ : ในสมัยนี้มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารว่า สมเด็จพระอินทราชา เมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองสุพรรณภูมิได้เสด็จไปเฝ้าจักรพรรดิจีนด้วยตนเอง เนื่องจากจีนเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้น ราชวงศ์สุพรรณภูมิได้เล็งเห็นความสัมพันธ์ทางการทูตจึงส่งทูตไปเฝ้าจักรพรรดิจีนอย่างต่อเนื่อง และการที่จีนรีบทูตจากเจ้าเมืองใดก็เหมือนเป็นการรับรองว่าเจ้าเมืองนั้นได้รับสิทธิ ในการเป็นผู้ปกครองดินแดนนั้น

การเมืองการปกครอง

๑. ทิศตะวันออก ได้แก่ กัมพูชา และกลุ่มเมืองอิสระในที่ราบสูงโคราช คือ พิมาย พนมรุ้ง และเมืองพุทรา

๒. ทิศเหนือ ได้แก่ รัฐสุโขทัย

๓. ทิศใต้ ได้แก่ รัฐทางแหลมมลายู แคว้นนครศรีธรรมราช

๔. ทิศตะวันตก ได้แก่ หัวเมืองท่าเมืองฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยทวาย มะริด และตะนาวศรี

รูปแบบกาาปกครอง ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๔ เขต คือ :

๑. ราชธานี ได้แก่  กรุงศรีอยุธยาและบริเวณโดยรอบ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง มีกรมสำคัญ ๔ กรม คือ เวียง วัง คลัง นา ทำหน้สที่บริหาร กรมทั้ง ๔ นี้รวมเรียกว่า "จตุสดมภ์" แปลว่า "หลักทั้ง ๔"

๒. เมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้กรุงศรีอยุธยา มีขุนนางไปปกครองและให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง

๓. เมืองต่าง ๆ ในดินแดนแกนกลางของราชอาณาจักร มีฐานะเป็น "เมืองลูกหลวง" หรือ "เมืองหลานหลวง" เป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรราชธานีจะส่งพระราชโอรสหรือ เจ้านายชั้นสูงไปปกครอง

๔. เมืองประเทศราช มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง และจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้อยุธยา ตามระยะเวลาที่กำหนด

สภาพสังคม

ในสมัยอยุธยา คนในสังคมแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ได้แก่

๑. พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานนะเป็นเทพเจ้า หรือ "เทวราชา" ตามคติและอิทธิพลที่ได้รับจากขอมและอินเดีย

๒. มูลนาย มีทั้งชายและหญิง เป็นคนหลายกลุ่ม ตั้งแต่เจ้านาย เชื่อพระวงศ์ ขุนนาง

๓. พระสงฆ์ มีฐานะเป็นชนชั้นพิเศษเพราะเป็นผู้ให้ความรู้ ทั้งการศึกษาและการสืบทอด พระพุทธศาสนา

๔. ไพร่ หมายถึง ราษฎรทั้งหญิงและชายซึ่งถือว่าศักดินา ระหว่าง ๑๐-๒๕ ไร่ ถือเป็นคนส่วนใหญ่ ในสังคมอยุธยา

ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาก่อให้เกิดผลอย่างไร

ด้วยทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเกาะเมืองมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รวมทั้งเป็นชุมทางคมนาคม และเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึก ศัตรู กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีใหญ่สามารถกุมอำนาจเหนือเมืองใกล้เคียงเป็นเวลานาน

ปัจจัยใดที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองทรงเลือกที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

2. เพราะเหตุใดพระเจ้าอู่ทองจึงเลือกตังกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะมีชัยภูมิทีเอืออํานวยทังในด้านความมันคงปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของ ประชาชน คือตังอยู่บนดินดอนสามเหลียมทีมีแม่นําล้อมรอบ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเกาะ สะดวกในการป้องกันตัวเมืองจากผู้เข้ามารุกราน และพืนทีเหมาะแก่การเกษตรกรรม อีกทัง เป็นศูนย์กลาง ...

เพราะเหตุใดจึงมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีนั้น จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอำนาจ 2 กลุ่ม ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือแคว้นละโว้-อโยธยา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผู้คนในกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองจากอาณาจักรเขมรโบราณ ...

สภาพภูมิอากาศและทำเลที่ตั้งมีผลดีต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยาอย่างไร

4. ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์ กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำไหลผ่าน ถึง 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสักและลพบุรี ทำให้เป็นที่ราบลุ่มต่ำ ข้าศึกจะล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมรอบตัวเมืองทำให้ข้าศึกต้องถอนทัพกลับไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก