การออกกําลังกายสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน

แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
และความดันโลหิตสูง 2555

โดยสถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล //www.dms.moph.go.th/imrta/images/data/aw20130328.pdf

แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
และความดันโลหิตสูง 2555

โดยสถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

แหล่งข้อมูล //www.dms.moph.go.th/imrta/images/data/aw20130328.pdf

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมการดูแลตนเองที่สำคัญสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นได้ วันนี้เรามีสาระสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้เป็นโรคเบาหวาน รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับมาฝากไว้เป็นข้อมูลกันค่ะ

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่ได้รับการควบคุมอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยเสริมในการบำบัดโรคเบาหวานได้ ซึ่งก็จะให้ผลดี คือ ลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการเลือกวิธีการออกกำลังกาย จึงขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคนด้วย

  • ผู้ที่เบาหวานขึ้นตาให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ใช้แรงต้านมาก เช่น โยคะบางท่า หรือการยกน้ำหนัก
  • ผู้ที่เป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาเท้าไม่ควรวิ่ง หรือกระโดด ควรจะออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน เพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นปลายประสาท
  • ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้าหรือเท้าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก ควรจะออกกำลังโดยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ หรือกายบริหารในท่านั่งหรือยืน
  • ผู้ที่มีโรคหัวใจควรจะพบแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายชนิดที่ออกแรงมาก เช่น การวิ่งเร็ว หรือยกน้ำหนัก

ประเภทการออกกำลังกาย

  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิก การออกกำลังกายประเภทนี้ ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน เป็นต้น ในผู้ป่วยเบาหวานมีคำแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิค 150 นาทีต่อสัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายทั้งหมดในครั้งเดียว แต่สามารถแบ่งระยะเวลาของการออกกำลังกายตลอดทั้งวันได้ โดยมีเป้าหมายรวมคืออย่างน้อย 30 นาทีต่อวันที่ความหนักระดับปานกลาง
  • ออกกำลังกายแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ คือ การใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ต้นแขน ต้นขา หัวไหล่ หน้าท้อง หน้าอก ทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงของตัวเอง โดยการใช้แถบยางยืด การยกน้ำหนัก หรือเครื่องเล่นเวท (weight machines) แนะนำให้ออกกำลังกายแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเริ่มจากน้ำหนักน้อย และค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้นช้า ๆ ตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังกายแบบยืดเหยียด เป็นการออกกำลังกายระดับเบาหรือระดับปานกลาง เตรียมพร้อมกล้ามเนื้อเพื่อการออกกำลังกาย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

  • ลดระดับความดันโลหิต
  • ลดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด
  • ช่วยลดนํ้าหนัก ลดไขมันที่เกาะตามร่างกาย
  • ช่วยลดความเครียด และทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส
  • ช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลง
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของการร่างกาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกโรคระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน

โทร. 0 2265 7777 

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.6]

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ให้ผลคล้ายกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งช่วยนำน้ำตาลในเลือดออกไปใช้ที่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

>>ขั้นตอนการออกกำลังกาย

ประกอบด้วย 3ขั้นตอน เหมือนการออกกำลังกายปกติ

      1. Warm up
      2. Training zone exercise
      3. Cool down

>> หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ยึดตามหลัก FITT เช่นกัน มีรายละเอียดดังนี้

           

•  Frequency :
                   1. อย่างน้อย 3ครั้ง/สัปดาห์ วันที่หยุดพักไม่ควรเกิน 2วัน

            •  Intensity :
                   1. ระดับหนักพอควร (40-59% ของชีพจรสำรอง)

           •  Time :
                   1. 30 นาที/วัน หรือ 150 นาที/สัปดาห์
                   2. สามารถแบ่งรอบสะสมได้ โดยแต่ละรอบควรถึงระดับหนักพอควร อย่างน้อย 10นาที

          •  Type :
                  1. การออกกำลังแบบแอโรบิค (การออกกำลังที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่น เดินเร็ว, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ)
                  2. ** การออกกำลังแบบมีแรงต้าน เช่น ใช้ดัมเบล, ยางยืด, ออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังมีแรงต้าน หากทำร่วมกับการออกกำลังแบบแอโรบิค จะช่วยให้ผลในการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ควรทำ 2 วัน/สัปดาห์ (ไม่ควรทำติดกัน 2วัน) ท่าละ 5-10 ครั้ง และ 3-4 sets

          ** หลีกเลี่ยงการทำท่าที่ต้องเกร็งค้างไว้และไม่ควรใช้แรงต้านที่มากเกินไป

>> หลักการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ยึดตามหลัก FITT เช่นกัน มีรายละเอียดดังนี้

1. สวมรองเท้าที่เหมาะสม
2. ตรวจดูเท้าทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในกรณีที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
5. เช็คระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลัง หากน้อยกว่า 100 mg%
a. ควรทานคาร์โบไฮเดรต 15 g. ก่อน

ตัวอย่างคาร์โบไฮเดรต 15 g.

     • ข้าว 1 ทัพพี
     • ขนมปัง 1 แผ่น
     • แครกเกอร์ 1 ชิ้น
     • นม 1 แก้ว
     • น้ำผลไม้ครึ่งแก้ว
     • แอปเปิ้ล 1 ลูกเล็ก
     • ส้ม 1 ลูกเล็ก

อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

    • เหงื่อออก
    • ใจเต้นเร็ว
    • มึนงง เวียนศีรษะ
    • มือสั่น กระสับกระส่าย
    • รู้สึกหิว
    • อ่อนเพลีย, ไม่มีแรง
    • ปวดศีรษะ
    • ตาพร่า

หากมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรปฏิบัติดังนี้

    1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ทานน้ำผลไม้ 1กล่อง หรือ นม 1 กล่อง
    2. หรือลูกอมทันที ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง หลังจาก 15 นาที

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ โทร.1719

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก