เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี 2566

รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

สถานการณ์การเมืองไทยกลับมาร้อนระอุและอึมครึมอีกครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร กรณีปมการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของนายกฯประยุทธ์ โดยมีมติ 5 ต่อ 4 ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2565 เป็นต้นไป และจะนำเข้าสู่โหมดกระบวนการพิจารณาซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน

ขณะที่นายกฯ ประยุทธ์ เคยแจ้งกลางที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าไม่ได้รู้สึกกังวลใจกรณีถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญตีความการดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี และขอให้ทุกคนทำหน้าที่ไปตามปกติ “ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวลอะไร” และความคืบหน้าล่าสุดทีมกฎหมายนายกฯประยุทธ์ ได้ส่งคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว และศาลรัฐธรรมนูญได้นัดเรียกประชุม “วาระพิเศษ” เพื่อพิจารณาคำร้องดังกล่าวในวันพฤหัสบดีที่ 8 ก.ย. นี้

ประเด็นนี้แม้แต่สื่อต่างชาติเองก็ยังจับตาดู โดยสะท้อนมุมมองจากนักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ว่า การเมืองไทย ณ วันนี้ คือความเสี่ยงทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน โดยจะย้ายเข้าไปลงทุนในเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้านอื่นแทน แต่สถานการณ์การเมืองก็ยังไม่ส่อเค้ารุนแรงขนาดส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผลกระทบสำคัญที่เกี่ยวโยงกับการเมืองโดยตรงคือ หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ต่อไป คำตัดสินดังกล่าวอาจกลายเป็น ‘น้ำผึ้งหยดเดียว’ ที่ทำให้เกิดแรงประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่มากขึ้น เพราะเพียงแค่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติประกาศให้นายกฯ หยุดทำหน้าที่ก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงหลายจุด เช่น ที่ลานคนเมือง หน้าศาลากว่าการ กทม. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ารัฐสภา และบริเวณใกล้ทำเนียบรัฐบาล

ด้านนักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ‘ศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์’ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว เอเอฟพี กรณีการครบวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกฯ ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มสูงที่จะใช้ชั้นเชิงทางเทคนิค เพื่อให้ นายกฯ ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งต่อไปได้” อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่านายกฯ อยู่ในตำแหน่งเกิน 8 ปีจริง ก็จะทำให้นายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่งและกลายเป็น “ระเบิดเวลา” ที่สร้างความสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงต่อการเมืองไทย นำไปสู่ความ ไม่แน่นอน ต้องแต่งตั้งรักษาการนายกฯ รัฐบาลรักษาการ และการเลือกตั้งจะเกิดเร็วขึ้น

จากสถานการณ์การเมืองที่ดูวุ่น ๆ ในขณะนี้ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็เคลื่อนไหวกันอย่างพรึบพรับเตรียมรับมือกับ การเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 ที่อาจมาเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ "ย้ายพรรค ยุบรวม ควบรวม” ของบรรดาพรรคการเมือง ข่าวการดึง ส.ส. เข้าสังกัดพรรคโน้นพรรคนี้กันเป็นว่าเล่น และกระแสข่าวลือสะพัด “ปมขัดแย้ง 3ป” เป็นต้น

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศทางออนไลน์ “สัญญาณเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566” จำนวน 1,128 คน ระหว่างวันที่ 3-8 กันยายน 2565 ใน 8 ประเด็น พบว่า

1) จากกระแสข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงนี้ ประชาชนสนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 50.45%

2) ประชาชนคิดว่าน่าจะเป็นไปได้ 53.92% ที่อาจจะมีการ “ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่”

3) ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้สมัครในพรรคฝ่ายค้านมีความได้เปรียบมากกว่าในพรรคฝ่ายรัฐบาล 52.75%

4) ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงมากขึ้น 56.56%

5) สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก ส.ส. ครั้งต่อไป ได้แก่ พรรคที่สังกัด (อันดับ 1 70.10%)
ตัวผู้สมัคร (อันดับ 2 64.51%) เป็นคนดี ประวัติดี ซื่อสัตย์ (อันดับ 3 59.98%) เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ (อันดับ 4 52.80%) และเป็นคนขยัน ตั้งใจทำงาน (อันดับ 5 50.67%)  

6) ประชาชนคิดว่าการทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ของพรรคการเมืองและ ส.ส. มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง 90.83%  

7) ประชาชนคิดว่าสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากนี้จะร้อนแรงมากขึ้น 68.29% 

8) ประชาชนอยากเห็นการเมืองไทยเชิงสร้างสรรค์คือ ต้องทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและประชาชน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (อันดับ 1 24.35%) แข่งขันกันด้วยความรู้ ความสามารถ และผลงาน ไม่ใส่ร้ายป้ายสี (อันดับ 2 19.56%) ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ร่วมมือกันทำงาน (อันดับ 3 18.27%) เป็นนักการเมืองที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต (อันดับ 4 16.61%) และเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ (อันดับ 5 13.28%)

นี่คือ เสียงสะท้อนสำคัญของประชาชนต่อสัญญาณเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 ส.ส. นักการเมือง นักวิชาการ และ คอการเมือง ห้ามพลาดข้อมูลสำคัญนี้นะครับ...

เผยแพร่ 21 ก.ย. 2565 ,16:51น.

กกต.เตรียมแผนเลือกตั้งทั่วไป 7 พ.ค. 2566 หลังครบวาระสภาฯ 23 มี.ค. 2566 ชี้หากยุบสภากำหนดวันเลือกตั้ง 5 วันนับแต่ พ.ร.ฎ.ยุบสภาประกาศ

วันที่ 21 ก.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า กกต. เตรียมแผนการเลือกตั้งในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครบวาระในวันที่ 23 มี.ค. 2566 โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ โดยเบื้องต้นกำหนดให้วันที่ 7 พ.ค. 2566 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป 

เปิดลงทะเบียน คนละครึ่ง เฟส 5 รอบเก็บตก 3.09 ล้านสิทธิ เริ่ม 23 ก.ย.- 1 ต.ค. 65

"วันศารทวิษุวัต” วันที่ 23 กันยายน เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน

สำหรับรายละเอียดของแผนการจัดเลือกตั้งทั่วไปนั้น หากนับจากวันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวันที่ 23 มี.ค. 2566 มีกำหนดการ ดังนี้

 มีนาคม 2566 
- 30 มี.ค. 2566 คือ วันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้
- 31 มี.ค. 2566 กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และประกาศกำหนดวันรับสมัครว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

 เมษายน 2566 
- 3-7 เม.ย. 2566 วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
- 11 เม.ย. 2566 วันสุดท้ายของการประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง และสถานที่เลือกตั้ง รวมถึงเป็นวันสุดท้ายที่ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- 14 เม.ย. 2566 ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.
- 16 เม.ย. 2566 วันสุดท้ายที่จะส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
- 26 เม.ย. 2566 วันสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง และสถานที่เลือกตั้ง รวมถึงวันสุดท้ายของการเพิ่มชื่อ หรือถอนชื่อ
- 30 เม.ย. 2566 วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง และนอกเขตเลือกตั้ง รวมถึงการแจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

 พฤษภาคม 2566 
-  1-6 พ.ค. 2566 ระยะเวลาแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยวันที่ 1 พ.ค. นั้นจะป็นวันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง
    3 พ.ค. 2566 วันสุดท้ายที่ศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัครกรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร
-  6 พ.ค. 2566 วันสุดท้ายที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม
-  7 พ.ค. 2566 วันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป
-  8-14 พ.ค. 2566 วันแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต. ยังได้กำหนดแผนการเลือกตั้งกรณีหากเกิดการยุบสภา จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 กำหนด ทั้งนี้ภายใน 5 วันนับแต่วันมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา กกต.จะต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป และวันสมัครรับเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษา

กองทัพเรือ เซ็นสัญญาจัดซื้อโดรน แบบ HERMES 900 จากอิสราเอล

เคลียร์จบ "เอ็มบัปเป้" ยอมถ่ายรูปร่วมกับทีมชาติฝรั่งเศส

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก