ข้อหารือ ใบกำกับภาษีที่อยู่ ผิด

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/2805 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอหารือเกี่ยวกับการเป็นผู้ออกและใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2805
วันที่ : 4 เมษายน 2555
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอหารือเกี่ยวกับการเป็นผู้ออกและใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 82/5(5) มาตรา 86 มาตรา 89(6) และมาตรา 90/4(3) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           1. บริษัทฯ นำใบกำกับภาษีซื้อที่ออกโดยผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีการประกอบกิจการจริง ไปใช้ในการเครดิต ภาษีและบริษัทฯ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับ ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวถือว่าเป็นใบกำกับภาษี ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย           2. บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีขาย โดยไม่มีการซื้อสินค้าจากบริษัทฯ และไม่มีการนำใบกำกับภาษีไปใช้เครดิตภาษี แต่บริษัทฯ ได้นำมูลค่าในใบกำกับภาษีนั้นไปเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การกระทำของบริษัทฯ เป็นกรณี กระทำความผิดและมีโทษในทางแพ่งและทางอาญา
แนววินิจฉัย           1. กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรได้สอบยันใบกำกับภาษีซื้อของบริษัทฯ แล้วพบว่า บริษัทฯ นำใบกำกับภาษีซื้อ ที่ออกโดยบริษัท ธ. ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 ตุลาคม 2553 แจ้งว่า บริษัท ธ. ไม่มีการประกอบกิจการใดๆ และมีพฤติการณ์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีขายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และสำนักงาน- สรรพากรพื้นที่ปทุมธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 แจ้งว่า บริษัท อ. มีพฤติการณ์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ออกใบกำกับภาษีขายโดยไม่มีการซื้อ - ขายสินค้าจริง ดังนั้นกรณีบริษัทฯ นำใบกำกับภาษีของ บริษัททั้งสองรายดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการซื้อสินค้าและมีการชำระเงินค่าสินค้าจริง บริษัทฯ ต้องรับผิดชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3)(4) และ(7) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542 เรื่อง การคำนวณเบี้ยปรับหรือ เงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2542 และต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร และมีความผิดอาญาตามมาตรา 90/4(7) แห่งประมวลรัษฎากร           2. กรณีบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีขายโดยไม่มีการซื้อสินค้าจากบริษัทฯ จริง และบริษัทฯ ได้นำมูลค่าใน ใบกำกับภาษีขายนั้นไปเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือว่าบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตาม ใบกำกับภาษีตามมาตรา 89 (6) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 90/4 (3) แห่งประมวลรัษฎากร           3. กรณีการกระทำความผิดตาม 1. และ 2. กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษที่ บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 90/5 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 75/38087

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th

เรามาดูกันว่า ในใบกำกับภาษี ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างง??

ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด”

ลูกค้าไม่บอกชื่อและที่อยู่ ผู้ขายสามารถเขียนชื่อลูกค้าว่า “สด” “ลูกค้าไม่ประสงค์ออกนาม”

เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปได้หรือไม่

บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีโดยระบุชื่อผู้ซื้อว่า “สด” โดยไม่ได้ระบุที่อยู่ของผู้ซื้อ เป็นการ
ออกใบกำกับภาษีโดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีความผิดดังนี้
(1) คดีอาญา บริษัทฯ มีความผิดตามมาตรา 90 (12) แห่งประมวลรัษฎากร ต้อง
ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท หากเป็นการพบความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษเปรียบเทียบปรับ
เป็นรายกระทง กระทงละ 100 บาท
(2) คดีแพ่ง บริษัทฯ ไม่มีความผิด
การแก้ไขใบกำกับภาษีที่บริษัทฯ ออกไปแล้วดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถแก้ไขได้

เราสามารถใช้วิธีการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้

ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ระบุ “เลขผู้เสียภาษี” ของผู้ซื้อ

คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูประบุว่า

“กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการแต่อย่างใด”

ปล. ถ้าลูกค้าไม่ได้จด VAT ไม่จำเป็นต้องใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีก็ได้

ใบกำกับภาษีซื้อระบุ “บ้านเลขที่” ไม่ถูกต้อง

กรณีใบกำกับภาษีระบุเลขที่ที่อยู่ไม่ถูกต้องจากเลขที่ 123/4 ออกเป็น 12/34 กรณีดังกล่าวเป็นใบกำกับภาษีที่มีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ถูกต้อง จึงเป็นใบกำกับภาษีต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อมูลผู้ขายสินค้า “เขียนด้วยมือ” แทนการพิมพ์

ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้า ตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ใบกำกับภาษีลืมพิมพ์คำว่า “แขวง…”

กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อ ซึ่งระบุที่อยู่ของผู้ซื้อถูกต้อง แต่มิได้ระบุแขวงไว้ เนื่องจากรายการที่อยู่ของผู้ซื้อ ซึ่งระบุไว้ในใบกำกับภาษี สามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดแจ้งถูกต้อง ตามมาตรา 86/4 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

ใบกำกับภาษีไม่ได้ระบุ “รหัสไปรษณีย์” (หรือกรอกผิด)

รหัสไปรษณีย์ไม่ใช่รายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีซื้อซึ่งระบุรหัสไปรษณีย์คลาดเคลื่อน บริษัทฯ จึงใช้เป็นใบกำกับภาษีซื้อได้

ใบกำกับภาษีเขียนชื่อบริษัทแบบย่อ

กรณีระบุชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามวรรคหนึ่งไม่ครบถ้วนโดยมีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว

ใบกำกับภาษีเขียนจาก “ประเทศไทย” เป็น “ไทยแลนด์”

ลูกค้าซึ่งมีชื่อตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.20 ว่า “บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด” แต่บริษัทฯ ได้ระบุชื่อลูกค้าว่า “บริษัท จ. (ประเทศไทย) จำกัด” ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น หากใบกำกับภาษีมีรายการอื่นถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัท จ. (ไทยแลนด์) จำกัด มีสิทธินำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แต่การออกใบกำกับภาษีในคราวต่อไป บริษัทฯต้องระบุชื่อลูกค้าตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก