พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในครอบครัว

8 ข้อที่ไม่พึงปฏิบัติ อันส่งผลต่อการลดความสัมพันธ์ที่ดี ภายในครอบครัว


ครอบครัว เป็นแหล่งกำเนิดแรกของมนุษย์  และยังเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมต่างๆด้วย ดังนั้น เราต้องศึกษาถึงคำสอนของหลักศาสนบัญญัติที่เกี่ยวกับครอบครัว

ครอบครัวประกอบด้วยสามี ภรรยาและลูก คำสั่งของอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวนั้นชัดเจน กล่าวคือ อิสลามกำหนดให้ผู้ชายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำงานและจัดหาสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แก่ภรรยาและลูก และต้องคุ้มครองคนในครอบครัวให้พ้นจากความชั่วช้าเลวทรามต่างๆ ส่วนผู้หญิงได้กำหนดหน้าที่สำหรับการดูแลบ้าน อบรมและเลี้ยงดูลูก จัดหาความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่สามีและลูก หน้าที่ของลูกคือการเคารพและเชื่อฟังพ่อแม่ และเมื่อเติบโตแล้วจะต้องรับใช้พ่อแม่และจัดหาสิ่งจำเป็นให้แก่ท่านทั้งสอง

สิ่งที่ไม่พึงปฏิบัติ อันส่งผลต่อการลดความสัมพันธ์ที่ดี ภายในครอบครัว

1. แสดงพฤติที่ไม่เหมาะสม การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ แสดงพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ การใช้คำพูดล้อเลียน และดูถูกคู่ครองของตน
2. การไม่ใส่ใจต่อคนรัก คุณไม่ตอบรับ “สลาม” จากคู่ครองของคุณ คุณไม่สนใจฟังเรื่องราวที่เขาพูด และไม่แสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำต่อคำปรึกษาของเขา
3. พูดโกหก อัลลอฮฺ ทรงห้ามผู้ศรัทธา ในการพูดโกหก ซึ่งคุณไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ในการที่จะกระทำการโกหก ขออัลลอฮฺ ทรงปกป้องคุ้มครองพวกเรา ให้พ้นพฤติกรรมที่เลวร้ายนี้ด้วยเถิด อามีน
4. การผิดสัญญา จงรักษาคำสัญญา ที่คุณให้ไว้กับคู่ครองของตนเถิด ซึ่งการรักษาสัญญานั้น เป็นลักษณะของผู้ศรัทธา
5. การไม่โอบกอดคนรัก คุณโอบกอดบรรดาพี่น้องผู้ศรัทธา ที่คุณพบปะในมัสยิด แต่คุณกลับ ไม่โอบกอดภรรยาของคุณ ต่อจากนี้ คุณจงโอบกอดคนรักของคุณเถิด
6. หวาดระแวง และ พูดจานินทา

 
อัลลอฮฺ ตรัสไว้ว่า “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัว ให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย แท้จริง การสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้า อย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้น ชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขา ที่ตายไปแล้ว กระนั้นหรือ? พวกเจ้าย่อม เกลียดมัน และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตา เสมอ” (อัลกุรอ่าน 49 : 12)
7. ไม่มีเวลาให้กับคนรัก จงให้เวลาแก่กันเถิด ทั้งคู่ต่างมีสิทธิ์ ในตัวของแต่ละฝ่าย ดังนั้น ให้สิทธิ์แก่คนรักของคุณเถิด และคุณก็จะได้รับสิทธิ์ของคุณจากเขาด้วย
8. การหลีกห่างจากการเคารพภักดีอัลลอฮฺ อัลลอฮฺ นั้น ไม่ทรงพึงพอพระทัย กับบุคคลที่หลีกห่าง จากทางนำของพระองค์ ผู้ที่ละเลยต่อการเคารพภักดีพระองค์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้ เป็นเหตุทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นมา จนกระทั่งนำไปสู่การแยกทาง ดังนั้น จงรีบกลับไปสู่การเป็นบ่าวผู้ภักดีของอัลลอฮฺ อย่างเร็วที่สุด
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:   สุวัฒน์ อิสมาแอล
islamhouse.muslimthaipost.com

    ครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันแรกที่มีบทบาทต่อบุคคลในการอบรมบ่มนิสัย ครอบครัวเป็นแบบหล่อสมาชิกใหม่ของสังคม แบบหล่อที่ดีคือบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะช่วยให้เกิดความสุขความเจริญแก่สังคม และคุณสมบัติบางอย่างที่จะช่วยให้เกิดผลดี เช่น ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต นอกจากแบบหล่อที่ดีแล้ว ถ้าจะให้ครอบครัว และสมาชิกใหม่เป็นคนมีคุณภาพย่อมต้องอาศัยการปลูกฝัง การขัดเกลา การให้ความรัก ความอบอุ่นแก่สมาชิก ฯลฯ ถ้าทั้งพ่อแม่มีคุณภาพ สังคมย่อมมีคุณภาพ เพราะพ่อแม่จะเป็นแบบอย่างของลูก ๆ และของสมาชิกอื่นในครอบครัว

    ความหมาย

    จอร์จ เมอร์ดอค (George Murdock) อธิบายว่า ครอบครัว หมายถึง กลุ่มทางสังคมโดยพิจารณาจากลักษณะต่างๆ คือ มีที่อยู่อาศัยร่วมกัน มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ และการผลิตสมาชิกใหม่ ครอบครัวจะประกอบด้วยบุคคลทั้งสองเพศ และอย่างน้อยบุคคลทั้งสองเพศนี้ต้องมีความสัมพันธ์ทางเพศในรูปแบบที่สังคมยอมรับและมีบุตรของตนเอง หรือบุตรบุญธรรมก็ได้

    หน้าที่ของครอบครัว

    การที่มนุษย์จะมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น ตามบรรทัดฐานสากลที่ปฏิบัติจะต้องมีการแต่งงานกัน และทุกสังคมก็ยึดถือหลักการนี้ แต่วิธีการอาจแตกต่างกันออกไปตามค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละสังคม หน้าที่ของครอบครัวมีดังนี้

    1. ควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศ ครอบครัวเป็นสถานที่แสดงออกของความสัมพันธ์ทางเพศที่สังคมยอมรับ

    2. ให้กำเนิดบุตร ทั้งนี้เพื่อช่วยให้สังคมยังคงมีอยู่สืบไป

    3. เลี้ยงดูและป้องกันอันตรายให้เด็ก เพื่อให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่

    4. อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม

    5. กำหนดสถานภาพตำแหน่งหน้าที่ให้กับสมาชิกใหม่ตั้งแต่แรกเกิด

    6. ให้ความรักและความอบอุ่น ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ประการหนึ่ง

    7. หน้าที่ทางเศรษฐกิจ ทำหน้าที่ผลิตอาหารและแสวงหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆค่านิยม




ค่านิยม หมายถึง “ระบบความชอบพิเศษเพราะสิ่งที่เราชอบมาก เราจะให้คุณค่ามากกว่าสิ่งที่
เราไม่ชอบ ค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่บุคคลพอใจ หรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ว่าอะไรควรประพฤติ
และอะไรไม่ควรประพฤติ แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อหรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

เบอร์นาร์ด ฟิลลิปส์ (Bernard Phillips) กล่าวว่าค่านิยม หมายถึง เป้าหมายต่างๆ ที่สมาชิกมีร่วม

กันอย่างกว้างขวางภายในสังคม รวมทั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม เช่น การมีรายได้สูงๆ การมีรถคัน

ใหม่ และเป้าหมายที่เป็นนามธรรม เช่น ความรัก เป็นต้น

    กล่าวโดยสรุปคือ ค่านิยม หมายถึง การนิยมชมชอบหรือการตีค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหมายถึง สิ่งที่บุคคลสนใจจนสามารถ ยึดถือปฏิบัติเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ค่านิยมเป็นความเชื่อว่าอะไรดี ไม่ดี ไม่ควร เช่น เราเชื่อว่าการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่ดี ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งดี ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นสิ่งที่บุคคลพอใจ หรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ว่าอะไรควรประพฤติและอะไรไม่ควรประพฤติแล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อหรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง เมื่อบุคคลตัดสินใจว่าสิ่งที่เขาเห็นว่ามีค่า ก็จะนำมาเป็นแนวปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมไปตามแนวทางของค่านิยมที่ตนยอมรับ ค่านิยมจะแฝงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อ ตลอดไปจนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับการเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ และต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติของบุคคลโดยตรงและหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพซึ่งมีทั้งด้านดีและด้านเสีย เช่น คนตะวันตกมองว่าชาวตะวันออกขาดความกระตือรือร้น ส่วนคนตะวันออกก็มองว่าชาวตะวันตกนิยมวัตถุและเห็นแก่ตัว เป็นต้นค่านิยม

ประเภทของค่านิยม

ค่านิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ค่านิยมเฉพาะตัว (Individual Value) หมายถึง ความเชื่อหรือการตัดสินใจทางบุคคลในการ
เลือกในสิ่งหรือสถานการณ์ที่ตนต้องการหรือพอใจ
2. ค่านิยมสังคม (Social Value) หมายถึง ความชอบพิเศษที่คนในแต่ละสังคมที่อยู่ กล่าวคือ 
สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและควรแก่การปฏิบัติสิ่งนั้นหรือสถานการณ์
นั้นๆ เป็นค่านิยมร่วมกันของคนในสังคม


อิทธิพลของค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล

    ค่านิยมไม่ว่าจะเป็นค่านิยมเฉพาะตัวหรือค่านิยมสังคมล้วนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล 

ดังนี้คือ


1. ช่วยให้บุคคลเลือกนิยมสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าสิ่งอื่น

2. ช่วยให้บุคคลกำหนดท่าทางของตน หรือแสดงจุดยืนของตนต่อเหตุการณ์หรือเรื่องต่างๆ 
ที่ต้องเผชิญ

3. ช่วยสร้างมาตรฐานและแบบฉบับจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคล

4. ช่วยให้บุคคลกำหนดความคิดและแนวทางปฏิบัติ

5. ช่วยเสริมสร้างหลักศีลธรรม

6. มีอิทธิพลเหนือบุคคลในการเลือกคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นและเลือกกิจกรรมทางสังคม 

7. ช่วยในการประเมิน การตัดสิน การชื่นชมยกย่อง และการตำหนิติเตียน ในการกระทำของ
ตนเอง
          
      8. เป็นจุดกลางของการศึกษากระบวนการเปรียบเทียบ

9. ช่วยในการชักชวน คือ ค่านิยมสามารถบอกบุคคลได้ว่า ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมหรือ
การกระทำอันใดมีค่าพอที่บุคคลจะท้าทาย                                               
10. ใช้เป็นฐานสำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิดและการกระทำของบุคคล
      
      11. ทำให้มนุษย์ประพฤติและแสดงตัวต่อผู้อื่นตามที่ตนเองประพฤติเป็นปกติทุกวัน                                                                                                            

วิธีการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์

การปลุกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์อาจทำได้หลายวิธี เช่น กำหนดเงื่อนไขโดยการสร้าง
แรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบเพื่อให้ค่านิยมนั้นฝังแน่นในจิตใจของบุคคลนานตราบ
เท่าที่ต้องการ การจะสร้างค่านิยมให้เกิดขึ้นในบุคคลใด มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ชี้แจงให้เขาเข้าใจด้วยเหตุผลว่าค่านิยมนั้นเป็นอย่างไร มีความสำคัญหรือเกิด
ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร
2. ให้เขาใช้วิจารณญาณของตัวเองในการพิจารณาถึงประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากการยึด
ค่านิยมเหล่านั้นเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิต

3. ตัดสินใจเลือกยึดถือค่านิยมที่ดีและถูกต้องจากการประเมินด้วยเหตุผลของตัวเอง

4. ยึดค่านิยมต่างๆ เหล่านั้นเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ถ้าบุคคลรู้สึกถึงคุณค่าของ
ค่านิยมต่างๆ ที่เขายึดถือนั้นเป็นสิ่งที่ดี


หน้าที่ของบุคคลในครอบครัว
สามีมีหน้าที่ 5 ประการคือ 

1. ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่งภรรยา 

2. ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นภรรยา

3. มีความซื่อสัตย์ ไม่นอกใจ

4. มอบความเป็นใหญ่ 

5. หาเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับมามอบให้ภรรยามีหน้าที่ 5 ประการคือ


1. จัดดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย

      2. ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี 

      3. ซื่อสัตย์ไม่ประพฤติผิดนอกใจ

4. ช่วยประหยัด ดูแลรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 

5. ขยัน ไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

และเมื่อสามี ภรรยาครองชีวิตคู่จนให้กำเนิดบุตรธิดาแล้ว กล่าวคือ เมื่อเรารู้ว่าพ่อแม่พึง

อนุเคราะห์บุตรธิดาสถาน 5 คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาศิลปวิทยา

หาคู่ครองที่สมควรให้ และมอบทรัพย์ให้ ดังนั้นอาจสรุปหน้าที่ที่บุคคลควรมีในครอบครัวเป็นหลัก

ใหญ่ ๆ ได้ดังนี้



1. พ่อแม่ พึงต้องให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดูลูก

2. ลูก พึงต้องเคารพเชื่อฟัง และมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่

3. สามี พึงต้องยกย่องเลี้ยงดูและซื่อสัตย์ต่อภรรยา

4. ภรรยา พึงต้องยกย่องซื่อสัตย์และดูแลทรัพย์ของสามี


วินัยที่ควรมีในครอบครัว
วินัย หมายถึง ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติเพื่อให้อยู่ในระเบียบแบบแผน 

การดำเนินชีวิตในครอบครัวให้มีความสุขได้นั้น ควรมีข้อพึงปฏิบัติร่วมกันในครอบครัว หรือมีวินัย

ในครอบครัว เพราะวินัยจะช่วยให้การปฏิบัติตามหน้าที่สมบูรณ์ขึ้น พ่อแม่อาจสร้างข้อพึงปฏิบัติให้

เกิดขึ้นในครอบครัวได้โดยการเป็น

ตัวแบบที่ดี และปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีให้กับบุตรธิดา ซึ่งอาจกระทำได้ดังนี้

1.การสร้างระเบียบวินัย อาจกระทำได้โดยที่พ่อแม่ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น 
เพื่อที่สมาชิกในครอบครัวจะได้ปฏิบัติตาม เช่น ตื่นนอนตอนเช้า ต้องเก็บที่นอนให้เรียบร้อย 

ผ้าห่มพับเก็บให้เป็นที่ ต้องแปรงฟันล้างหน้า ล้างมือก่อนที่จะกินข้าว ไปทำงานให้ตรงเวลา หรือพ่อแม่อาจสร้างกฎเกณฑ์ให้กับครอบครัว เพื่อให้
สมาชิกในครอบครัวทำตามและทำจนเป็นนิสัย เช่น กลับจากโรงเรียนเมื่อมาถึงบ้านแล้วให้
ถอดรองเท้า ถุงเท้า 
เก็บไว้ให้เป็นที่เป็นทาง2. ความซื่อสัตย์ พ่อแม่ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างแก่สมาชิกในครอบครัว ไม่พูดโกหกหลอก
ลวง เช่น พ่อแม่พาลูกไปทำฟันแล้วบอกว่าจะซื้อรถของเล่นให้หนึ่งคัน แต่พอลูกทำฟันเสร็จแล้วก็ไม่ซื้อให้ ถ้าสอบ
ได้ที่หนึ่งจะให้ 500 บาท แต่พอได้ที่หนึ่งจริง ๆ ก็ไม่ให้ ต่อไปเวลาทำอะไรลูกจะไม่เชื่อ

3. ความขยัน มานะ อดทน พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก มีความขยัน เช่น เมื่อมีเวลาว่าง
ก็จะหางานมาทำ หาหนังสือมาอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตนเอง เป็นคนที่มีความอดทนต่อความยาก
ลำบาก ถึงจะเหนื่อยแค่ไหนก็ต้องทำให้เสร็จ อดทนเพื่อความสำเร็จ เช่น ขยันศึกษาเล่าเรียน
จนประสบความสำเร็จ4. ความรับผิดชอบ พ่อแม่อาจสร้างกฏเกณฑ์ขึ้นมาภายในครอบครัว เช่น มีลูก 3 คน เวลากิน
ข้าวเสร็จแล้วก็จัดให้ล้างจานเป็นเวรไป เวรละคน ทุกคนต้องรับผิดชอบในหน้าที่ ถ้าหากไม่
เสร็จก็อาจจะมีการลงโทษกันบ้างตามความเหมาะสม สอนลูกให้รับผิดชอบตัวเองโดยให้ซักถุงเท้าเอง เป็นต้น
5. ความมีน้ำใจ อาจสร้างได้โดยการทำตัวอย่างให้เห็น เช่น เมตตาต่อสัตว์ ช่วยเหลือและ
เอื้อเฟื้อ คนชรา รู้จักให้ทาน บางครั้งอาจให้เหตุผลเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้อื่น การสอนให้ลูก ๆ รู้จักทำบุญให้
ทาน การสอนให้รู้จักแบ่งปันกัน รวมทั้งตัวพ่อแม่ไม่แสดงความเห็นแก่ตัว แนวปฏิบัติดังกล่าว
ย่อมสร้างความมีน้ำใจขึ้นในสมาชิกของครอบครัวได้

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในครอบครัวมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน มีอยู่ 4 ประการ คือ ใช้อำนาจแก้ไขปัญหาโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้กำลังในการตัดสินปัญหา เช่น พี่น้องชกต่อยกัน พ่อแม่ตีลูก หลบหน้าหรือไม่พูดคุยกัน ทำให้ไม่ได้ปรับความเข้าใจจนเกิดความบาดหมางกันไป

พฤติกรรมที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง

1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง.
มีระเบียบวินัย.
มีความรับผิดชอบ.
มีสุขภาพดี.
มีความซื่อสัตย์.
รู้จักประหยัด.
มีความขยันอดทน.
ใฝ่เรียนใฝ่รู้.
มีนิสัยรักการอ่าน.

พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในกลุ่มเพื่อนมีอะไรบ้าง

ข้อที่ 1 อยู่ข้างๆ เสมอในทุกสถานการณ์ ข้อที่ 2 โอบอ้อมอารี, คอยรับฟัง, เป็นคนสนุกสนาน, จริงจังเมื่อถึงคราวจำเป็น และที่สำคัญคือให้อภัยกันเสมอๆ ข้อที่ 3 อย่ากลัวที่จะบอกความจริงต่อกันไม่ว่ามันจะยากแค่ไหนก็ตาม ข้อที่ 4 แนะนำซึ่งกันและกันในเวลาที่ต้องการ ด้วยความคิดที่ซื่อสัตย์ของคุณ

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง

10 พฤติกรรมไม่น่าคบหา ที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว.
1.พูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง ... .
2.สนใจแต่ภายนอก ละเลยสิ่งที่อยู่ภายใน ... .
3.ชอบแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ... .
4.มองมิตรเป็นศัตรู ... .
5.คอยทวงถามแต่ความสำคัญของตัวเอง ... .
6.ชอบออกคำสั่ง ... .
7.ไม่ซื่อสัตย์ ... .
8.หยาบคาย.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก