การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี

อินเทอร์เน็ตเหมือนดั่งโลกที่ไร้พรมแดน เราสื่อสารกันได้โดยที่ไม่ต้องเห็นหน้า ทำให้คนที่อยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้กัน และสามารถค้นคว้าทุกอย่างได้เพียงปลายนิ้ว จึงไม่แปลกเลยที่อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากกับคนทุกเพศ ทุกวัย ในสังคมไทยปัจจุบันซึ่งกำลังมุ่งสู่สังคมแบบดิจิทัลกล่าวคือ เราสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเทคโนโลยี ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกัน และผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่สังคมดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมใช้เล่นโซเชียลมีเดียด้วยแล้ว ย่อมทำให้พฤติกรรมของเยาวชนในยุคนี้เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนที่เล่นของเล่น ออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ ข้างนอกซะส่วนใหญ่ ตอนนี้เด็ก ๆ อาจจะอยากจับไอแพด เล่นโทรศัพท์เพื่อคุยกับเล่นกับเพื่อนในไลน์ หรือเฟซบุ๊กมากกว่าแต่ก่อน

ขอบคุณภาพจาก tirachardz

แม้ว่าบางทีเด็ก ๆ สมัยนี้อาจจะใช้เทคโนโลยีหรือเล่นอินเทอร์เน็ตเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่ในแง่ประสบการณ์นั้นยังถือว่าน้อยกว่า ทำให้บางครั้งอาจมีความเสี่ยงจากการเล่นอินเทอร์เน็ตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การชอปปิ้งออนไลน์มากจนเกินไป การติดเกมออนไลน์ การถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น จนก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ซึ่งมีงานวิจัยของ The University of Leeds มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ ที่ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,319 คน ที่มีช่วงอายุระหว่าง 16 - 51 ปี พบว่าโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้ามีความสัมพันธ์อย่างมากกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ติดอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป วันนี้เราเลยนำวิธีการสอนให้ลูกรู้เท่าทันอินเทอร์เน็ตมาฝากคุณพ่อ คุณแม่เพื่อนำไปปรับใช้ในการปลูกฝังให้ลูกรู้เท่าทันวิธีการใช้โซเชียลมีเดีย และเทคโนโลยีต่าง ๆ ว่าเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย และจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต

ขอบคุณภาพจาก tirachardz

1.จำกัดเวลาที่ใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม ในเด็กเล็ก ๆ พ่อแม่ควรจำกัดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตของลูก โดยควรทำข้อตกลงกับลูกว่าให้เล่นวันละกี่ชั่วโมง พร้อมอธิบายเหตุผลกับลูกว่าที่จำกัดชั่วโมงการเล่นเพราะอะไร เช่น เล่นนานจะสายตาเสีย หรือทำการบ้านไม่เสร็จ เป็นต้น ตรงจุดนี้ถ้าลูกทำได้จะช่วยปลูกฝังให้เขามีระเบียบวินัย และรักษาสมดุลระหว่างชีวิตจริง และโลกออนไลน์ได้

2.ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต ทุกวันนี้มีมิจฉาชีพอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากมาย พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกระวังการอัพข้อมูลส่วนตัวลงในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน การเช็คอินว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ที่อยู่ เบอร์โทรต่าง ๆ หรือการใช้ Wi-Fi สาธารณะกรอกข้อมูลส่วนตัว เพราะอาจทำให้มิจฉาชีพเข้ามาแฮ็กข้อมูลไปหาประโยชน์ได้ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรศึกษา และให้ความรู้กับลูกในเรื่องนี้เพื่อเตรียมพร้อม และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

3. ก่อนโพสต์ และแชร์ควรไตร่ตรองให้ดีก่อน พ่อแม่ควรแนะนำถึงการโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น ให้ระวังคำหยาบ การกลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) รวมถึงควรแนะนำให้ลูกระมัดระวังการแชร์ข้อมูลบนโซเชียล เนื่องจาก ถ้าแชร์ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ข้อมูลลามก อนาจาร อาจมีความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรู้เรื่องพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ หรือลักษณะของข้อความที่เข้าข่าย Cyberbullying กับลูกคร่าว ๆ ด้วย

4.สอนลูกว่าไม่ควรบอก Username และ Password แก่ผู้อื่น เนื่องจาก Username และ Password จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวของเราได้ พ่อแม่จึงควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรบอกข้อมูลเหล่านี้กับผู้อื่น และไม่ควรล็อกบัญชีโซเชียลมีเดียทิ้งไว้ในคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน และคอมที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจมีคนนำข้อมูลของเราไปทำเรื่องเสียหาย หรือใช้หลอกลวงผู้อื่นได้

5.สอนลูกเกี่ยวกับภัยบนอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ทุกวันนี้เราไม่รู้เลยว่าเมื่อเข้าไปในอินเทอร์เน็ตแล้วลูกจะเจอกับเนื้อหาแบบไหนบ้าง พ่อแม่จึงควรสอนให้ลูกรู้จักภัยอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น เช่น การโดนโกงเงินจากการชอปปิงออนไลน์ การโดนกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) การโดนล่อลวงไปกระทำมิดีมิร้าย และโดยเฉพาะเว็บพนันออนไลน์ที่มักเด้งขึ้นมาให้เรากดเข้าไปเล่น พ่อแม่ต้องระวังให้มากเนื่องจากเด็กเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง อาจจะกดเข้าไปเล่นจนติดได้ 

6.ตรวจเช็คค่าใช้จ่ายในการเล่นอินเทอร์เน็ต  พ่อแม่ควรหมั่นเช็คค่าใช้จ่ายในการเล่นอินเทอร์เน็ตของลูกอยู่เสมอ เพราะลูกอาจจะเอาไปซื้อของออนไลน์ หรือเติมเกมโดยไม่ได้บอกทำให้เสียทรัพย์สินไปมากมาย ตรงจุดนี้พ่อแม่ต้องระมัดระวัง และคอยตรวจสอบการผูกบัตรเครดิตทิ้งไว้ หรือบัญชี Internet Banking ไว้ในโทรศัพท์ลูกด้วย เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังทำให้เด็ก ๆ ติดเป็นนิสัยซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริการจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของตัวเองในอนาคต

การใช้อินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นพ่อแม่จึงควรรู้วิธีที่จะรับมือกับลูก และสอนให้ลูกรู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ เพื่อแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดกับเด็กจากการใช้อินเทอร์อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในอนาคตต่อไป 

อินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่องทางสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็วอีกทั้งยังสะดวกสบายต่อเรามาก รวมถึงธุรกิจห้างร้านที่ต้องใช้ในการค้าขายใช้ธุรกรรมการเงินทางอินเทอร็เน็ต การใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยก็จะเกิดภัยคุกคามต่างๆได้ เช่น โดนโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเพื่อขโมยเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ หรือถูกหลอกล่วงเกี่ยวกับการค้า เป็นต้น

จากที่กล่าวมา เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้

1.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

2.ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ

3.ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

4.ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต

5.ระมัดระวังการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ

6.สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครูถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

7.ไม่เผลอกดบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ

8.ไม่ควรบันทึกภาพ วีดีโอ หรือเสียงที่ไม่เหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ

 

9.จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ

10.จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์

11.จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์

 

 

12.ควร Block ในโปรแกรม P2P

13.กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advior ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

มีวิธีใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้ถูกต้อง

วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย.
1. เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ... .
2. เปิดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณไว้ ... .
3. เลือกเว็บเบราเซอร์ที่ปลอดภัย ... .
4. ตรวจสอบว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณมีความปลอดภัย ... .
5. ระวังสิ่งที่คุณดาวน์โหลด.

ข้อตกลงในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

ข้อตกลงในการใช้งานอินเตอร์เน็ต.
1. ใช้ภาษาที่สุภาพและเหมาะสม 1.1 ไม่ใช้คำหยาบ ล้อเลียน หรือด่าทอผู้อื่น ... .
2. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม 2.1 ไม่เปิดเผยข้อมูลเท็จที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ... .
3. เคารพสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น 3.1 ไม่ใช้งานหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น.

การใช้งาน อินเทอร์เน็ต ที่ ถูก ต้อง ควรปฏิบัติ อย่างไร ยก ตัวอย่าง มา อย่าง น้อย 3 ข้อ

ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย * ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ * ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

วันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย คืออะไร

Safer Internet Day หรือ วันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เป็นวันที่ตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลก อาทิ บริษัทฯ ห้างร้าน สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมีความรับผิดชอบ สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก