การถ่ายสําเนาบัตรประชาชน 2565

Advertisement

ทนายเตือน ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ไม่ควรถ่ายด้านหลัง อย่าเปิดเลข Laser ID จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด แนะหน่วยงานที่ยังไม่เข้าใจ เจ้าของบัตรต้องปิดเลข

เพจ  ลุงทนายใจดี ปรึกษากฎหมายฟรี เตือน สำเนาบัตรประชาชนรุ่นปัจจุบัน ไม่ควรถ่ายด้านหลังบัตรไปพร้อมกับด้านหน้า โดยระบุข้อความว่า “หลังบัตรจะมีชุดตัวเลขอยู่ เรียกว่า Laser ID ซึ่งปัจจุบันภาครัฐ เช่นสรรพากร, ตำรวจ, กระทรวงต่างๆ, กรมต่างๆ ฯ รวมถึงภาคการเงินบังคับใช้ Laser ID นี้ในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตน ควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

เรียกว่า e-KYC(Electronic – Known Your Client) App. ที่เกี่ยวข้องกับเงินหรือกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกค์(Wallet) ต้องใช้ทั้งหมด(แบงค์ชาติควบคุม)

หากข้อมูลหน้าบัตรประชาชนหลุดไปก็อันตรายมากพอแล้ว ยิ่งข้อมูล Laser ID หลุดไปด้วย ยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณ เหมือนเลขบัตรเครดิตหลุดไปพร้อมกับ CVV หลังบัตร

หากสถานที่ไหนไม่เข้าใจ ยืนยันว่าต้องถ่ายบัตรหน้าหลัง ให้เราถ่ายจากบัตรคนละใบให้เขาครับ ด้านหน้าบัตรเรา ด้านหลังบัตรคนอื่นครับ หรืออย่างน้อยปิดเลขตอนถ่าย

ส่วนเว็ปหรือ App. ไหนให้กรอก Laser ID ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ถ้าเป็นสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่นหน่วยงานราชการ, สถาบันการเงิน, Wallet ของบริษัทใหญ่น่าเชื่อถือ ก็ใส่ได้ครับ ระวังเจอเว็ปปลอม App. ปลอม หรือฟิชชิ่งครับ ดูให้แน่ใจว่าใช่หน่วยงานนั้นแท้ๆ

นอกจากนี้ ยังให้ความรู้ ว่า

– สมัยก่อนวันหมดอายุบัตรประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง

– สมัยนี้จริงๆไม่ควรใช้สำเนาแล้ว ควรดึงข้อมูลจากชิพการ์ดหน้าบัตร แต่ยังไม่แพร่หลาย ก็ยังใช้สำเนากันอยู่ แต่ด้านหลังไม่ควรต้องถ่ายแล้ว

– กรมการปกครองประกาศตั้งแต่ 22 มีนาคม 2556 ว่าหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ยังจำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ควรถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียว (ประกาศที่ มท ๐๓๐๙.๒/ว ๖๘๕๓)

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

สยามรัฐออนไลน์ 23 มกราคม 2565 15:52 น. วาไรตี้-โซเชียล

วันที่ 23 ม.ค.65 เว็บไซต์ "Anti-Fake News Center Thailand" เผยแพร่ข้อความระบุว่า .... สำหรับช่วงเวลานี้ข้อมูลบนบัตรประชาชนถูกนำมาใช้รับสิทธิต่างๆ หรือการส่งข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์หลากหลายรูปแบบหลากหลายช่องทาง ดังนั้น เราจึงควรพึงระมัดระวัง และรอบคอบให้มากขึ้น ด้วย 5 วิธีดังนี้ 1.ถ่ายหน้าบัตรประชาชนเพียงด้านเดียว และไม่ถ่ายหลังบัตร 2.ขีด 2 เส้น ทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ห้ามขีดทับใบหน้า 3.ระหว่างเส้นให้เขียนว่า “ใช้เพื่อ…(เรื่องที่ทำ)…เท่านั้น” พร้อมเขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมข้อความ 4.เขียน วัน/เดือน/ปี ที่ใช้ สำเนาบัตรประชาชน 5.เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อม “เซ็นชื่อรับรอง” เพื่อป้องกันการลบ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย แนะวิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชน ให้ปลอดภัย ป้องกันการถูกสวมรอย

24 ม.ค.65 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย แนะวิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชน ให้ปลอดภัย ป้องกันการถูกสวมรอย โดยระบุว่า

สำหรับช่วงเวลานี้ข้อมูลบนบัตรประชาชนถูกนำมาใช้รับสิทธิต่างๆ หรือการส่งข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมออนไลน์หลากหลายรูปแบบหลากหลายช่องทาง ดังนั้น เราจึงควรพึงระมัดระวัง และรอบคอบให้มากขึ้น ด้วย 5 วิธีดังนี้

1. ถ่ายหน้าบัตรประชาชนเพียงด้านเดียว และไม่ถ่ายหลังบัตร

2. ขีด 2 เส้น ทับสำเนาบัตรประชาชน แต่ห้ามขีดทับใบหน้า

3. ระหว่างเส้นให้เขียนว่า “ใช้เพื่อ…(เรื่องที่ทำ)…เท่านั้น” พร้อมเขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมข้อความ

4. เขียน วัน/เดือน/ปี ที่ใช้ สำเนาบัตรประชาชน

5. เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อม “เซ็นชื่อรับรอง” เพื่อป้องกันการลบ

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

ทำไมถึงห้ามถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหลังโดยเด็ดขาด

  1. มีเลข Laser ID ที่ต้องใช้ร่วมกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการเงินใช้ทำธุรกรรม ตรวจสอบ และยืนยันตัวตน
  2. อาจถูกสวมรอยนำข้อมูลในบัตรไปใช้ในทางผิดกฎหมาย

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องถ่ายด้านหลังบัตร หรือต้องกรอกข้อมูลเลข Laser ID ให้ดำเนินการตามนี้

  1. หากบางหน่วยงาน ยืนยันว่าต้องถ่ายสำเนาบัตรทั้งด้านหน้าและหลัง ให้เราปิดเลข Laser ID ตอนถ่ายสำเนา
  2. หากต้องกรอกข้อมูลเลข Laser ID ด้านหลังบัตร ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นเหล่านั้น เป็นของหน่วยงานราชการและสถาบันการเงินจริงหรือไม่ และระวังเรื่องเว็บไซต์ปลอม

ที่สำคัญ! หากต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในการยืนยันต่างๆ ให้ถ่ายสำเนาเฉพาะด้านหน้าบัตรเท่านั้น เพราะโดยลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุวัตถุประสงค์และวันที่ให้ชัดเจนทุกครั้ง

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม 

  1. ในอดีตวันหมดอายุบัตรประจำตัวประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง
  2. ปัจจุบันสามารถใช้ข้อมูลจากในชิปการ์ดด้านหน้าบัตร แต่อาจจะยังไม่แพร่หลาย จึงมีบางหน่วยงานยังต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนอยู่
  3. กรมการปกครองประกาศมีประกาศตั้งแต่ 22 มีนาคม 2556 ว่าหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ยังจำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ควรถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียว (ประกาศที่ มท ๐๓๐๙.๒/ว ๖๘๕๓)

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เพจลุงทนายใจดี ปรึกษากฎหมายฟรี และ Workpoints News

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก