ส่วนประกอบ ของโปรแกรม Adobe Photoshop CS3

       ในปัจจุบันการสร้างภาพกราฟิกนับว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะภาพกราฟิกจะถูกใช้ในหลาย ๆงานด้วยกัน เช่น งานออกแบบสิ่งพิมพ์ วารสาร นิตยสาร โปรชัว แผ่นพัก งานโฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ งานออกแบบบเว็บไซต์ ตลอดจนการตกแต่งรูปภาพของผู้ใช้โดยทั่วไป เมื่อนึกถึงโปรแกรมการตกแต่งภาพคนโดยทั่วไปก็จะนึกถึงแต่    โปรแกรม Photoshop ที่ครองใจนักแต่งภาพทั้งมือสมัครเล่น ไปจนถึงช่างภาพมืออาชีพ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งยังไม่มีโปรแกรมใด ๆ มาเทียบหรือแทนที่ได้ อาจจะเป็นเพราะความสามารถในการทำงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และให้ผลลัพท์ของการทำงานได้ตามต้องการความนิยมในตัวโปรแกรมจึงไม่เคยที่จะลดน้อยถอยลงโปรแกรม Photoshop CS3 เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการตกแต่งภาพกราฟิกให้สวยงาม เช่น แก้ไขภาพที่บกพร่องหรือมีตำหนิ ตกแต่งภาพ ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกตัดต่อภาพโดยการย้ายภาพคนหรือสิ่งของจากภาพถ่ายหนึ่งไปอยู่อีกฉากหลังหนึ่งใส่เอฟ เฟ็คต์ได้ตามที่ต้องการสามารถสร้างภาพกราฟิกให้ผสมผสานระหว่างภาพถ่ายและภาพวาดสร้างภาพเพื่อไปใช้ในงานเว็บเพจ เป็นต้น

          การสร้างภาพกราฟิกโดยใช้ Photoshop CS3 ควรคำนึงถึงทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเพื่อให้การสร้างงานกราฟิกเป็นไปด้วยความสะดวกแต่ถ้าสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ต่ำจะทำให้ไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร ดังนั้น สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับ Photoshop CS3 ควรเป็นดังนี้

CPU = Pentium lll ขึ้นไป

RAM = 512 MB ขึ้นไป

Hard Disk = 40 GB เป็นอย่างต่ำ

ระบบปฏิบัติการ =  Window XP Pack 2 ขึ้นไป

Monitor =  ควรมีความละเอียดอย่างน้อย 1280 x 764 pixel การ์ดจอแสดงสีได้ตั้งแต่ 256 สีขึ้นไป

1.  คลิกที่ปุ่ม Start 

2.  คลิกเลือก All Programs คลิกเลือก Adobe Photoshop CS3

3.  จะเข้าสู่โปรแกรม Adobe Photoshop CS 3 ดังนี้

        เมื่อเปิดโปรแกรม Adobe Photoshop CS3 ขึ้นมาจะเห็นหน้าของ Adobe Photoshop CS3 จากเดิม เป็นอย่างมาก หน้าตาของพาเลตต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนเดิม แต่ยังคงรูปแบบของ Adobe Photoshop ไว้ในกล่องเครื่องมือมีเครื่องมือใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้นีการปรับรูปแบบให้สวยงามและเพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

         คือ แถบด้านบนสุดของวินโดว์ ใช้แสดงชื่อของโปรแกรมและชื่อไฟล์ที่กำลังจะสร้างขึ้นมา อยู่ในมุมด้านซ้ายมือ พร้อมกับปุ่มควบคุมการทำงานของวินโดว์สำหรับทำการพัก   / ขยายวินโดว์ และปิดโปรแกรมอยู่ทางมุมด้านขวามือ

             เป็นเมนูหลักที่ใช้สั่งการของโปรแกรม ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์ภาพ ทำงานกับภาพ และปรับค่าต่าง ๆ โดยเเมนูย่อย ๆ ให้เลือกใช้งานมนูนี้มี

File  =  เมนูสำหรับจัดการไฟล์ภาพ การพิมพ์ และการทำงานอัตโนมัติ

Edit =  เมนูคำสั่งที่ใช้แก้ไขรูปภาพและปรับการทำงานของโปรแกรม

 Image  =  เมนูสำหรับปรบแต่งสี แสงเงา และขนาดของภาพ

Layer  =  เมนูจัดการกับเลเยอร์

Select  =  เมนูสำหรับการจัดการกับ Selection

 Filter  =  เมนูสำหรับใส่ฟิลเตอร์ให้รูปภาพ

View  =  เมนูสำหรับใช้ปรับแต่งเครื่องมือนับ วัดระยะ และคำนวณพื้นที่

 Window  =  เมนูคำสั่งในการจัดการพาเลตและแถบเครื่องมือต่าง ๆ

Help  =  เมนูสำหรับเปิดูข้อมูล ช่วยเหลือและแนะนำในการทำงานต่าง ๆ

 

      เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ รายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยน  ไปตามเครื่องมือที่เลือกใช้ เช่น    

    Pen Tool เป็นการวาดภาพด้วปากกา ไม่ว่าจะเป็นการวาดอิสระหรือมีรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ มาให้เลือก เป็นต้นOption Bar เมื่อเลือกเครื่องมือ   
 Pen Tool เมื่อเลือกเครื่องมือที่ต้องการใช้งานจากแถบตัวเลือกแล้ว จะได้แถบเมนูย่อยของเครื่องมือที่เลือก ดังตัวอย่าง

Option Bar เมื่อเลือกเครื่องมือ   

    Brush Tool

       ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทีจำเป็นสำหรับการทำงานใน Photoshopเนื่องจากมีเครื่องมือเป็นจำนวนมาก จึงมีการรวบรวมเครื่องมือบางอย่างที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน ไว้ในปุ่มเดียวกัน โดยมีจะมีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมสีดำอยู่ที่มุมขวาล่าง     

    เพื่อบอกว่ายังมีเครื่องมีอื่นซ่อนอยู่อีก

        กล่องเครื่องมือ Toolbox ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดภาพ ตกแตกแต่งภาพ และแก้ไข ภาพ โดยบนปุ่มหนึ่ง ๆ จะมีปุ่มที่ซ่อนด้วยหลายเครื่องมือ หลายชิ้นอยู่รวมกัน

  การเปิด / ปิด Toolbox ทำได้โดยเลือกคำสั่ง Window > Tools

กล่องเครื่องมือ Toolbox สำหรับการตกแต่งภาพ ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ

 เครื่องมือกลุ่ม Marquee

เครื่องมือกลุ่ม Dodge

เครื่องมือกลุ่ม Lasso

เครื่องมือกลุ่ม Path Selection

  เครื่องมือกลุ่ม Slice

เครื่องมือกลุ่ม Pen

 เครื่องมือกลุ่ม Healing Brush

 เครื่องมือกลุ่ม Type

เครื่องมือกลุ่ม Stamp

เครื่องมือกลุ่ม History Brush

 เครื่องมือกลุ่ม Rectangle

 เครื่องมือกลุ่ม Gradient

 เครื่องมือกลุ่ม Note

เครื่องมือกลุ่ม Eyedropper

เครื่องมือกลุ่ม Blur 

รายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพ มีดังนี้

1.  กลุ่มเครื่องมือการเลือก (Selection) ประกอบด้วย 

Marquee  =  ใช้สำหรับเลือกพื้นที่บนภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือเลือกเป็นแถวคอลัมน์ขนาด 1 พิเซล

Move  =  ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือกไว้ของภาพ หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้ายเส้นไกด์

Lasso  =  ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ

Magic Wand  =  ใช้เลือกพื้นที่ด้วยวิธีระบายบนภาพ หรือเลือกจากสีที่ใกล้เคียงกัน

Crop  =  ใช้ตัดขอบภาพ

Slice  =  ใช้ตัดแบ่งภาพเพื่อบันทึกไฟล์ภาพย่อย ๆ ที่เรียกว่าสไลซ์ (Slice) สำหรับนำไปสร้างเว็บเพจ

2.  กลุ่มเครื่องมือการแก้ไข (Edit) ประกอบด้วย

Healing Brush  =  ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ

Clone Stamp  =  ใช้ทำสำเนาภาพ โดยก๊อปปี้ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย หรือ ระบายด้วยลวดลาย

History Brush  =  ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะ เดิมที่บันทึกไว้

Eraser  =  ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ

Gradient  =  ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ

Blur  =  ใช้ระบายภาพให้เบลอ

Brush  =  ใช้ระบายลงบนภาพ

Dodge  =  ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลง

3.  กลุ่มเครื่องมือการสร้าง (Create) ประกอบด้วย

Pen  =  ใช้วาดเส้นพาธ (Path)

Horizontal Type  =  ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ

 Path Selection  =  ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ

 Rectangle  =  ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป

4.  กลุ่มเครื่องมือมุมมอง (View) ประกอบด้วย

Notes  =  ใช้บันทึกหมายเหตุกำกับภาพที่เป็นข้อความหรือเสียง

Eyedropper  =  ใช้เืลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ

Hand  =  ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ

Zoom  =  ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาด

5.  กลุ่มเครื่องมือเลือกสี (Color) ประกอบด้วย

Set Foreground Color, Set Background Color   =  ใช้สำหรับกำหนดสีForeground Color และ  Background Color

       เมนูคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานพาเล็ตแต่ละเมนูมีหน้าที่และ การใช้งานต่างกัน สำหรับพาเล็ตที่ใช้งานมาก ประกอบด้วย


1.  Navigator เป็นพาเล็ตที่แสดงหน้าจอของรูปภาพที่ใช้งานอยู่ ทำหน้าที่สำหรับการปรับมุมมองขอรูปภาพโดยสามารถคลิกที่ปุ่ม Zoom Slider เพืื่อย่อหรือขยายมุมมองภาพได้


ปุ่ม Zoom Slider

 ภาพที่ได้หลังจากเลื่อนปุ่ม Zoom Slider

2.  info เป็นพาเล็ตสำหรับแสดงค่าสีแบบ RGB และ CMYK ของรูปภาพในรูปแบบของตัวเลข

3.  History เป็นพาเล็ตที่เก็บรายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกเมื่อต้องการ ย้อนกลับ ไปใช้พาเล็ตเดิมหรือย้อนดูการทำงานที่ผ่านมา

4.  Color เป็นพาเล็ตสำหรับกำหนดสี Foreground และ Background โดยการเลื่อนแถบเพื่อปรับสี ตามต้องการ

5.  Swatches เป็นพาเล็ตที่กำหนดสีแบบสำเร็จรูปเพื่อความสะดวกในการเลือกสี ผู้ใช้สามารถดูสีที่ต้องการ และคลิกเลือกสีที่ต้องการ

6.  Style เป็นพาเล็ตที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบต่าง ๆ โดยการเลือกรูปแบบที่ต้องการ ได้แก่ ตัวอักษร


7.  Layer เป็นพาเล็ตสำหรับใช้ควบคุมการใช้งานเลเยอร์ต่าง ๆ

8.  Channels เป็นพาเล็ตที่แสดงการแยกสีของรูปภาพที่กำลังทำงานอยู่ ประกอบด้วยการแยกสีแบบ RGB, Red, Green, และ Blue

9.  Paths เป็นพาเล็ตที่ใช้แสดง Path ที่ถูกสร้างขึ้นในรูปภาพที่กำลังทำงาน

           เป็นที่แสดงเปอร์เซ็นต์การซูมภาพ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับภาพในวินโดว์นั้น หรือข้อมูลอื่น ๆ ขึ้นอยู่ กับออปชั่นที่เลือกในเมนู เช่น ขนาดของไฟล์ภาพ โปรไฟล์สีที่ใช้งาน และชื่อเครื่องมือที่เลือก

        เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างงานำกราฟิก โดยเปิดไฟล์รูปภาพเพื่อแก้ไขบน Working Area หรือ วาดรูปใหม่ลงไปบน Working Area


         เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์สำหรับใช้จัดการไฟล์ภาพและเอกสารต่าง ๆ ของโปรแกรมในชุด Creative Suite เช่น การดูภาพตัวอย่าง และคุณสมบัติของไฟล์ การก๊อปปี้ ลบ ย้าย เปลี่ยนชื่อ เรียง จัดหมวด และจัดลำดับไฟล์ จนถึงการใช้คำสั่งอัตโนมัติต่าง ๆ

การเปิดโปรแกรม Adobe Gridge

1.  คลิกที่คำสั่ง File > Browse….

1. เมนูบาร์ (Menu Bar) ชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งการโปรแกรม
2. ใช้เลื่อนไปโฟลเดอร์ก่อนหน้าหรือถัดไป ย้อนขึ้น 1 หน้า หรือเลือกจากเมนูแสดงลำดับ
  โฟลเดอร์แรกจนถึงโฟลเดอร์ปัจจุบัน
3. ใชเลือกโฟลเดอร์ซึ่งเก็บไฟล์ที่ต้องการจัดการ
4. คลิกลากปรับขนาดกรอบ
5. Filter เป็นพาเนลที่ใช้เลือกแสดงไฟล์ตามหัวข้อที่ระบุหรือเรียงไฟล์ตามที่ต้องการ
6. เปิด / ปิด พาเนลทั้งหมด
7. ไฟล์ที่เลือกสามารถเลือกได้ครั้งละหลาย ๆ ไฟล์
8. ทูลบาร์ (Tool Bar) ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ
  8.1
ใช้สำหรับสสร้างโฟลเดอร์ใหม่
  8.2
ใช้สำหรับหมุนภาพ
  8.3
ใช้สำหรับลบไฟล์
  8.4
ใช้สำหรับแสดงวินโดว์แบบย่อ
9. ภาพตัวอย่างขนาดใหญ่ของไฟล์ที่เลือก
10. แสดงและแก้ไขข้อมูลเสริมของไฟล์ภาพ
  * พาเนล Metadata แสดงข้อมูลพื้นฐานของไฟล์ภาพ (File Properties) ข้อมูลการตั้งค่า
  กล้องขณะถ่ายภาพ (EXIF) และใช้เพิ่มข้อมูล IPTC
  * พาเนล Keyword แสดงและกำหนดคีย์เวิร์ดของไฟล์เพื่อใช้สำหรับค้นหา
11. เลือกรูปแบบหน้าจอโปรแกรม โดยคลิกปุ่ม
เพื่อเลือกรูปแบบที่ตั้งค่าไว้แล้ว
12. ปรับขนาดภาพตัวอย่างโดยเลื่อนสไลเดอร์

ที่มาของข้อมูล : //krukorawee.com/photoshopcs3/unit1.html

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก