พ อ. นิติ ติณ ณ สู ลา นนท์ ประวัติ


วันที่ 12 ต.ค. 2563 พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ลงนามในคำสั่งกองทัพบกที่ 604/2563 เรื่องให้นายทหารรับราชการและปรับระดับเงินเดือน จำนวน 277 นาย ในระดับ พ.อ.พิเศษ และ พ.อ. ตำแหน่งผู้บังคับหน่วย และผู้บังคับการกรมทั่วประเทศ ทั้งเหล่าทหารราบ ม้า ปืนใหญ่ รบพิเศษ รวมถึงเหล่าสนับสนุนการรบ โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502 หมวด 2 ข้อ 5 (2) ลงวันที่ 9 ต.ค. 63



โดยมีตำแหน่งที่น่าสนใจ อาทิ พ.อ.นิติ ติณสูลานนท์ หลานชายของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ จากตำแหน่งเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ (มทบ.) 45 เป็นรอง ผบ.มทบ. 43 พ.อ.พัฒนชัย จินตกานนท์ หรือ เสธ.ป๊อบ นายทหารสาย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นรองเลขานุการสำนักงานเลขานุการกองทัพบก พ.อ.เอกอนันต์ เหมะบุตร นายทหารที่ใกล้ชิด พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) ขยับจากรอง ผบ.ร.111 เป็น ผบ.ร.112 หน่วยดูแลรถยานเกราะสไตรเกอร์ พ.อ.รณรงค์ โรจนเสน เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการของ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ขยับจาก ผบ.กรม.สน.กองพลทหารราบที่ 11 เป็น ผบ.ร. 111

12 ต.ค.63 - พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ลงนามในคำสั่งกองทัพบกที่ 604/2563 เรื่องให้นายทหารรับราชการและปรับระดับเงินเดือน จำนวน 277 นาย ในระดับพ.อ.พิเศษและพ.อ. ตำแหน่งผู้บังคับหน่วย และผู้บังคับการกรมทั่วประเทศ ทั้งเหล่าทหารราบ ม้า ปืนใหญ่ รบพิเศษ รวมถึงเหล่าสนับสนุนการรบ โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502 หมวด 2 ข้อ 5 (2)  ลงวันที่ 9 ต.ค. 63 ซึ่งมีตำแหน่งที่น่าสนใจ อาทิ พ.อ.นิติ ติณสูลานนท์ หลานชายของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ขยับจากตำแหน่งเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ (มทบ.) 45 เป็นรองผบ.มทบ. 43 พ.อ.พัฒนชัย จินตกานนท์ หรือเสธ.ป๊อบ นายทหารสายพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เป็นรองเลขานุการสำนักงานเลขานุการกองทัพบก พ.อ.เอกอนันต์ เหมะบุตร นายทหารที่ใกล้ชิดพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผบ.ทบ. ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11รอ.) ขยับจากรองผบ.ร.111 เป็นผบ.ร.112  ที่เป็นหน่วยดูแลรถยานเกราะสไตรเกอร์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นกรมสไตรเกอร์ พ.อ.รณรงค์ โรจนเสน เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการของพล.อ.ณรงค์พันธ์ ขยับจากผบ.กรม.สน.กองพลทหารราบที่ 11 เป็นผบ.ร. 111

ส่วนพ.อ.เริงณรงค์ ชาวล้อม รองผบ.ม. 1 รอ. เป็นเสนาธิการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2 รอ.) พ.อ.วรยส เหลืองสุวรรณ ผบ.ร.2 รอ. เป็นรองผบ.พล. 1 รอ. พ.อ.เทพพิทักษ์ นิมิต เสนาธิการพล.ม. 2 รอ. เป็นผบ.ร. 2 รอ. พ.อ.ไชยปราการ พิมพ์จินดา รองผบ.ร.21 รอ. เป็นเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) พ.อ.เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ ผบ.ร. 12 รอ. เป็นรองผบ.พล.ร. 2 รอ. พ.อ.กิตติ ประพิตรไพศาล เป็นผบ.ร.12 รอ. พ.อ.วุทธยา ผบ.ร.9 เป็นรองผบ.พล.ร. 9  พ.อ.เฉลิมชัย ชัดใจ รองผบ.ร.9 เป็นผบ.ร. 9 พ.อ.โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ ผบ.ม. 5 รอ. เป็นรองผบ.พล.ม. 2 รอ. พ.อ.ภาสกร กุลรวิวรรณ  รองผบ.ม. 1 รอ. เป็นผบ.ม.5 รอ. พ.อ.ยงยุทธ ขันทวี ผบ.ร. 3 เป็นรองผบ.พล.ร. 3  พ.อ.ชาตรี สงวนธรรม  ผบ.ม.2 เป็น รองผบ.พล.ม.1  พ.อ.สมพล หลำริ้ว เสนาธิการศูนย์การทหารม้า เป็นรองผบ.ศูนย์การทหารม้า พ.อ.ชัยพร อวยพร รองผบ.โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราย (ศร.) เป็นรองผบ.ศร. พ.อ.สาธิต แตงมีแสง เสธ.พล.ป. เป็น รองผบ.พล.ป. พ.อ.ชนินทร์ สิงหนามนิติรักษ์ ผบ.ป.72 เป็น เสธ.พล.ป. พ.อ.พิรุณ นยโกวิทย์ เสธ.พล.ปตอ.  เป็นรองผบ.พล.ปตอ. พ.อ.จินดา ชาญใบพัด ผบ.ศปภอ.ทบ.4 เป็น เสธ.พล.ปตอ. พ.อ.พิเชษฐ์ ชุติเดโช รองผบ.ร.153 เป็นเสธ.พล.ร. 15 พ.อ.ยุทธนา สายประเสริฐ รองผบ.ร.151 เป็นผบ.ร.151 พ.อ.พสิษฐ์ ชาญเลขา ฝ่ายเสนาธิการประจำกองทัพภาคที่ 4 เป็นเสนาธิการมทบ.41 พ.อ.อนุชา ปิยสุทธิ์ ผอ.รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผอ.รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม พ.อ.สายชล สิงห์ทน  รองผอ.รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผอ.รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  เกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463  ที่ตำบลบ่อยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)  เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา หมายเลขประจำตัว 167  สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เมื่อปี พ.ศ.2478  เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8 แผนกวิทยาศาสตร์  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  หมายเลขประจำตัว 7587 ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อปี พ.ศ.2481  โดยเข้ารับการศึกษาเป็นรุ่นที่ 5 มีเพื่อนร่วมรุ่น 55 นาย สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2484 ใช้เวลาเพียง 3 ปี ไม่ครบ 5 ปี ตามหลักสูตร 

ประวัติการทำงาน

ทั้งนี้เมื่อจบการศึกษาในปี 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี 2485 – 2488 ที่เชียงตุง

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อปี 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อปี 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน 

จากนั้นพลเอกเปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อปี 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521

นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ยังถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529  ในระหว่างที่ พลเอกเปรม ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 

สำหรับตำแหน่งทางการเมือง  ในปี 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2511 – 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

พลเอกเปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

ตำแหน่งในการทำงาน

1 กรกฎาคม 2492 ได้รับพระราชทานยศ “พันตรี”
พ.ศ. 2493 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดอุตรดิตถ์ รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4 และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ. 2495 ได้รับทุนจากกองทัพบกโดยการสอบแข่งขันได้ไปศึกษาต่อที่ The United States Army Armor School รัฐเคนตักกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในแผนกวิชายุทธวิธี กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลน้อยทหารม้า (กรุงเทพฯ)
30 มกราคม 2497 ได้รับพระราชทานยศ “พันโท”
พ.ศ. 2497 – 2498 เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2 และเป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ
1 มกราคม 2499 ได้รับพระราชทานยศ “พันเอก”
พ.ศ. 2501 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
พ.ศ. 2506 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และเป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบก สระบุรี
พ.ศ. 2509 – 2510 เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9 (ยศพันเอก) เดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี
1 ตุลาคม 2511 ได้รับพระราชทานยศ “พลตรี” และให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า” และ “ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี” พ.ศ. 2512 เป็นองครักษ์เวร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
1 ตุลาคม 2516 เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 จังหวัดสกลนคร
1 ตุลาคม 2517 ได้รับพระราชทานยศ “พลโท” และดำรงตำแหน่ง “แม่ทัพภาคที่ 2” พ.ศ. 2518 เป็นราชองครักษ์พิเศษ
1 ตุลาคม 2520 ได้รับพระราชทานยศ “พลเอก” และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปฝ่ายทหาร

รับตำแหน่งนายกฯ

พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอกเปรมในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด
การทำงานในตำแหน่งนายกฯ 

สมัยที่ 1 

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 – 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน 2526

สมัยที่ 2

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 – 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529

สมัยที่ 3

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 – 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

ที่มารูป เว็บไซต์ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ 

ข้อมูล จากวิกีพีเดีย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก