วัดเจดีย์เจ็ดแถว สถาปัตยกรรม

สำหรับพระเจดีย์แบบสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ แบบคือ
๑) . เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ที่เรียกว่าเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือเจดีย์พุ่มข้าบิณฑ์ ทำฐานเป็น ๔ เหลี่ยม ๓ ชั้น ตั้งซ้อนกันขึ้นไปแล้วถึงองค์เจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือรูปดอกบัวตูม พระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย



๒) . เจดีย์ทรงกลมแบบลังกาหรือทรงระฆัง คงได้รับอิทธิพลมาจากเกาะลังกาพร้อมกับพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ พระเจดีย์ช้างล้อม ที่ศรีสัชนาลัยก็จัดอยู่ในจำพวกนี้ มีข้อที่น่าสังเกตคือ เจดีย์ทรงกลมในสมัยสุโขทัยยังไม่มีเสาหานเหนือบัลลังก์ยอดองค์ระฆังรองรับปล้องไฉนเช่นเจดีย์ทรงกลมในสมัยอยุธยาที่ส่วนล่างขององค์ระฆังมักมีลายกลีบบัวประกอบซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพม่า ซึ่งได้รับมาจากศิลปะปาละของอินเดียอีกต่อหนึ่ง


๓) . เจดีย์ทรงปราสาทยอด คือเจดีย์ที่มีฐานและองค์ระฆังสูงทำเป็นสี่เหลี่ยม บางทีก็มีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป บางทีก็ไม่มี ตอนบนเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา และเจดีย์องค์เล็กๆ ประกอบอยู่ที่สี่มุม มุมในวัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถาปัตยกรรมของพุทธศาสนาแบบสุโขทัยที่เลียนแบบลพบุรี คือเป็นรูปปรางค์ขอม แต่แก้เป็นปรางค์ไทย คือทรงสูงชะลูดขึ้นกว่าเดิม





มณฑป
  เหกเพดคืออาคารสี่เหลี่ยมที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปและสามารถเข้าไปในอาคารได้ มณฑปวัดศรีชุมสร้างด้วยผังที่ช่างแปลกประหลาด คือมีผนัง ๒ ชั้น มีบันไดอยู่กลางซึ่งอาจเดินขึ้นไปจนถึงด้านหลังพระพุทธรูปและหลังคาได้ น่าสันนิษฐานว่าคงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกาสมัยโปลนนารุวะ ซึ่งสร้างผนัง ๒ ชั้น ให้เดินประทักษิณรอบพระพุทธรูปภายในวิหารได้


      ชื่อของวัดแห่งนี้ชาวบ้านเรียกตามลักษณะเด่นมาอย่างน้อยก็ใน พ.ศ.2434  ที่มีเจดีย์ด้านหน้าและด้านข้างเรียงกันอยู่ 7 แถว แต่ภายหลังกรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะตกแต่งโบราณสถานจึงพบว่ามี 9 แถว วัสดุที่ใช้ก่อสร้างวัดนี้ก็เช่นเดียวกับวัดอื่นๆ ในเมืองศรีสัชนาลัย คือ ใช้ศิลาแลงตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมปริมาตร จากบ่อศิลาแลงที่มีอยู่มากของเมืองนี้

ประวัติ

      กล่าวไว้ว่า พระราชธิดาธรรมราชาที่ 2 เป็นผู้สร้าง โดยอ้างจากตำนานที่ไฟไหม้ไปแล้ว มีการกล่าวอ้างโดยนายเทียนซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่นี้ได้นำพา พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6) ประพาสที่เมืองศรีสัชนาลัย ในปี พ.ศ. 2450 พอมาถึงวัดนี้นายเทียนได้กล่าวอ้างว่า วัดนี้ชื่อว่า วัดกัลยานิมิตร สร้างโดย พระราชธิดาธรรมราชาที่2 วัดนี้มีกำแพง 2 ชั้นล้อมรอบบริเวณวัด ภายในบริเวณกำแพงชั้นในมีพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 59 เมตร ยาวประมาณ 65 เมตร เจดีย์ประธานของวัดนี้เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม  วิหารต่อแนวจากเจดีย์ประธานไปทางส่วนหน้าของบริเวณ ซึ่งเป็นส่วนหน้าของวัดแนวต่อเนื่องของวิหารกับเจดีย์ประธาน (แนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้) เป็นแนวแกนหลักของวัด  ปัจจุบันวิหารนี้เหลือเพียงแต่ฐานชุกชีที่มีแค่ตักของพระพุทธรูปหลงเหลืออยู่นอกนั้นได้พังทลายตามกาลเวลา ภายในวัดมีโบราณทั้งหมด 33 องค์ รวมทั้งวิหารและเจดีย์รายต่างๆ แต่ละองค์มีลักษณะแตกต่างกันไป รัชกาลที่6 จึงทรงสันนิษฐานว่าเจดีย์เหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นพร้อมกันครั้งเดียวทั้งหมด ทรงเชื่อว่าทรงจะสร้างขึ้นเป็นคราวๆตามแต่จะต้องใช้งานความเป็นไปได้ของเจดีย์เหล่านี้อาจจะสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน โดยสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 

      อย่างไรก็ตาม แผนผังโดยส่วนรวมของวัดแสดงถึงการจัดระเบียบที่ชัดเจน โดยเน้นความสำคัญของเจดีย์ประธานเพราะมีขนาดใหญ่ที่สุด รายล้อมด้วยเจดีย์บริวารขนาดย่อม มีเจดีย์ริเวรขนาดเล็กที่แทรกอยู่และรายเรียงเป็นแถวไปทางส่วนหน้าของวัด โดยขนาบข้างวิหาร ระเบียบเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของพื้นที่ ตามแนวความคิดเรื่องจักรวาล คือ มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางมีเขาวงแหวนล้อมอยู่ 7 วง (เขาสัตตบริภัณฑ์) แผนผังของเขาจักรวาลอาจเกี่ยวข้องกับแผนผังของเจดีย์ 7 แถว เจดีย์ประธานของวัดอาจเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ เจดีย์บริวารแทนเขาสัตตบริภัณฑ์ที่โอบล้อมเขาพระสุเมรุ

      สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า บรรดาเจดีย์ภายในวัดเจดีย์เจ็ดแถวคงบรรจุอัฐิธาตุของพระราชวงศ์สุโขทัย เพราะพื้นที่นี้เคยเป็นสุสานมาก่อน หากตามข้อสันนิษฐานของพระองค์ เจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูมของวัดก็คงบรรจุพระอัฐิธาตุของเจ้านายชั้นสูงสุด หรือพระเจ้าแผ่นดิน เจดีย์บริวารก็บรรจุอัฐิธาตุของเจ้านายชั้นรงลงมา คงทยอยบรรจุไว้ตามเจดีย์ที่สร้างเสร็จรออยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ ความหลากหลายของเจดีย์รูปทรงต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการออกแบบของช่างแล้ว ยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์กับแหล่งบันดาลใจทางศิลปะจากเมืองต่างๆ อีกด้วย

เจดีย์ภายในวัดนี้มีรูปแบบต่างๆ 

1.เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ชื่อเรียกเจดีย์ทรงนี้ระบุเฉพาะลักษณะของส่วนบน คือ ทรงยอดดอกบัวตูม หรือ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ทรงสุโขทัยแท้ ชื่อหลังนี้เกิดจากรูปแบบของเจดีย์ ซึ่งไม่เหมือนกับเจดีย์ในศิลปะอื่นใด และนิยมสร้างกันเฉพาะช่วงเวลาเมืองสุโขทัยยังไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา กล่าวได้ว่าการคิดค้นแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์ร่วมทางสถาปัตยกรรมของเมืองในแคว้นสุโขทัย อาทิเช่น เจดีย์ประธาน 

2.เจดีย์ทรงปราสาท ก่อไว้เป็นเจดีย์บริวาร รูปแบบของเจดีย์บริวารทรงปราสาทที่มีแรงบันดาลใจสำคัญมาจากศิลปะพุกาม-ล้านนา  การเกิดเจดีย์ทรงปราสาทแบบต่างๆ ในศิลปะสุโขทัยก็คล้ายกับการเกิดเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เพียงแต่เจดีย์ทรงปราสาทนั้นยังมีลักษณะของต้นเค้าที่สังเกตได้ค่อนข้างชัดเจนกว่า เจดีย์ทรงปราสาทองค์ใดองค์หนึ่งอาจมีลักษณะที่ปรับปรุงจากทรงปราสาทแบบขอมอยู่มากกว่าทรงปราสาทแบบล้านนา

3.เจดีย์ทรงระฆังหรือเรียกว่า เจดีย์ทรงลังกา ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์แบบหนึ่งของศิลปะลังกาองค์ระฆังเป็นส่วนสำคัญที่เด่นชัด  มีวงแหวนหรือลวดบัวรูปแหวนเกลี้ยง 3 วงซ้อนกันรองรับอยู่ข้างใต้(มาลัยเถา) บัลลังก์สี่เหลี่ยมตั้งอยู่เหนือองค์ระฆัง ต่อยอดเป็นทรงกรวยประกอบด้วยปล้องไฉนปลี 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก