เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ตอนอายุเท่าไร

คำนำหน้าชื่อที่นับว่าเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานก็คือปัญหาว่าผู้ที่จะใช้คำว่า "เด็กชาย" หรือ "เด็กหญิง" นำหน้าจะต้องมีอายุตั้งแต่เท่าใดถึงเท่าใด และผู้ที่จะใช้คำว่า "นาย" และ "นางสาว" นำหน้าจะต้องมีอายุตั้งแต่เท่าใดขึ้นไป ทั้งนี้เพราะบทนิยามในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ก่อให้เกิดความสงสัยขึ้นมา เนื่องจากเมื่อพิจารณาบทนิยามของคำว่า "เด็กชาย" "เด็กหญิง" "นาย" และ "นางสาว" แล้วทำให้เกิด "ช่องว่าง" ระหว่าง "เด็ก" กับ "นางสาว" และ "นาย" ดังนี้

คำว่า "เด็กชาย" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์." และคำว่า "เด็กหญิง" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. คำนำเรียกเด็กหญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์." ส่วน คำว่า "นาย" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุ ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เช่น นายดำ นายแดง ;... และคำว่า "นางสาว" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและยังไม่ได้แต่งงาน."

จากบทนิยามดังกล่าวนี้ ก็มีปัญหาเกิดขึ้นมาว่า เด็กชายที่มีอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์หรือเด็กหญิงที่มีอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จะใช้คำนำหน้าชื่ออย่างไร จะใช้ว่า "นาย" และ "นางสาว" ก็ไม่ได้ เพราะ "นาย" เป็นคำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ "นางสาว" เป็นคำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและยังไม่ได้แต่งงาน ข้าพเจ้าได้เคยพูดเล่น ๆ ว่าต้องเรียกว่า "หนุ่มสะเทิน" และ "สาวสะเทิน" ทั้งนี้เพราะคำว่า "สะเทิน" พจนานุกรมได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้

"สะเทิน ๑ ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, ก้ำกึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือเพิ่งจะขึ้นสาวหรืออยู่ในระหว่างสาวกับเด็กก้ำกึ่งกัน."

ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงที่พ้นจากความเป็น "เด็กหญิง" คืออายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์ ยังเป็น "นางสาว" ไม่ได้ ก็ควรเรียกว่า "สาวสะเทิน" หรือ "ว่าที่นางสาว" ส่วนผู้ชายที่พ้นจากความเป็น "เด็กชาย" คืออายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ก็ยังเป็น "นาย" ไม่ได้ ดังนั้นก็ควรเรียกว่า "หนุ่มสะเทิน" หรือ "ว่าที่นาย"

เหตุที่บทนิยามในพจนานุกรมได้ก่อให้เกิด "ช่องว่าง" เช่นนี้ เนื่องมาจากคำนำหน้าชื่อเหล่านี้ ได้มาจากกฎหมายคนละฉบับ คือ บทนิยามความหมายของคำว่า "เด็กชาย" และ "เด็กหญิง" ได้มาจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๔ ซึ่งได้ให้บทนิยามของคำว่า "เด็ก" "เยาวชน" และ "ผู้ใหญ่" ไว้ดังนี้

"เด็ก" หมายความว่า "บุคคลอายุเกินกว่าเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินกว่าสิบสี่ปีบริบูรณ์."

"เยาวชน" หมายความว่า "บุคคลอายุเกินกว่าสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่ได้หมายถึงบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส".

"ผู้ใหญ่" หมายความว่า "บุคคลอายุสิบแปดปีบริบูรณ์แล้ว".

จากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. ๒๔๙๔ นี้ "เด็ก" ก็หมายถึงบุคคลที่มีอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินกว่า ๑๔ ปีบริบูรณ์ พอครบ ๑๔ ปี บริบูรณ์ก็เป็น "เยาวชน" ไปจนถึงอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต่อจากนั้นจึงจะได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ใหญ่" แล้ว

ส่วนคำว่า "นางสาว" ได้มาจาก "ประกาศสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องระเบียบการใช้บัตรชื่อ" พ.ศ. ๒๔๘๗ ในข้อ ๕. ข. มีข้อความดังนี้

"ข. บัตรชื่อของหญิงสาว (อายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป) สำหรับหญิงรุ่นสาว ไม่จำเป็นต้องมีบัตรชื่อของตนเอง แต่อาจใช้บัตรชื่อร่วมกับแม่ของตน คือ พิมพ์ชื่อลงใต้ชื่อของแม่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้เข้าสมาคมแล้ว ให้มีบัตรชื่อของตนเองได้ การพิมพ์ชื่อในบัตรลงว่า "นางสาว" ข้างหน้าชื่อตัว..."

นั่นคือ หญิงสาวที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถ้าเป็นผู้เข้าสมาคมแล้วก็สามารถใช้คำว่า "นางสาว" นำหน้าชื่อตนได้

นอกจากนั้นใน "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคำนำนามเด็ก พ.ศ. ๒๔๖๔" ข้อ ๑ ได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่า

"คำว่า "เด็ก" ในที่นี้ ให้พึงเป็นที่เข้าใจว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีลงมา"

เพราะฉะนั้น "เด็กชาย" และ "เด็กหญิง" ถ้าหากกำหนดอายุไว้ว่า จะต้องมีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ลงมา ปัญหาเรื่อง "ช่องว่าง" ระหว่าง "เด็กชาย" "เด็กหญิง" กับ "นาย" "นางสาว" ก็คงจะหมดไป

ในการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ของราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน และวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ปรับปรุงแก้ไขบทนิยามของ "เด็กชาย" และ "เด็กหญิง" เป็นต้นใหม่ดังนี้

"เด็กชาย น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์."
"เด็กหญิง น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์."
"นางสาว น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและยังไม่มีสามี."
"นาง น. ...; คำนำหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว."
"นาย น. คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป."

ทำไมเราถึงเลือกประเด็นเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างมาพูดคุย ทั้งนี้ ต้องย้อนเตือนความจำกันเสียก่อนว่า ในปัจจุบันถือว่าเป็นขอกำหนดที่มีการระบุไว้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน โดยให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องทำบัตรประชาชน ดังนั้นเมื่อน้อง ๆ หนู ๆ ต้องทำบัตรตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ประกอบกับอายุบัตรที่มีการขยายระยะเวลาเป็น 8 ปี ส่งผลให้เมื่ออายุครบ 15 จึงต้องเปลี่ยนบัตรใหม่ ดังนั้นในครั้งนี้เพื่อเป็นการให้รายละเอียดและข้อมูลสำหรับทุกท่านที่ต้องทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างและต้องทำอย่างไรนั้น เราจึงพร้อมนำเสนอบทความของเราในครั้ง ดังนั้นไปดูกันเลย

  • แหล่งยืมเงินด่วนถูกกฎหมาย ได้จริง โอนเข้าบัญชี
  • หาเงินออนไลน์ไม่ต้องลงทุน

แม้ว่าในปัจจุบันทุกท่านจะสามารถพาบุตรหลานไปทำบัตรประชาชนได้ตั้งแต่เขามีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ก็อาจจะมีบางกรณีที่เมื่อทำบัตรใบแรกแล้วบัตรยังไม่หมดอายุแต่มีความจำเป็นต้องดำเนินการทางธุรกรรม หรือทางเอกสารที่มีความสำคัญ อย่างเช่น การสมัครเรียน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้น้องวัยรุ่น อายุ 15 – 16 ปีคงอยากจะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก ด.ช. หรือ ด.ญ. ไปเป็น นาย หรือ นางสาว ดังนั้นเพื่อเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน อายุ 15 ต้องทำบัตรใหม่หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ

สำหรับกรณีที่น้อง ๆ มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้วนั้น แต่บัตรประชาชนอาจจะยังไม่หมดอายุ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากวันที่ทำบัตรใบแรกนั้น อาจจะล่าช้ากว่าวันเกิด ส่งผลให้เมื่อน้อง ๆ มีอายุครบ 15 ปีตามกฎหมายนั้นจะสามารถใช้คำนำหน้าขื่อตนเอง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ใช้คำว่า “เด็กชาย” หรือ “เด็กหญิง” ไปเป็นคำนำหน้าใหม่ที่ใช้ว่า “นาย” และ “นางสาว” ได้ โดยการเปลี่ยนในทางกฎหมายสามารถดำเนินการใช้ได้ทันทีโดยไม่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ทั้งนี้สำหรับการทำบัตรประชาชนใหม่นั้นกฎหมายไม่ได้บังคับให้เปลี่ยนบัตรก่อนวันหมดอายุ แต่ทุกท่านสามารถดำเนินการเปลี่ยนบัตรประชาชนใหม่ได้ก่อนบัตรเดิมหมดอายุ 60 วัน โดยสรุปแล้วการเปลี่ยนบัตรประชาชนให้คำนำหน้าชื่อตรงกับความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ควรทำนั่นเอง

ทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้าง

โดยเมื่อเราทราบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงบัตรประชาชนใหม่กันไปแล้ว ในประเด็นนี้จะเป็นข้อมูลของเอกสารและสิ่งที่ทุกท่านต้องเตรียม เพื่อนำไปใช้ในการขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างก็ไม่ต้องกังวลเพราะเราเตรียมให้เรียบร้อย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การทำบัตรประชาชน กรณีปกติ เมื่อทุกท่านมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้วนั้น ท่านสามารถดำเนินการขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้ทันทีแม้บัตรเดิมจะยังไม่หมดอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำเอกสารยืนยันตัวตนของทางราชการให้มีความชัดเจนและตรงกับสภาพความเป็นจริง ที่ผู้ถือบัตรมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถนำ บัตรประชาชนใบเดิม พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน เข้าติดต่อเพื่อขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ได้ทันทีด้วยตัวของท่านเอง โดยไม่ต้องมีผู้ปกครองหรือเอกสารอื่น ๆ รับรองเหมือนตอนที่ทำบัตรประชาชนอายุ 7 ปี
  • การทำบัตรประชาชน กรณีย้ายที่อยู่ กรณีที่ผู้ถือบัตรประชาชนมีการย้ายที่อยู่ ก็สามารถดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรประชาชนได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้บัตรใบเก่าหมดอายุ โดยสามารถนำบัตรประชนใบเดิม พร้อมทะเบียนบ้าน และผู้ปกครองไปดำเนินการด้วย เนื่องจากเป็นกรณีที่มีการย้ายที่อยู่ ทั้งนี้การขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 กรณีย้ายที่อยู่นั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท โดยสามารถเข้าดำเนินการได้ที่สำนักออกบัตรประชาชนทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องกลับไปภูมิลำเนา

ทำบัตรประชาชน อายุ 7 ปี กรณีทำบัตรครั้งแรก

ถือว่าเป็นการทบทวนความจำ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการทำบัตรประชาชนสำหรับน้อง ๆ ที่มีอายุรบ 7 ปีบริบูรณ์ โดยต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย อายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งต้องดำเนินการทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปี หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ทั้งนี้สามารถเข้าติดต่อเพื่อทำบัตรประชาชน อายุ 7 ปีได้โดยนำ เอกสารดังนี้เข้าติดต่อเจ้าหน้าที่

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร หรือหลักฐานทางราชการอื่น ๆ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรนักเรียน หนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถแสดงได้ว่าบุคคลที่ทำบัตรนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับชื่อในทะเบียนบ้าน
  • หากไม่มีเอกสารในข้างต้น ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ให้การรับรอง
  • การขอมีบัตรประชาชน ครั้งแรกเมื่อมีอายุมาก หรือมีอายุเกิน 20 ปี หากไม่มีหลักฐานข้างต้น ให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
  • ทั้งนี้ บุคคลที่น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี โดยอาจจะเกี่ยวข้องเป็นญาติหรือไม่ก็ได้

เพียงเท่านี้ เราก็เชื่อว่าทุกท่านคงจะคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับขอทำบัตรประชาชน อายุ 15 ใช้อะไรบ้างกันไปพอสมควร พร้อมทั้งยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการทำบัตรใหม่สำหรับลูกหลานที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์อีกด้วย

อ้างอิง 1 2

Post navigation

This div height required for enabling the sticky sidebar

เปลี่ยนนางสาวตอนอายุเท่าไร

G. หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว” ๒. หญิงซึ่งจดทะเบียนแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตาม

15 ปีใช้คํานําหน้าอะไร

มาตรา 3 ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปให้ใช้คำนำหน้านามว่า "นาย" มาตรา 4 หญิงที่มีอาย 15 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้สมรส ให้ใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว"

เปลี่ยนบัตรประชาชน เป็นนางสาว ได้ตอนไหน

บัตรประชาชนเด็กนี้จะมีอายุแค่ 8 ปี เมื่อมีอายุครบ 15 ปี ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจากเด็กชายเด็กหญิงเป็นนายและนางสาว ก็ต้องทำบัตรประชาชนใหม่อีกครั้ง

เปลี่ยนจากด.ช.เป็นนายอายุเท่าไร

กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม กรณีเด็กอายุครบ 15 ปี( จาก ด../.ญ. เป็น นาย/นางสาว)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก