ขูดหินปูนก่อนผ่าฟันคุดได้ไหม

ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด

การผ่าฟันคุด หลายคนได้ยินคำนี้แล้วรู้สึกกลัวว่าจะ หากเราเข้ารับการผ่าฟันคุดจะรู้สึกเจ็บมั้ย ต้องเตรียมตัวอย่างไร และหลังจากเข้ารับการผ่าแล้วจะต้องดูแลรักษาอย่างไร บอกเลยว่า หากเรามีฟันคุด และมีอาการปวดร่วมด้วย ควรที่จะเข้ารับการผ่าอย่างยิ่ง เพราะถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน จะยิ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟัน แต่หลายคนก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีฟันคุด ด้วยเหตุผลที่ไม่รู้ จึงทำให้หลายคนละเลยในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟัน เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหมั่นสังเกตตัวเอง จากการตรวจในช่องปากหลังจากการทำความสะอาดช่องปากและฟัน ถ้าพบว่าฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด แต่เพื่อให้เกิดความแน่ใจก็ควรจะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเอ็กซเรย์ดูเพื่อความมั่นใจ ก็จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง โดยการเอกซเรย์จะทำให้เห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกรด้วย ดังนั้น การเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันประจำปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนไม่ควรละเลย เพื่อที่จะได้ทำความสะอาดช่องปากและได้ทราบถึงปัญหาช่องปากของเรา เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขต่อไป สำหรับเรื่องของการผ่าฟันคุดนั้นหลายคนอาจจะเข้ารับการผ่าได้ แต่การผ่าตัดฟันคุด ก็ยังมีข้อห้ามหรือข้อจำกัดบางอย่างที่อาจจะไม่สามารถเข้ารับการผ่าฟันคุดได้ ดังนั้น ก่อนเข้ารับการรักษาควรจะปรึกษาทันตแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าหลังจากการผ่าแล้วจะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

สำหรับวันนี้ทางคลินิก Idol smile เราจะมาพูดถึงข้อห้ามและข้อจำกัดในเรื่องของการผ่าฟันคุดว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน  การผ่าฟันคุดนั้น อาจจะแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่การผ่าฟันคุด ก็ถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรงบางกลุ่ม เช่น ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมไปถึง สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อน จนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด อีกทั้ง ผู้เข้ารับการรักษาที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต ก็ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา ส่วนผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หากต้องทำการผ่าตัดก็จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ หากผู้เข้ารับการรักษามีอาการติดเชื้อที่บริเวณฟันคุดต้องทำการรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณแผลเสียก่อน เพื่อให้การรักษาเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เพราะฉะนั้น การปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการรักษาจึงมีความสำคัญ ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องแจ้งรายละเอียดแก่ทันตแพทย์เพื่อที่จะได้ทราบถึงวิธีการรักษา และวิธีการดูแลรักษา ภายหลังจากการผ่าตัด แต่ถ้าหากเราดูแลและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็อาจจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่อาการผิดปกติที่เกิดภายหลังจากการผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น  มีไข้ กลืนอาหารหรือน้ำไม่ได้ หายใจลำบาก มีเลือดออกมากผิดปกติ มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง ก็ควรที่จะรีบไปพบทันตแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าฟันคุด อาจทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และถ้าหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้ทางคลินิก Idol smile เราอยากให้ทุกคนใส่ใจในเรื่องของสุขภาพช่องปาก เพราะฉะนั้น หากมีปัญหาสุขภาพฟันสามารถปรึกษาทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญได้ที่คลินิก Idol Smile ได้ ทางเรายินดีให้คำปรึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าฟันคุด ทางเราก็มีโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับผู้ที่สนใจ โดนเริ่มต้นที่ราคา 3,000 บาท จากราคาปกติ 5,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง

ผ่าฟันคุด จะรอปวดค่อยเอาออกได้ไหม?

          ผ่าฟันคุด จะรอปวดค่อยเอาออกได้ไหม  ใครได้ยินก็สั่นๆแล้ว อีกอย่างก็ก็กลัวหมออ่าและถ้าปวดแล้วล่ะ? จะเอาออกเลยทันทีได้ไหม? CR.จากเพจ ฟันสวยฟ้าผ่า ไปหาคำตอบกันคะ ก่อนอื่นถ้าคุณคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมกด like กดแชร์ กดติดตามเพื่อพบสาระดีๆเรื่องฟันได้ทุกวันคะ

การ ผ่าฟันคุด เชื่อว่าหลายๆ คนในที่นี้ คงต้องเคยได้ยินคำว่า “ฟันคุด” กันมาบ้างแล้วล่ะ บางคนได้ยินเพื่อนหรือคนรอบข้างเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การไปผ่าฟันคุดมา จนทำให้กลัวไม่กล้าไปผ่า วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาไขข้อสงสัยให้ฟังกันว่า ฟันคุดคืออะไร ทำไมต้องผ่าฟันคุด แล้วถ้าไม่ผ่าจะมีผลอย่างไร?

สารบัญ

ฟันคุด คือ อะไร

ทำไมถึงต้องผ่า ฟันคุด

วิธีการผ่าตัดฟันคุด

การเตรียมตัวก่อน ผ่าตัดฟันคุด

ฟันคุด เราป้องกันการเกิดได้ไหม??

ผ่าฟันคุดไร้กังวล เจ็บน้อย เชี่ยวชาญ ผ่าฟันคุดพัทยาศรีราชา

ผ่าฟันคุด ฟันคุด คือ อะไร

          ผ่าฟันคุด ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย

ผ่าฟันคุด แต่จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด

ก่อน ผ่าฟันคุด เมื่อตรวจในช่องปาก ถ้าพบว่าฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด เพื่อให้แน่ใจก็ควรจะเอ็กซเรย์ดู ก็จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง การเอ็กซเรย์ฟิล์มพานอรามิกจะเห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกร

ทำไมถึงต้องผ่า ฟันคุด

การ ผ่าฟันคุด มีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่

  1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
  2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
  3. เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
  4. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น
  5. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
  6. วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ในการจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ

การตัดสินใจของทันตแพทย์ว่าจะทำการผ่าตัดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจอีกขั้นหนึ่ง แต่ถ้าหากในระหว่างการติดตามอาการผู้ป่วยมีอาการปวด อาการเหงือกบวมที่ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นออกมาจากบริเวณหลังซอกฟัน ก็อาจต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนอีกครั้ง

ขั้นตอนการผ่า ฟันคุด มีอะไรบ้าง น่ากลัวอย่างที่เขาบอกกันหรือเปล่า

การ ผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด เท่านี้ก็เสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

หลังผ่าตัดฟันคุดแล้วจะมีอาการอะไรบ้าง จะพูดหรือรับประทานอาหารได้ไห

อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุดคือ จะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่าตัดสัก 2 – 3 วัน อ้าปากได้น้อยลง ทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ได้รับไปอาการก็จะบรรเทาลงได้ เรื่องอาหารคงต้องทานอาหารอ่อนไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล ส่วนการพูดก็พูดได้ตามปกติ แต่อย่าพูดมากนักเดี๋ยวจะเจ็บแผลได้

วิธีการผ่าตัด ฟันคุด   

การผ่าฟันคุดจำเป็นจะต้องใช้ยาชาหรือยาสลบเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งในการผ่าตัดทางช่องปากมียาชาหรือยาสลบที่แพทย์มักใช้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่

  • ยาชาเฉพาะที่ ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าไปยังจุดใกล้เคียงบริเวณที่ผ่าตัด โดยอาจฉีดเพียง 1 เข็ม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ซึ่งก่อนฉีดนั้นแพทย์ก็จะทำให้บริเวณเหงือกที่จะทำการฉีดยานั้นเกิดความรู้สึกชา โดยการใช้ยาชาเฉพาะจุดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด แต่จะไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่ผ่าตัด จะมีก็แต่เพียงความรู้สึกถึงแรงดันหรือการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ภายในช่องปาก
  • ยาชาชนิดกล่อมประสาท ยาชาชนิดนี้ทันตแพทย์แพทย์จะให้ผ่านการฉีดเข้าทางสายน้ำเกลือที่บริเวณแขน ยาชาชนิดกล่อมประสาทจะทำให้สติสัมปะชัญญะลดลงในขณะผ่าตัด จนทำให้ไม่รู้สึกเจ็บและมีความทรงจำเกี่ยวกับการผ่าตัดที่จำกัด โดยการใช้ยาชาชนิดนี้ อาจใช้ร่วมกับการใช้ยาชาเฉพาะที่
  • ยาสลบ ในบางกรณีที่จำเป็น แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาสลบในการผ่าตัดด้วยวิธีการดมยาสลบ หรือการฉีดเข้าที่สายน้ำเกลือบริเวณแขน บางครั้งอาจใช้ทั้ง 2 วิธี ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหมดสติ จากนั้นทีมผ่าตัดจะเริ่มทำการผ่าตัดพร้อม ๆ กับการเฝ้าระวังผลการใช้ยาสลบ การหายใจ ชีพจร ของเหลว และความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บและไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับการผ่าตัด ทั้งนี้การใช้ยาสลบจะมีการใช้ยาชาเฉพาะจุดร่วมด้วยเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด

เมื่อยาชาหรือยาสลบออกฤทธิ์จนทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกบริเวณที่จะทำการผ่าตัดแล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มลงมือทำการผ่าตัดด้วยการใช้มีดกรีดที่เนื้อเยื่อเหงือกเพื่อเปิดให้เห็นกระดูกและฟันคุด จากนั้นจะค่อย ๆ ตัดกระดูกที่ขวางรากฟันคุดออก และแบ่งฟันคุดออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำออกมา ก่อนจะค่อย ๆ นำเศษฟันออกจากบริเวณแผล ล้างทำความสะอาดบริเวณแผล และนำเศษฟันหรือกระดูกที่ตกค้างอยู่ออกจนหมด แล้วจึงเย็บปิดแผล แต่ในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการเย็บปิดปากแผล จากนั้นในขั้นตอนสุดท้าย ทันตแพทย์จะนำผ้าก๊อซมาปิดบริเวณปากแผลเพื่อควบคุมให้เลือดหยุดไหล

การเตรียมตัวก่อน ผ่าตัดฟันคุด

การผ่าฟันคุดเป็นการผ่าตัดที่สามารถทำได้โดยมักไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ ทั้งนี้ก่อนการผ่าตัดทางโรงพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมจะนัดวันพร้อมกับการแนะนำถึงการปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยควรถามคำถามเหล่านี้กับผู้นัดหมายการผ่าตัดเพื่อแนวทางในการเตรียมตัวที่ถูกต้อง

ต้องให้ผู้อื่นมารับหลังจากการผ่าตัดหรือไม่ ?
ควรไปถึงคลินิกทันตกรรมหรือโรงพยาบาลเมื่อใด ?
จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหารก่อนการผ่าตัดหรือไม่ หากต้องงดควรงดเมื่อใด ?
ในกรณีที่มีการใช้ยาตามแพทย์สั่งอยู่ก่อนแล้ว สามารถรับประทานยาก่อนผ่าตัดได้ไหม หากได้จะต้องรับประทานก่อนการผ่าตัดนานเท่าใด ?
ก่อนผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยาตามใบสั่งแพทย์หรือไม่ ?

ข้อห้ามในการผ่า ฟันคุด

การผ่า ฟันคุด ถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 หรือ 3 อาจจะหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อนจนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา ส่วนผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หากต้องทำการผ่าตัดก็จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อที่บริเวณฟันคุดต้องทำการรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณแผลเสียก่อน

หลังผ่าตัด ฟันคุด จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

  1. กัดผ้าก๊อซนาน 1 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
  2. ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
  3. หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ ½ ชั่วโมง
  4. ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม เฉพาะวันที่ทำผ่าตัด
  5. รับประทานอาหารอ่อน
  6. รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
  7. งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา
  8. แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ
  9. ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
  10. หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัด

การผ่าตัด ฟันคุด มีอันตรายหรือผลแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง

หากในระยะการพักฟื้นหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น

  • มีไข้
  • กลืนไม่ได้
  • หายใจลำบาก
  • มีเลือดออกมากผิดปกติ
  • มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน
  • เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง

  ควรรีบไปพบแพทย์   เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาการแทรกซ้อนที่มักจะพบหลังจากการผ่าฟันคุดคือ

  • กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Alveolar Osteitis) – เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด ซึ่งจะเกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเป็นสาเหตุของอาการปวดหรืออาการปวดตุบ ๆ ที่บริเวณเหงือกหรือขากรรไกรอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังอาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน อาการนี้จะกินเวลา 3-5 วันหลังจากผ่าตัด ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์ และมีปัจจัยเหล่านี้ เช่น สูบบุหรี่ อายุมากกว่า 25 ปี มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากอื่น ๆ และมีการผ่าฟันคุดที่ค่อนข้างซับซ้อนก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงต่ออาการอักเสบมากขึ้น ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการกระดูกเบ้าฟันอักเสบควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยทันตแพทย์จะทำการล้างทำความสะอาดบริเวณกระดูกเบ้าฟันและปิดด้วยผ้าปิดแผลที่สามารถเปลี่ยนใหม่ได้จนกว่าแผลจะหาย
  • อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า – เป็นอาการที่อาจพบได้หลังจากการผ่าตัด แต่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก โดยอาการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่ถ้าหากนานกว่านั้น นั่นแปลว่าเส้นประสาทดังกล่าวเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น รับประทานอาหารหรือน้ำได้ลำบาก ดังนั้นผู้ป่วยควรรับทราบความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวก่อนทำการผ่าตัด

นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้เพิ่มเติม เช่น

  • ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
  • อาการช้ำที่เหงือกหายช้า
  • ฟันซี่อื่นได้รับการกระทบกระเทือน
  • ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
  • โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย

อีกทั้งการผ่าตัดอาจทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้

ฟันคุด รอให้ขึ้นก่อนไหม? แล้วค่อยผ่า

😌😌ไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุด หากตรวจพบสามารถเอาออกได้ทันที เพื่อลดโอกาสข้างเคียงอื่นที่อาจตามมาหากมีการปวด บวม อักเสบ หรือติดเชื้ออันตรายมากคะหากติดเชื้อ

ฟันคุด เราป้องกันการเกิดได้ไหม??

ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เราไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 เดือน🌟🌟🌟หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที👌👌

สรุป

การผ่าฟันคุดออก ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว หากเปรียบเทียบกับโทษที่อาจเกิดจากฟันคุด และหากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้นแล้ว แต่ปล่อยปะละเลย กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค แน่นอนว่ามี ปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมา ทั้งเหงือกอักเสบ ฟันผุ เกิดขึ้นได้ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีฟันคุดหรือไม่ การตรวจเอกซเรย์สามารถหาตำแหน่งของฟันคุดได้

ที่มาบางส่วนมาจาก :

ทพ.นิวัฒน์ พันธุ์ไพศาล งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช  www.si.mahidol.ac.th

POBPAD

🙋‍♀️📣รู้หรือไม่?? วันนี้เราให้คุณมากกว่าที่เคย ด้วยความสะอาดถึงชั้นอากาศ ปวดฟัน ฟันผุอยู่ใช่ไหม?? เอ๊ะๆๆแต่ถ้าไม่แน่ใจให้Modern Smileดูแลก็ดีนะคะ🙏#ทำฟัน #จัดฟัน #จัดฟันผ่อนจ่าย #ตรวจฟันฟรี #ทำฟันศรีราชา #ทำฟันพัทยา😄❤️

พบจบปรึกษา ทุกปัญหาสุขภาพฟันเรามีคำตอบที่ ช่องทางออนไลน์ที่มีให้หลากหลาย วันนี้ Modernsmile เรา มีช่อง Youtubeแล้วนะครับ สามารถติดตามได้ที่นี่เลยนะครับกดกระดิ่ง กดติดตามได้เลยนะครับ

ช่องทาง Social ของเราตอนนี้มีหลายช่องทางนะครับ สามารถติดต่อได้เลยนะครับ ตามความชอบครับ
📢📢📢📢📢📢📢📢📢📢
Line : สาขาศรีราชา
Line : สาขาพัทยา
Instagram Modernsmile

ผ่าฟันคุดมาขูดหินปูนได้ไหม

ถ้าร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บแผลอะไรแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังผ่าฟันคุด หรือตอนที่ไปตัดไหม ก็สามารถขูดหินปูนได้เลย แต่ถ้ายังไม่พร้อมอาจรอหลังจากนั้นก็ได้ค่ะ

ขูดหินปูนก่อนถอนฟันได้ไหม

คำตอบจากแพทย์ : 1.ขูดหินปูนแล้วถอนฟันโดยปกติก็ได้ครับ

ผ่าฟันคุดมาอุดฟันได้ไหม

แต่เนื่องจากเป็นการผ่าตัด ที่ทำให้มีเนื้อเยื่อรอบๆบวมและอักเสบได้เยอะ แนะนำการงดหัตถการในช่องปากอื่นๆประมาณ 1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยหลังการทำการผ่าตัดฟันคุดค่ะ ยิ่งถ้าตอนนี้หน้ายังบวม มีอาการเจ็บ ก็ควรจะเลื่อนการอุดฟันออกไปก่อนจะดีกว่า หรือหากต้องการทำจริงๆ อาจไปพบทันตแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินดูก่อน แต่คิดว่าน่าจะต้อง ...

ผ่าฟันคุดกับถอนฟันพร้อมกันได้ไหม

ถอนฟันกับผ่าฟันคุดพร้อมกันได้มั้ยค่ะ โรงพยาบาลเจ้าพระยา แนะนำว่าถ้าอยู่ข้างเดียวกันทั้งฟันคุดและถอนฟันสามารถทำได้ค่ะ แต่หากฟันคุดและฟันที่ต้องการถอนอยู่คนละฝั่ง อาจไม่แนะนำ เพราะลูกค้าจะรับประทานอาหารไม่สะดวกค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก