ธุรกิจที่น่าลงทุนในต่างประเทศ

ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังติดขัด มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง และผลกระทบจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เช่น สหรัฐฯ ที่เริ่มจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสวนทางกับยุโรป และญี่ปุ่นที่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำอยู่ บางประเทศเองก็ถึงกับมีอัตราดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากพันธบัตรที่ติดลบ ส่งผลให้ความผันผวนจากการลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศไทยก็มีมากขึ้นไปด้วยครับ เพราะว่ากระแสเงินที่ไหลเข้า-ออกเป็นว่าเล่นนั่นเอง เอาเป็นว่า เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง จนนักลงทุนปรับพอร์ตกันแทบไม่ทัน

และด้วย

อัตราดอกเบี้ย

ที่ค่อนข้างต่ำนี้เอง ทำให้นักลงทุนเริ่มที่จะพยายามหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ทำให้ช่วงที่ผ่านมา กองทุนบางประเภท เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ และดีกว่า

การลงทุน

ใน

กองทุนตราสารหนี้

ก็เริ่มที่จะปรับตัวสูงขึ้นจนมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอีก ทำให้ตอนนี้สินทรัพย์ที่น่าลงทุนที่มีอยู่ในตลาดการลงทุนในประเทศนั้น หาได้ยากมากขึ้นไปอีก

แต่การไล่ตามหาสินทรัพย์ที่น่าลงทุนนั้น อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดี เพราะว่าการไล่ล่านั้นอาจจะทำให้เรามองภาพรวมไม่ออก จนอาจจะทำให้การลงทุนในระยะยาวประสบความสำเร็จได้ยากมากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคต มองภาพรวม และเน้นการลงทุนระยะยาวมากขึ้น น่าจะตอบโจทย์การลงทุนในช่วงนี้มากกว่า

ถ้าหากพูดถึงการลงทุนที่มีแนวโน้มที่ดีในอนาคต กลุ่มธุรกิจที่กำลังมาแรงบนโลกใบนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของเทคโนโลยีอย่างแน่นอนครับ

เดี๋ยวนี้เราก็มักจะเห็นเทคโนโลยีมีผลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น สมัยก่อนการเรียกแท็กซี่ หรือการโทรสั่งอาหารมาทานที่บ้านเป็นสิ่งยากเย็น แต่เดี๋ยวนี้กลับทำได้ง่ายมากขึ้น เพียงแค่กด ๆ จิ้ม ๆ โทรศัพท์มือถือเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีที่ได้เปลี่ยนไปแล้ว มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้หลาย ๆ กลุ่มอุตสาหกรรมถึงกับมีการถูกทดแทนด้วย “เทคโนโลยี”
 

แต่มีกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจ และผมคิดว่าน่าจะอยู่ตลอดไปไม่จางหายไปเสียก่อน และเข้ากันได้ดีกับเทคโนโลยีที่ดีมากขึ้นได้ หรือว่าเป็นโอกาสในการลงทุนในอนาคตที่ดี นั่นก็คือ กลุ่มอุตสาหกรรม healthcare หรือกลุ่มสุขภาพ นั่นเองครับ

เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งรวมกับกลุ่มเทคโนโลยีได้ ยิ่งทำให้กลุ่มนี้น่าสนใจ เพราะว่าจะทำให้มีการเติบโตสูงในอนาคตอย่างไม่ต้องสงสัยเลย แต่เนื่องจากว่าการพัฒนาต้องใช้เวลาค่อนข้างจะนาน และต้องอาศัยต้นทุนการวิจัยที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น การลงทุนเพื่อผลตอบแทนระยะสั้น ๆ คงไม่เหมาะอย่างแน่นอน

ซึ่งผมเชื่อว่าระยะยาวแล้ว ด้วยโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนไป และดูเหมือนว่าจะทำให้หลาย ๆ ประเทศเป็นกังวลว่าอาจจะเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่กลับกลายเป็นปัจจัยบวกต่ออุตสาหกรรมนี้แทนครับ

ในอีกประมาณ 30-40 ปีข้างหน้านี้ จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านคน หรือคิดเป็น 23% ของประชากรโลก!! ยิ่งสังคมผู้สูงอายุเริ่มใกล้เข้ามา จำนวนผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย นอกจากนี้จะยิ่งมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อชะลอวัย หรือยืดอายุออกไป ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพมากขึ้น

ถ้าพิจารณาถึงกำลังซื้อยังคงมีมากมายจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เรียกได้ว่ากลุ่ม Healthcare ที่รวมกับเทคโนโลยี นี้เป็น Mega Trend อย่างแท้จริงครับ เพราะว่าไม่มีใครหลีกเลี่ยงความแก่ได้เลย และต้องการการรักษาที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ

โดยในกลุ่ม Healthcare ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่กลุ่มโรงพยาบาลอย่างที่เราเข้าใจกันนะครับ แต่หากหมายถึง เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น เช่น

  • บริษัทยา
  • บริษัทที่เน้นการวิจัยยาตัวใหม่ ๆ และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กลุ่มบริการทางการแพทย์

ซึ่งถ้ามามองระยะยาว ๆ แล้วล่ะก็ การลงทุนในกลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มที่จะไปได้ดีกว่าการลงทุนในกลุ่มของโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าคิดจะลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้แล้ว ก็ควรจะกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศด้วยครับ เพื่อให้เกิดการกระจายความเสี่ยง รวมถึงเพิ่มโอกาสในการลงทุนอีกด้วย

เท่านั้นยังไม่พอ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่าง 30 บาทรักษาทุกโรค เท่านั้นนะครับ แต่ประเทศอื่น ๆ ก็มีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน

แบบนี้แล้วพอจะเห็นภาพใช่ไหมครับว่าอุตสาหกรรม Healthcare นั้นยังไปได้อีกไกล ถึงแม้ว่าระยะสั้น เราอาจจะเห็นความผันผวนที่สูงขึ้น จากการเลือกตั้งและการหาเสียงของฮิลลาลี่ ที่เน้นย้ำว่า หากได้รับเลือกจะมีการปรับราคา หรือควบคุมราคาของยาให้ลดลง แต่ถ้ามองไปข้างหน้าจริง ๆ

ผมเชื่อว่า ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ยังคงออกมาเรื่อย ๆ ราคาคงไม่ได้เป็นตัวกำหนดอุตสาหกรรม healthcare ไปเสียหมด เพราะว่า...ใครไม่แก่ ไม่เจ็บป่วยบ้าง …ใครไม่อยากหล่อ ไม่อยากสวยบ้าง ...หรือใครที่ไม่เคยกินยาบ้าง แล้วท่านคิดว่า ผ่านไปอีก 10 ปี สิ่งเหล่านี้จะยังคงอยู่หรือไม่? มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

อีกอย่างอุตสาหกรรมนี้ก็อยู่คู่กับมนุษยชาติมาเป็นพัน ๆ ปี และก็ยังดำเนินต่อไป ผมคิดว่าถ้าเราลงทุนระยะยาวพอ ผมเชื่อว่าการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยล่ะครับ

เราไม่ต้องไปหาการลงทุนกับธุรกิจที่ซับซ้อน หรือใหม่ล่าสุด แต่ให้ลงทุนกับสิ่งจำเป็น เข้าใจง่าย

เหมือนอย่างที่นักลงทุนระดับโลกหลาย ๆ คนได้เคยกล่าวไว้นั่นเองครับ

เมื่อธุรกิจที่จัดว่าเป็น "ดาวเด่น" สำหรับ "การลงทุนที่ยั่งยืน" และมี "อัตราการเติบโตสูง" จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) โดยธุรกิจน่าลงทุนที่มีแนวโน้มจะสร้างมูลค่าสูงให้แก่ผู้ลงทุนในอนาคต !!

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การลงทุนโดยคำนึงถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG: Environmental, Social, and Governance) มีการเติบโตทั่วโลก และกินสัดส่วนหลักของการลงทุนที่ยั่งยืน คิดเป็น 71% ของเม็ดเงินลงทุนที่ยั่งยืนทั้งหมดที่มีอยู่ราว 35.3 ล้านล้านเหรียญ (GSIA, 2020)

มอร์นิ่งสตาร์ ได้ทำการสำรวจกองทุนยั่งยืนทั่วโลก ในรอบไตรมาส 3-21 ระบุว่า มูลค่ากองทุนยั่งยืนทั่วโลกเติบโตเกือบเท่าตัวในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในภูมิภาคยุโรป โดยจำนวนกองทุนยั่งยืนทั่วโลกมีการเติบโตขึ้นถึง 51% ในไตรมาสที่ 3 หรือรวมมากกว่า 7,000 กองทุน

ทรัพย์สินรวมของกองทุนยั่งยืนทั่วโลกมีมูลค่าราว 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ โดยการเพิ่มขึ้นของกองทุนในยุโรปทำให้มีส่วนแบ่งตลาดที่ 88% (จากช่วงก่อนมีการบังคับใช้เกณฑ์ SFDR ที่ 82%) เม็ดเงินการลงทุนยั่งยืนทั่วโลกเป็นเงินไหลเข้า 1.3 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

สำหรับมูลค่ากองทุนยั่งยืนในประเทศไทย พบว่า มีอัตราการเติบโตเกือบเท่าตัวจากสิ้นปี ค.ศ.2020 โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท แต่มูลค่าทรัพย์สินเกือบทั้งหมดเป็นการลงทุนในต่างประเทศ กว่า 97% ของมูลค่าการลงทุนที่ยั่งยืนในประเทศไทย ในขณะที่การลงทุนในประเทศมีมูลค่ารวมเพียง 1.5 พันล้านบาท

สาเหตุหนึ่ง เป็นเพราะธุรกิจที่เป็นตัวเลือกของการลงทุนธีม ESG ในตลาดทุนมีจำกัด บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเศรษฐกิจเก่า (Old Economy) ขณะที่ตัวเลือกในตลาดทุนต่างประเทศมีมากกว่า จึงทำให้เม็ดเงินการลงทุนที่ยั่งยืนของไทยไหลออกไปต่างประเทศเกือบทั้งหมด

ธุรกิจที่จัดว่าเป็นดาวเด่นสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และมีอัตราการเติบโตสูง จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) โดยธุรกิจน่าลงทุนที่มีแนวโน้มจะสร้างมูลค่าสูงให้แก่ผู้ลงทุนในอนาคต ประกอบด้วย

ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ (Electric Vehicles & Components) ที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง และร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 

ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศไทย อาทิ พันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์ (เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบําบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์ เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/หรือวัสดุจําเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล รวมทั้งบริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ

ธุรกิจการเกษตรและระบบอาหารแบบเจริญทดแทน (Regenerative Agriculture & Food System) ที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้ำ การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศ การสนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การขนส่ง การจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการกำจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็นผลบวกต่อธรรมชาติ (Nature-Positive Production)

ธุรกิจทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก (Renewable Resources & Alternative Energy) ที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UNFCCC COP26) ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065

ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ที่ยังไม่ต้องถึงขั้นแบบไร้ตัวกลาง (DeFi) แต่เป็นการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ หรือธุรกิจประกัน เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและชำระเงินที่ปลอดภัย ลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม

อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งที่เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ที่ ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก