สินเชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย

  • หน้าหลัก
  • > สถิติ

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565

ธนาคาร ออมทรัพย์ ประจำ
3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ          
กรุงเทพ 0.4500 0.5500 0.6500 0.8000 1.0000
กรุงไทย 0.2500 0.4700 0.5500 0.7000 1.2000
กสิกรไทย 0.2500 0.4200-0.4700 0.5000-0.5500 0.6000-0.7000 0.8500
ไทยพาณิชย์ 0.2500 0.4700 0.5500 0.7000 0.9500
กรุงศรีอยุธยา 0.2500 0.4500 0.5500 0.7000 0.8500
ทหารไทยธนชาต 0.1250 0.5500 0.7000 0.9000 1.2000
ยูโอบี 0.1000-0.3500 0.4500-0.6000 0.2000-0.6000 0.2000-0.8000 0.2000-1.1000
ซีไอเอ็มบี ไทย 0.2000 0.4000 0.4000 0.5000 0.6000
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) - - - - -
ทิสโก้ 0.2500-2.0000 0.9500-1.0000 0.9500-1.0000 1.1000 1.2500
เมกะ สากลพาณิชย์ 0.1500 0.4000-0.5000 0.5000-0.7500 0.6000-0.9000 0.7000
เกียรตินาคินภัทร 0.2500 0.5000-0.6500 0.7000-0.8500 1.0000-1.1500 1.1000-1.2500
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 0.2500 0.9000 1.0000 1.1500 1.2000
ไอซีบีซี (ไทย) 0.3500-1.0000 0.9000 1.0000 1.1000 1.2500
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย 0.4000 0.9500 1.0500 1.3500-2.1000 1.5500
แห่งประเทศจีน(ไทย) 0.2500 0.3750 0.5000 0.5000 0.5000
ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน) - - - - -
ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) - - - - -
ต่ำสุด - สูงสุดของ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 0.1000-2.0000 0.3750-1.0000 0.2000-1.0500 0.2000-2.1000 0.2000-1.5500
สาขาธนาคารต่างประเทศ          
ซิตี้แบงก์ 0.1000 0.4500 0.2000 0.2000 0.2000
ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น 0.1800 0.1900 0.2100 0.2100 -
ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - - - - -
ดอยซ์แบงก์ - - - - -
เจพีมอร์แกน เชส - - - - -
แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น - - - - -
อินเดียนโอเวอร์ซีส์ 0.4500-0.6000 0.6000-0.7000 1.0000 1.1000 1.3000
อาร์ เอช บี 0.5000-0.7500 0.7500-0.8500 0.9500-1.0500 1.1500-1.3500 -
โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น 0.0250 0.1700-0.2000 0.3000-0.3300 0.3000-0.3500 -
มิซูโฮ - - - - -
บีเอ็นพี พารีบาส์ - - - - -
ต่ำสุด - สูงสุดของ สาขาธนาคารต่างประเทศ 0.0250-0.7500 0.1700-0.8500 0.2000-1.0500 0.2000-1.3500 0.2000-1.3000


หมายเหตุ เป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ ณ เวลาประมาณ 12.00 น.

" - " หมายถึง ไม่มีบริการสำหรับธุรกรรมนี้

ข้อมูลควรรู้สำหรับประชาชน

ปัจจุบันการเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์โดยไม่ต้องไปที่สาขาธนาคาร สามารถทำได้แล้วในบางธนาคารที่รองรับ ช่วยให้ลูกค้าสะดวกมากขึ้น ในบทความนี้เราจะมาแนะนำและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดบัญชีแบบออนไลน์ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร และยืนยันตัวตนด้วยวิธีไหน

อ่านต่อ

พร้อมเพย์ คือ บริการโอนเงิน-รับเงินที่ช่วยให้ทำธุรกรรมง่ายขึ้น โดยผูกบัญชีเงินฝากกับหมายเลขอ้างอิง เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือ นอกจากนี้ พร้อมเพย์ยังเป็นช่องทางสำคัญในการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐ เช่น การรับเงินตามมาตรการเยียวยา 5,000 บาท

อ่านต่อ

บางท่านอาจกังวลใจเกี่ยวกับการใช้ธนบัตรและเหรียญซึ่งอาจจะเป็นสื่อในการแพร่เชื้อโควิดได้ และหลายท่านยังไม่สะดวกกับการจ่ายเงินผ่าน mobile banking ซึ่งเป็นทางเลือกที่เสี่ยงจากเชื้อน้อยกว่า เราจึงจะมาแนะนำวิธีการรักษาความสะอาดของธนบัตรและเหรียญที่ถูกต้อง

อ่านต่อ

การจ่ายเงินด้วยมือถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสถูกเชื้อได้เป็นอย่างดี เพียงแค่เปิด mobile banking ที่ลงไว้ในมือถือของคุณแล้วกดไม่กี่ครั้งก็จ่ายเงินได้ทันที ซึ่งเราจะมาแนะนำวิธีการสมัครและการใช้งานเบื้องต้นให้ปลอดภัยในบทความนี้

อ่านต่อ

คำถาม-คำตอบที่พบบ่อยเกี่ยวกับพร้อมเพย์และมาตรการเยียวยาโควิด 5,000 บาท เช่น จะตรวจสอบอย่างไรว่าเคยลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้กับธนาคารไหน? เหตุใดได้รับสิทธิ์เยียวยาแล้วแต่เงินยังไม่เข้าบัญชี? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านต่อ

การเป็นลูกหนี้นั้น จำเป็นต้องมีวินัยในแก้ปัญหาหนี้สินของตัวเอง พร้อมๆ กับดูแลจิตใจของตนเองไปด้วยเสมอ วิธีการปลดพันธนาการให้ความสุขของเราเป็นอิสระและทำให้ชีวิตมีความสุขอย่างเต็มที่ตามศักยภาพในขณะที่ยังมีภาระหนี้สินหรือในยามที่ประสบภาวะวิกฤตการเงิน มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

อ่านต่อ

ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้รายย่อย

แบงก์ชาติให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว ตรงจุด

อ่านต่อ

แบงก์ชาติออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้ โดยขยายขอบเขตให้รวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19

อ่านต่อ

ช่องทางเสริมสำหรับประชาชนและธุรกิจที่เป็นลูกหนี้และกำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยแบงก์ชาติจะช่วยรับเรื่องและเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ติดต่อ หรือเจรจากับสถาบันการเงินในกรณีจำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้

อ่านต่อ

โครงการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อให้มีโอกาสแก้ปัญหาหนี้ ควบคู่กับการส่งเสริมเรียนรู้การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินที่ดีให้แก่ลูกหนี้และประชาชนที่สนใจ

อ่านต่อ

แบงก์ชาติร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี จัดงาน “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน” เพื่อเป็นช่องทางช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สินแบบครบวงจร ลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ว่าสถานะใด สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่มีกับเจ้าหนี้ได้

อ่านต่อ

ตามที่แบงก์ชาติได้ออกโครงการแก้หนี้ 3 โครงการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ได้แก่ ทางด่วนแก้หนี้ คลินิกแก้หนี้ และมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ท่านสามารถค้นหารายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการของแบงก์ชาติทั้ง 3 โครงการได้ที่นี่

อ่านต่อ

การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึง การปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระของลูกหนี้ โดยทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเจรจากับธนาคาร ลูกหนี้ที่เริ่มขาดสภาพคล่องสามารถเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ได้โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ซึ่งท่านสามารถศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่นี่

อ่านต่อ

ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้ SMEs

แบงก์ชาติให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว ตรงจุด เพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ

อ่านต่อ

โครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ขาดหาย ไม่พอชำระหนี้และค่าใช้จ่ายหมุนเวียนต่าง ๆ แต่ยังมีศักยภาพและมีความตั้งใจในการรักษาธุรกิจ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมได้ที่นี่

อ่านต่อ

การระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบในการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หากท่านเป็นผู้ประกอบธุรกิจและต้องการเงินกู้ในการฟื้นฟูธุรกิจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมได้ที่นี่

อ่านต่อ

ตอบคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู และมาตรการโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เช่น ทำไมต้องออกมาตรการเพิ่มเติมในครั้งนี้? คุณสมบัติลูกหนี้ที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการเป็นอย่างไร ? ผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าเงื่อนไข จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ? และอีกคำถามมากมาย เรามีคำตอบให้ท่านที่นี่

อ่านต่อ

ในระยะต่อไป แบงก์ชาติจะเน้นแก้ไขปัญหาให้ลูกหนี้ SMEs แบบเชิงรุกและตรงจุด แทนการช่วยเหลือแบบทั่วไป เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทางลบในระยะยาว โดยมีหลายมาตรการมารองรับ ได้แก่ การปรับเงื่อนไขการจ่ายหนี้ตามความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อไม่ให้กลายเป็น NPL (หนี้เสีย) รวมถึงใช้มาตรการอื่นตามความเหมาะสม

อ่านต่อ

เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจกลุ่มที่ยังมีศักยภาพแต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์เศรษฐกิจและมีเจ้าหนี้ธนาคารหลายราย ให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้โดยการรวมหนี้และลดระยะเวลาการติดต่อเจ้าหนี้หลายราย ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกัน เช่น การขยายเวลาชำระหนี้ การลดค่างวด หรือการปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ให้เหมาะสม รวมทั้งการพิจารณาให้สินเชื่อใหม่

อ่านต่อ

หากท่านเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจจากการระบาดของโรคโควิด 19 “มาตรการเลื่อนกำหนดชำระหนี้” ที่ให้สิทธิ์ผู้ประกอบการเลื่อนจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน อาจเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจของท่านในช่วงนี้ได้ โดยท่านสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับตามมาตรการ ได้ที่นี่่

อ่านต่อ

หากท่านเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจจากการระบาดของโรคโควิด 19 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อาจเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ โดยท่านสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับตามมาตรการ ได้ที่นี่

อ่านต่อ

ทุกคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ไม่ว่าจะสอบถามเรื่อง มาตรการนี้ช่วยใครบ้าง? ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์อย่างไร? มีหลักเกณฑ์อย่างไรถึงจะเข้าร่วมมาตรการได้? จะต้องไปติดต่อขอสินเชื่อได้ที่ไหน? และอีกคำถามมากมาย เรามีคำตอบให้ท่านที่นี่

อ่านต่อ

ข้อมูลควรรู้สำหรับเกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้

MFLF เป็นกลไกพิเศษเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน โดยสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือกองทุนรวมตราสารหนี้จะสามารถขอสภาพคล่องจากแบงก์ชาติได้

อ่านต่อ

กองทุนรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) จัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้กลไกตลาดตราสารหนี้ที่ทำงานต่างไปจากภาวะปกติ ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและการดำเนินงานของภาคธุรกิจ จนลุกลามกลายเป็นวิกฤต

อ่านต่อ

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการ BSF เช่น ทำไมต้องจัดตั้งกองทุน BSF? มาตรการนี้ช่วยเหลือใครบ้าง? ใช้เงินจากไหนในการทำมาตรการ BSF? และคำถามอีกมากมายเกี่ยวกับมาตรการ BSF หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านต่อ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก