เฉลยใบงานที่ 5.3 พัฒนาการในสมัยใหม่

                โดยทั่วไปถือว่าประวัติศาสตร์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่เริ่มในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อโปรตุเกสเข้ามายึดครองมะละกาในมลายูหรือมาเลเซีย ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของภูมิภาคเมื่อ พ.ศ. 2054 และในปีเดียวกันนั้นโปรตุเกสก็เดินทางมาถึงหมู่เกาะเครื่องเทศและเป็นผู้ผูกขาดการค้าเครื่องเทศเป็นเวลานาน โดยมีสเปน อังกฤษ ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) พยายามข้ามาแข่งขัน

แผนที่ประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง

ที่มารูปภาพ : //goo.gl/CkCqxj

                ในตอนแรกของการแข่งขันของชาติตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ เข้าควบคุม  เมืองท่าที่สำคัญและแหล่งผลิตเครื่องเทศ ในบริเวณหมู่เกาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นฟิลิปปินส์ซึ่งสเปน  เข้ายึดครองตั้งแต่แรกในปลายพุทธศตวรรษที่ 21

                พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหลายประเทศ เช่น เมียนมาร ไทย กัมพูชา พระมหากษัตริย์ทรงลดความเป็นสมมติเทพลง จะเป็นธรรมราชามากขึ้น พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่มีความสำคัญ ยกเว้นในมลายู (มาเลเซีย) อินโดนีเซียซึ่งเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ในฟิลิปปินส์ก็นับถือศาสนาคริสต์ และในเวียดนามนับถือลัทธิขงจื้อและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

                ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ชาติตะวันตกที่เข้ามายึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากการยึดครองเมืองท่าและแหล่งผลิตเครื่องเทศก่อน ดังนั้น จึงทำให้บริเวณที่เป็นหมู่เกาะตกอยู่ภายใต้การยึดครองของชาติตะวันตก โดยฮอลันดาค่อย ๆ ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองอินโดนีเซียแทนโปรตุเกส อังกฤษขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากสุลต่านแห่งยะโฮร์ และเมื่อ พ.ศ. 2367 ได้ทำสนธิสัญญากับฮอลันดาแบ่งเขตอิทธิพลกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฮอลันดาจะมีอิทธิพลตั้งแต่เกาะสิงคโปร์ลงไป ส่วนอังกฤษมีอิทธิพลเหนือสิงคโปร์ขึ้นมา หลังจากนั้นอังกฤษได้ขยายอิทธิพลสู่มลายู จนมีอำนาจการปกครองเหนือมลายูทั้งหมด

                ในปีเดียวกันกับอังกฤษทำสนธิสัญญากับฮอลันดา อังกฤษได้เริ่มทำสงครามกับเมียนมาซึ่งทำให้เมียนมาเสียดิน-แดนบางส่วนให้อังกฤษ และในครั้งที่ 3 เมียนมาต้องเสียเอกราชให้แก่อังกฤษใน พ.ศ.2428 และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ

                ส่วนฝรั่งเศสได้ทำสงครามกับเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2401 เวียดนามแพ้ต้องทำสนธิสัญญาใน พ.ศ.2405 ยกดินแดนเวียดนามตอนล่างที่เรียกว่า โคชินไชน่า (Cochin-China)ให้ฝรั่งเศสพร้อมกับเปิดเมืองท่าและต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม และให้ฝรั่งเศสมีสิทธิเดินเรือในแม่น้ำโขง จากนั้นฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจต่อไป จนได้เวียดนามทั้งหมด พ.ศ. 2428

                นอกจากนี้ ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจไปในกัมพูชาและลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย โดย พ.ศ. 2410 ได้เขมรด้านตะวันออก พ.ศ.2436 ได้ดินแดนลาวส่วนใหญ่ และต่อมาได้กัมพูชาและลาวส่วนที่เหลือจากไทย

ชาติตะวันตกที่เข้ายึดครอง

ดินแดนที่ถูกยึดครอง

ได้เอกราช

อังกฤษ

เมียนมา 

มลายู(มาเลเซีย)

สิงคโปร์

บรูไน

พ.ศ.2461
พ.ศ.2500
พ.ศ.2506 ก่อตั้งมาเลเซีย (รวมมลายูสิงคโปร์  ซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ)ซาราวัก)
พ.ศ.2502 ได้สิทธิปกครองตนเอง
พ.ศ.2508 สิงคโปร์แยกจากมาเลเซียเป็นประเทศเอกราช
พ.ศ.2527

ฝรั่งเศส

เวียดนาม

กัมพูชา

ลาว

พ.ศ.2497

พ.ศ.2496

พ.ศ.2497

ฮอลันดา

อินโดนีเซีย

พ.ศ.2492

สหรัฐอเมริกา

ฟิลิปปินส์

พ.ศ.2489

โปรตุเกส

ติมอร์ตะวันออก

พ.ศ.2519 อินโดนีเซียรวมติมอร์ตะวันออก
พ.ศ.2545 ติมอร์ตะวันออกเป็นเอกราชและเปลี่ยนชื่อเป็น ติมอร์-เลสเต

           1. ผลดี

                                1. ทำให้ความขัดแย้งและการทำสงครามระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ที่มีมานานสิ้นสุดลง

                                2. คนพื้นเมืองส่วนหนึ่งมีโอกาสได้รับการศึกษาตามแบบชาติตะวันตกโดยเฉพาะในมลายูและพม่าที่ถูกอังกฤษยึดครอง

                                3. มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ เพื่อส่งเป็นสินค้าส่งออก เช่น การขยายพื้นที่นาเพื่อปลูกข้าวในพม่า การปลูกยางพาราในมลายูและเวียดนาม การปลูกกาแฟในอินโดนีเซีย เป็นต้น

                                4. ก่อให้เกิดสำนึกความเป็นชาติหรือชาตินิยมร่วมกัน เพื่อเรียกร้องหรือต่อสู้เพื่อเอกราชของตน

            2. ผลเสีย

                                1. หลายชาติถูกชาติที่ปกครองแย่งผลประโยชน์เพื่อนำไปเลี้ยง ไปบำรุงบ้านเมืองของตนเอง โดยให้ความสนใจต่อชาวพื้นเมืองน้อย หรือไม่ให้ความสนใจปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมืองให้ดีขึ้นเท่าที่ควร เช่น กรณีของเวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น

                                2. หลายชาติที่ได้เอกราชจากการต่อสู้อย่างรุนแรง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ทำให้สูญเสียชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก สำหรับเวียดนามแม้จะได้รับเอกราช แต่ประเทศต้องถูกแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ต้องต่อสู้เพื่อรวมประเทศหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จึงรวมประเทศได้สำเร็จ แต่ความเสียหายจากสงครามยังส่งผลต่อเนื่องอีกเป็นเวลานาน

                                การได้รับเอกราชของบางชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484-2488) ซึ่งญี่ปุ่นมีการเผยแพร่อุดมการณ์ ทวีปเอเชียสำหรับชาวเอเชียเมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้ใช้พลังชาตินิยมนี้สนับสนุนญี่ปุ่น

            1. พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง  หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้ คือ เกือบทุกประเทศยกเว้นประเทศไทย ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก คือ พม่า มลายู (มาเลเซีย) สิงคโปร์ บรูไน ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  อินโดนีเซีย ตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ จึงได้รับเอกราช

                การที่หลายประเทศถูกชาติตะวันตกปกครอง ทำให้สงครามที่เคยมีมาเป็นเวลานานจบสิ้น แต่ความขัดแย้งยังมีอยู่ จากปัญหาเรื่องพรมแดน

            2. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ การเข้ามาของชาติตะวัตก ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้า โดยเฉพาะการค้าพริกไทยและเครื่องเทศอื่น ๆ ในระยะแรก ต่อมามีสินค้าหลากหลายมากขึ้น เช่น ดีบุก  ยางพารา ไม้สัก กาแฟ ข้าว เป็นต้น           มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อการเกษตรอันดับหนึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                สมัยนี้รูปแบบเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพ เป็นเศรษฐกิจแบบการค้า มีการค้าขายอย่างเสรี มีการผลิตเพื่อการค้า มีการใช้เงินตราอย่างแพร่หลาย และเริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในบางประเทศ

            3. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ มีการยกเลิกระบบทาส ราษฎรทั่วไปก็มีสิทธิเสรีภาพในการเลือกที่อยู่และการประกอบอาชีพ การจัดการศึกษาแบบใหม่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ทำให้ราษฎรมีโอกาสมากขึ้นในการเลื่อนฐานะทางสังคม และมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองมากขึ้น

ที่มาวิดีโอ : //www.youtube.com/watch?v=mBOs8QW1oy8


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก