ประกาศกระทรวงการคลัง รถยนต์ไฟฟ้า

อยากได้ รถยนต์ไฟฟ้า? โอกาสมาถึงแล้ว ราชกิจจาฯ ประกาศลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 40% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท แพงกว่านั้นลด 20%

สำหรับใครที่กำลังสนใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า ต้องบอกว่าหลังจากนี้จะเป็นโอกาสดี! เพราะเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีการลง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป ที่นำเข้ามาทั้งคัน ลงบนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของประกาศกระทรวงการคลังฉบับนี้คือ การลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือ BEV ลงสูงสุด 40% ในกรณีประกอบสำเร็จรูปและนำเข้ามาทั้งคัน (Completely Built Up: CBU)

ทั้งนี้ จะมีการลดอัตราอากรลงสำหรับรถยนต์ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท ดังนี้ 

  • ลดอัตราอากรลง 40% หากใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระมากกว่า 40%
  • ได้รับการยกเว้นอากร หากใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระน้อยกว่า 40%
  • ลดอัตราอากรลงเหลือ 40% หากไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

สำหรับรถที่ยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่มีราคาขายปลีกแนะนำมากกว่า 2 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท และมีขนาด 30 กิโลวัตต์เป็นต้นไป จะมีการลดอัตราอากรลงดังนี้

  • ลดอัตราอากรลง 20% หากใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระมากกว่า 20%
  • ได้รับการยกเว้นอากร หากใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระน้อยกว่า 20%
  • ลดอัตราอากรลงเหลือ 60% หากไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

อ่านประกาศกระทรวงการคลังแบบเต็มๆ ได้ที่นี่: //ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=139D101S0000000002100

  • ถ้าลดให้คันละ 1 แสนบาทจะซื้อไหม? ถอดสมการ หากรัฐฯ ลดราคา รถยนต์ไฟฟ้า เท่า รถคันแรก

ที่มา – ราชกิจจานุเบกษา

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565

ครม. หนุนการใช้รถ EV เคาะ 2 มาตรการ “ลดภาษีประจำปี - เว้นอากรศุลกากร”

.....

ที่ประชุม ครม. (26 ก.ค. 65) อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.ลดภาษีประจำปี สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 68 โดยลดลง 80% ของอัตราภาษีที่กำหนดเป็นเวลา 1 ปี (นับแต่วันที่จดทะเบียน) เพื่อจูงใจให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ - PM 2.5 รวมถึงกระตุ้นระบบเศรษฐกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ
.
และเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่ประกอบ - ผลิตในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ในปี 65 - 68 เพื่อส่งเสริมการผลิตหรือประกอบรถยนต์ไฟฟ้า (ประเภท Battery Electric Vehicle: BEV) ในประเทศ ให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก //www.thaigov.go.th/news/contents/details/57285

#ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19

-------------------

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่ประกอบหรือผลิตในเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า โดยส่งเสริมการผลิตหรือประกอบรถยนต์ไฟฟ้า (ประเภท Battery Electric Vehicle หรือ BEV) ในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรีในปี 65 – 68

สาระสำคัญ คือ ยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับ (1) รถยนต์นั่ง (2) รถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และ (3) รถยนต์กระบะ แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (BEV) ที่ประกอบหรือผลิตในเขตปลอดอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ร่างประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 68

โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กำหนด เช่น ให้นับมูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่จากต่างประเทศ สำหรับการนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่ และนำไปผลิตหรือประกอบเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในเขตปลอดอากร (Free Zone) หรือเขตประกอบการเสรี รวมเป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศสำหรับการคำนวณมูลค่าเพิ่ม ในประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของราคายานยนต์ไฟฟ้า (BEV) หน้าโรงงาน และการยกเว้นอากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ดังกล่าว ต้องมีผลรวมของมูลค่าวัตถุดิบ ที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิก ASEAN มูลค่าของเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งของนั้น และกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคาหน้าโรงงาน โดยผู้ขอใช้สิทธิต้องเป็นผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่ประกอบหรือผลิตในเขตปลอดอากรหรือในเขตประกอบการเสรี ในปี พ.ศ. 65 - 68 คาดว่าจะมีการสูญเสียรายได้ประมาณ 36,128 ล้านบาท และอาจจะเพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณความต้องการภายในประเทศ แต่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในประเทศ และช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (BEV)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก