โปรแกรม adobe illustrator เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพกราฟิกแบบใด

     Adobe Illustrator CC เป็นโปรแกรมหนึ่งในชุด Creative Cloud ของ Adobe Adobe Illustrator เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพกราฟิกในรูปแบบ Vector โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือคุณภาพของผลงานที่สร้างขึ้นนั้น จะไม่มีปัญหาเรื่องความละเอียดในการแสดงภาพตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะนำไปขยาย หรือลดแค่ไหนก็ตาม ภาพจะไม่ต้องเสียความละเอียด หรือความคมชัดแม้แต่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่แก้ไขโดยใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น Adobe Photoshop ที่จะมีปัญหาเรื่องความละเอียด และคุณภาพของภาพจะลดลงเมื่อขยายภาพ ใช้ออกแบบงานกราฟิก 2 มิติ เช่น โลโก้สินค้า ภาพประกอบ สติ๊กเกอร์ไลน์ หรือการจัดเลย์เอาท์สิ่งพิมพ์ เป็นต้น
        การทำงานของโปรแกรม Adobe Illustrator ตัวนี้จะแสดงภาพเป็นเวกเตอร์ (Vector) ซึ่งเป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยจุดและเส้นสร้างขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิต เมื่อขยายแล้วภาพจะไม่แตกและมีความคมชัดเหมือนเดิม ส่วนนามสกุลของไฟล์ Vector ที่เห็นได้บ่อยๆ คือไฟล์ PDF ไฟล์ EPS ไฟล์ SVG และไฟล์ AI เป็นต้น

สามารถสร้างภาพลายเส้นได้เป็นอย่างดี ได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในสุดยอดโปรแกรมด้านการออกแบบที่ใช้กันแพร่หลาย ทั่วโลก ในการออกแบบหลายแขนง ทำภาพประกอบในหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบโลโก้ การออกแบบภายใน การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบโฆษณา การวาดภาพประกอบ การออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบสิ่งทอ การออกแบบบรรจุภัณฑ์การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบการ์ตูนแอนิเมชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในลักษณะการใช้งานแบบโปรแกรมเดี่ยว หรือการใช้งานร่วมกับโปรแกรม Graphic Design อื่นๆ Adobe Illustrator ได้เข้ามาเป็นเครื่องมือของนักออกแบบและนักวาดภาพ แทนเครื่องมือบนโต๊ะเขียนแบบหรือบนกระดานวาดภาพได้แทบทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์งานออกแบบได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

1. การออกแบบสื่อออนไลน์ หรือ Website / UI Design/ Interactive Design
โปรแกรม Adobe Illustrator เองก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในสื่อประเภทใหม่ๆ อย่างเว็บไซต์ การออกแบบ UI หรือ Interactive Media ด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การสร้างไอคอน ไปจนถึงการออกแบบหน้าบ้านของเว็บไซต์ และที่สำคัญคือการภาพประกอบเว็บต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้ผลงาน

2. การออกแบบภาพเคลื่อนไหว หรือ Motion Graphics / Animation
นอกจากนี้ Adobe Illustrator ยังเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้างองค์ประกอบกราฟิก หรือคาแรกเตอร์ต่างๆ เพื่อนำไปสร้างการเคลื่อนไหวในโปรแกรมอื่นๆ เช่น Adobe After Effects

3. งานออกแบบกราฟิก หรือ Graphic Design Adobe Illustrator
แทบจะเป็นหัวใจของการทำ Branding ในโลกยุคดิจิทัลที่งานออกแบบจะต้องถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย ทั้งเรื่องของขนาด และรูปแบบของสื่อ เริ่มตั้งแต่โลโก้ขนาดเล็กๆ บนสื่อออนไลน์ งานสื่อสิ่งพิมพ์ไปจนถึงระบบป้ายหรือสัญลักษณ์ที่มีขนาดใหญ่

4. ภาพประกอบ หรือ Illustrations Adobe Illustrator
เป็นเครื่องมือที่โดดเด่นที่สุดสำหรับการสร้างภาพประกอบ (Illustrations) หรือการออกแบบคาแรคเตอร์ (Character Design) ซึ่งอาจสร้างจากเครื่องมือของโปรแกรม หรือวาดเส้นตามที่เราต้องการได้ โดยมีเครื่องมือวาดภาพจำนวนมากที่สามารถลดเวลาในการสร้างภาพประกอบได้

1. โลโก้ Ai เป็นโปรแกรมที่ครบเครื่องในการทำโลโก้ เพราะมีเครื่องมือที่รองรับโดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็นการสร้างรูปร่าง ใส่ตัวหนังสือ เปลี่ยนสี ใส่ลาย และอื่นๆ อีกมากมาย
2. Package สินค้า แพ็คเก็จสวยๆ ก็สร้างได้จากโปรแกรมนี้เช่นกัน เพียงแค่รู้ว่าต้องการสร้างออกมาในรูปแบบไหน คุณก็สามารถครีเอทส่วนต่างๆ ของแพ็คเก็จได้แล้ว
3. หน้าเว็บไซต์ Ai สามารถทำได้ทั้งภาพส่วนหัวหน้าเว็บไซต์ ลวดลายพื้นหลัง ไอคอนและอื่นๆ ที่จำเป็นในการออกแบบหน้าเว็บไซต์
4. นามบัตร บางคนอาจใช้ Microsoft Word ในการทำนามบัตร แต่มันใช้ออกแบบอะไรไม่ได้มากนัก ต่างจาก Ai ที่คุณสามารถใช้ดีไซน์นามบัตรได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวาง ใส่สี ใส่สัญลักษณ์ต่าง ๆ
5. ไอเท็มใน Facebook หากเราใช้ Facebook เพื่อทำการตลาด หน้าเพจจะสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมา หมายความว่าลูกค้าจะมองแบรนด์อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาเห็นจากหน้าเพจของเรา ดังนั้นภาพ Profile, Cover, Ads และภาพต่างๆ ที่โพสต์ลงในเพจจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งคุณสามารถดีไซน์สิ่งเหล่านี้ให้ออกมาดูดีด้วยการใช้หลักการออกแบบและเครื่องมือจาก Ai
6. โปสเตอร์ แบนเนอร์ ปกหนังสือ คูปอง การ์ดเชิญ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เครื่องมือใน Ai มีมากพอให้คุณสามารถทำภาพสวยๆ ออกมาได้หลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะทำมันไปเพื่อจุดประสงค์อะไร นอกจากนี้การที่ไฟล์ ai เป็นไฟล์ประเภท vector ที่ขยายเท่าไหร่ก็ไม่แตก มันจึงไม่เป็นปัญหาหากต้องสั่งพิมพ์ออกมาในขนาดที่แตกต่างกัน
7. ภาพการ์ตูนและไอคอน Ai มีเครื่องมือ Pen tool ที่เป็นปากกาให้เราใช้วาดเส้นและรูปทรงต่างๆ ตามต้องการ คุณจึงสามารถสร้างไอคอนหรือภาพการ์ตูนตามที่ต้องการได้ จะวาดขึ้นเลย หรือวาดด้วยดินสอกับกระดาษก่อนแล้วนำมา draft ก็ได้
8. Content เพื่อการตลาด Content ไม่ต้องมาในรูปแบบตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวก็ได้ เพราะคุณสามารถใช้ infographic ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ให้ข้อมูลผ่านภาพกราฟิก มันไม่ได้ใช้ตัวหนังสือเยอะๆ เหมือนบทความ แต่ก็สามารถสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้เช่นกัน ซึ่ง infographic นี้อาจประกอบไปด้วยภาพตัวการ์ตูน,ไอคอน,รูปทรงต่างๆ ที่ทำขึ้นได้จาก Ai
9. กราฟิกภาพนิ่งเพื่อนำไป animate กราฟิกภาพนิ่งที่ได้จาก Ai คุณสามารถนำมันไปขยับให้เป็นภาพเคลื่อนไหว โดยการนำเข้าโปรแกรม After Effects ได้ ซึ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหวนี้เรียกว่า Motion Graphic
10. Resume คนส่วนใหญ่ใช้ Microsoft Word ในการทำเรซูเม่ ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามันไม่ดี แต่ผลที่ออกมาอาจจะดูน่าเบื่อและจืดชืดเกินไปหน่อยจะดีกว่ามั้ยหากคุณสามารถสร้างเรซูเม่สวยๆ และดูดีได้ด้วยเครื่องมือการออกแบบจาก Ai แค่ลองดีไซน์นิดหน่อย เรซูเม่ของคุณก็จะแตกต่างและโดดเด่นกว่าคนอื่นแล้ว
11. Mockup บางคนอาจไม่รู้จักว่า Mockup คืออะไร มันก็คือการจำลองผลงานดีไซน์ของเราในที่ต่างๆ เพื่อให้เรารู้ว่าหากงานของเราไปอยู่บนแพลตฟอร์ม หรือในอุปกรณ์อื่นๆ แล้วมันจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่ง Ai ก็มีเครื่องมือให้คุณสามารถสร้าง Mockup สวยๆ นี้ขึ้นมาได้ครับ
12. อื่นๆ ที่ต้องการ ที่บอกแบบนี้เพราะ Illustrator เป็นโปรแกรมสร้างกราฟิกที่ครบเครื่องจริงๆ ไม่ว่าคุณอยากทำอะไร ขอแค่เป็นงานที่สร้างขึ้นได้จากการวาดเส้น รูปทรง ฟ้อนต์ สีและลวดลาย patternคุณก็สามารถทำได้ด้วยโปรแกรมนี้ และยิ่งถ้ามีทักษะ graphic design เข้ามาด้วยล่ะก็ คุณก็จะได้งานที่ตรงใจแน่นอน

สิ่งหนึ่งที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มตันใช้งาน Ilustrator คือ ประเภทของภาพกราฟิกที่ถูกนำมาใช้ โดยสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาพกราฟิกแบบบิทแมพ (Bitmap) และ ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

1. ภาพชนิดบิทแมพ (Bitmap) (หรือจะเรียกว่าแบบ Raster ก็ได้)

เป็นภาพเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของจุดเม็ดสีที่เรียกว่า " พิกเซล-Pixel" จำนวนมากมารวมกันจนเกิดกลายเป็นภาพ ภาพชนิดนี้จะถูกฟิตขนาดและความคมชัดมาตั้งแต่เริ่มสร้าง เมื่อทำการย่อ หรือ ขยายมากๆ หรือทั้งยืด-หดขนาด สลับกันบ่อยๆ ก็จะทำให้ภาพเกิดความผิดเพี้ยนไป เช่นทำให้เบลอ ภาพไม่คมชัดเหมือนต้นฉบับ(ภาพก่อนทำการแก้ไข) จุดสีเพี้ยน เป็นต้น เมื่อซูมภาพเข้าไปมากๆก็จะเห็นจุดเม็ดสีชัดเจน และภาพก็จะเบลอมากๆ
ภาพชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นได้จากหลายโปรแกรม เช่น Adobe Photoshop, 3D Max, Maya และโปรแกรมตระกูล Painting ทั้งหลาย และมีหลายสกุลด้วยกัน เช่น .BMP .PCX .TIF .JPG .GIF .MSP .PNG .PCT เป็นต้น

2. ภาพชนิดเวคเตอร์ (Vector)

เป็นภาพที่เกิดขึ้นจากการวาดเส้นพาธ (Path) ให้เป็นเส้นต่างๆ อิสระจนกลายเป็นภาพ และถูกโปรแกรมเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพเป็นค่าตัวเลข ซึ่งจะมีการคำนวณเพิ่มเติมทุกครั้งเมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาพ
ด้วยความเป็นภาพที่ถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบค่าตัวเลข จึงทำให้ภาพประเภทเวคเตอร์เป็นภาพที่มีความคมชัดสูง ไม่ว่าจะย่อ – ขยาย กี่ครั้ง ภาพก็คงความคมชัดเหมือนเดิมไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เมื่อซูมภาพเข้าไปมากๆ ความคมชัดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
เนื่องจากเป็นภาพที่เกิดขึ้นโดยการร่างเส้นพาธ ภาพชนิดนี้จึงถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เช่นจากโปรแกรม Adobe Illustrator , CorelDraw โดยจะมีสกุลภาพเป็น .AI, .DRW, .CDR , .EPS หรือ .PS ก็ได้ นอกจากนี้ก็เป็นสกุลภาพ .WMF (เป็นภาพคลิปอาร์ตในโปรแกรม Microsoft Word) และภาพสกุล .DWG ที่มีอยู่โปรแกรมการออกแบบ AutoCAD เป็นต้น ภาพชนิดเวคเตอร์เหมาะสำหรับนำไปใช้กับงานที่ต้องการภาพขนาดใหญ่ หรือภาพที่ต้องถูกนำกลับมาย่อ/ขยายซ้ำๆบ่อยๆ หรือความที่ต้องการความคมชัดของภาพ

      ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของ Ilustrator CC ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ หน้าจอโปรแกรม หรือ Interface ที่ปรับรูปโฉมให้สะอาดตา และแบ่งหมวดหมู่เครื่องมืออย่างชัดเจน รวมถึงมีการแบ่งพื้นที่การทำงาน หรือ Workspace ออกตามรูปแบบการทำงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น และฟีเจอร์อัพเดตใหม่ๆ ที่ทำให้การใช้งานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

  เมื่อเปิดโปรแกรม Ilustrator CC จะพบหน้าจอโปรแกรม ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

     

      หมายเลข 1  Create New   การสร้างไฟล์งานใหม่
      หมายเลข 2 Open  การเปิดไฟล์งานเก่า
      หมายเลข 3  Recent ไฟล์งานล่าสุดที่เคยเปิดทำงาน
      หมายเลข 4  Start a new file fase  การเลือกกำหนดรูปแบบชิ้นงานที่ต้องการสร้าง
      หมายเลข 5   หน้าต่างมุมมองการแสดงไฟล์งานล่าสุด

การสร้างไฟล์งานใหม่

         คลิกเลือกคำสั่ง Create New จะพบหน้าจอการตั้งค่าชิ้นงาน

        สำหรับการทำงานออกแบบ ในทุกครั้งเราจะต้องเริ่มจากการสร้าง Artwork หรือพื้นที่ของการทำงานสำหรับออกแบบกราฟฟิก ซึ่งในโปรแกรมออกแบบ เราเรียกว่า "Artboard" โดยการทำงานในรูปแบบต่างๆ จะมีการตั้งค่าหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

      หน้าจอของโปรแกรม Illustrator จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไปดังนี้

      หมายเลข 1  การเลือกกำหนดรูปแบบชิ้นงานที่ต้องการสร้าง
      หมายเลข 2  ตั้งชื่อไฟล์งาน
      หมายเลข 3  กำหนดขนาดชิ้นงานด้วยตัวเอง
      หมายเลข 4  กำหนดระยะห่างด้วยตัวเอง

     คลิก 'Create' เพื่อเริ่มสร้างชิ้นงาน

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Adobe Illustrator CC

          หน้าจอโปรแกรม หรือ Interface ที่ปรับรูปโฉมให้สะอาดตา และแบ่งหมวดหมู่เครื่องมืออย่างชัดเจน รวมถึงมีการแบ่งพื้นที่การทำงาน หรือ Workspace ออกตามรูปแบบการทำงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น และฟีเจอร์อัพเดตใหม่ๆ ที่ทำให้การใช้งานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

      หน้าจอของโปรแกรม Illustrator CC จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

หมายเลข 1  Tool Bar (กล่องเครื่องมือ)

ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้าง การปรับแต่ง และการแก้ไขภาพ มีการรวมเครื่องมือบางอย่างที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันไว้ในปุ่มเดียวกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะมีรูป  อยู่ที่มุมขวาล่างของปุ่มเครื่องมือ นั้นๆ เพื่อแสดงว่ายังมีเครื่องมืออื่นซ่อนอยู่ เช่น เครื่องมือกลุ่ม Shape ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องมือวาดรูปทรงแบบสี่เหลี่ยม, สี่เหลี่ยมมุมโค้ง, และวงกลม เป็นต้น ซึ่งถ้าหากต้องการเลือกเครื่องมือที่ซ่อนอยู่ในกลุ่มนั้น ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่มเครื่องมือนั้นค้างไว้ แล้วลากเมาส์ไปชี้ที่เครื่องมืออื่นๆ ที่ต้องการ

  รายละเอียดเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง การปรับแต่ง และการแก้ไขภาพ

     - กลุ่มเครื่องมือ Selection ใช้เลือกวัตถุ
            Selection ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น
            Direct Selection ใช้เลือกเฉพาะจุดแองเคอร์ในวัตถุ
            Magic Wand ใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน
            Lasso ใช้เลือกในส่วนที่ต้องการโดยการคลิกเมาส์ลาก

     - กลุ่มเครื่องมือสร้างวัตถุ เช่น เส้น รูปทรง ข้อความ
            Pen สร้างเส้นพาธ (Path)
            Curvature สร้างเส้นพาธโค้ง
            Type ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ
            Line Segment ใช้ลากเส้นตรง มีเครื่องมือย่อยใช้วาดขดก้นหอย Grid ตารางหมากรุก Grid ใยแมงมุม
            Shape ใช้วาดรูปทรงพื้นฐาน และมีเครื่องมือย่อย Flare สำหรับสร้างเอฟเฟกต์เลนส์แฟลร์
            Paintbrush แปรงที่ใช้สร้างเส้นพาธ โดยการลากมาส์อิสระ
            Pencil คล้ายๆ Paintbrush แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น
            Eraser ใช้ตัดภาพออกเป็นส่วนๆ
            Scissors ใช้ตัดภาพที่เลือกออกเป็น 2 ส่วน โดยไม่มีการสร้างเส้นปิดให้
            Knife ใช้ตัดภาพที่เลือกออกเป็น 2 ส่วน และสร้างเส้นปิดให้

     - กลุ่มเครื่องมือสำหรับการปรับแต่งรูปร่างของวัตถุ
            Rotate ใช้ในการหมุนวัตถุกดคีย์ Alt เพื่อกำหนดองศา
            Reflect ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ กดคีย์ Alt เพื่อก าหนดการกลับด้าน
            Scale ใช้ย่อขยายวัตถุ
            Shear ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt)
            Reshape ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ
            Width ใช้เพิ่มหรือลดขนาดของเส้นพาธที่คลิก
            Warp ใช้ปรับรูปร่างตามการลากเมาส์
            Twirl ใช้หมุนรูปร่างโดยการคลิกเมาส์ค้างที่วัตถุ
            Pucker ใช้ดูดรูปร่างไปตรงบริเวณที่คลิกเมาส์ค้างไว้
            Bloat ใช้ปรับรูปร่างให้บวมออกจากบริเวณที่คลิกเมาส์ค้างไว้
            Scallop ใช้ปรับรูปร่างให้เป็นหยักในบริเวณที่คลิกเมาส์ค้างไว้
            Crystallize ใช้สร้างเส้นแหลมให้กระจายออกจากรูปร่างโดยคลิกเมาส์ค้างไว้
            Wrinkle ใช้สร้างรอยย่นให้รูปร่างโดยการคลิกเมาส์ค้างไว้
            Free Transform ใช้ย่อหรือขยายวัตถุโดยการลากเมาส์
            Shape Builder ใช้เพื่อรวม หรือตัดส่วนของภาพตั้งแต่สองภาพขึ้นไป
            Live Paint Bucket ใช้ลงสีให้วัตถุที่วางซ้อนกัน โดยสีจะกินขอบเขตเฉพาะส่วนที่เส้นตัดกันเท่านั้น
            Live Paint Selection เป็นเครื่องมือส าหรับเลือกช่องของวัตถุที่จะใส่สี โดยการสร้างวัตถุขึ้นมาวางซ้อนกัน
            Perspective Grid ใช้สร้างตารางมุมมองเพื่อการสร้างวัตถุ 3 มิติ
            Perspective Selection ใช้เลือกวัตถุให้เป็นไปตามมุมมอง 3 มิติ

     - กลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการสี
            Mesh ใช้ลงสีให้รูปร่างอย่างละเอียด โดยใช้ตาข่ายเป็นจุดอ้างอิงในการลงสี
            Gradient ใช้ลงสีแบบไล่โทนสี
            Eyedropper ใช้ดูดสีจากภาพ
            Measure ใช้วัดขนาด
            Blend ใช้ไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมได้ 3 ระดับ

     - กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ Symbol และ Graph
            Symbol ใช้ท างานเกี่ยวกับ Symbol ซึ่งเป็นกราฟิกในพาเนล Symbol มีเครื่องมือย่อยในการทำซ้ำ จัดระยะ หรือปรับแต่งสี
            Graph ใช้สร้างกราฟรูปแบบต่างๆ สามารถน าข้อมูลจาก Excel มาใช้ได้ด้วย

     - กลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการมุมมอง
            Artboard ใช้กำหนดขนาดและจัดการคุณสมบัติของพื้นที่ของชิ้นงาน
            Slice ใช้หั่นรูปร่างออกเป็นชิ้นเพื่อไปใช้งานต่อในการออกแบบเว็บไซต์
            Slice Selection ใช้เลือกชิ้นที่ถูกหั่นจากเครื่องมือ Slice
            Hand ใช้เลื่อนดูพื้นที่การทำงานในหน้าจอ
            Print Tiling ใช้คลิกลงไปในพื้นที่การทำงานเพื่อแสดงพื้นที่สำหรับการพิมพ์
            Zoom ใช้ย่อหรือขยายการแสดงผลของพื้นที่การทำงาน

หมายเลข 2  Manu Bar (แถบคำสั่ง)

แถบเมนูที่เก็บคำสั่งทุกคำสั่งของโปรแกรม
     - File – ใช้สำหรับจัดการไฟล์ เช่น การ save, เปิด-ปิดไฟล์, การ Export หรือใช้สำหรับปิดโปรแกรม
     - Edit – หมวดที่รวมรวบคำสั่งหรือการตั้งค่าบางอย่างไว้ เช่น การตั้งค่า Shortcut, Copy& Paste, ตัวอักษร
     - Object – เป็นหมวดที่รวบรวมคำสั่งสำหรับการทำงานของ object, สิ่งของบนชิ้นงานของเรา
     - Type – หมวดที่ใช้ทำงานกับ Font หรือตัวหนังสือ
     - Select – เป็นหมวดที่ทำงานกับ "การเลือก" ตัวอย่างเช่น เครื่องมือการเลือก หรือเครื่องมือ Select key ต่างๆ (ส่วนนี้มือใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจ แต่ไม่ต้องห่วงครับเพราะเดี๋ยวเริ่มใช้งานคุณจะคุ้นเคยกับมันแน่นอน)
     - Effect – หมวดหมู่ที่รวบรวม Effect ต่างๆ สำหรับการใช้งานทุกรูปแบบเอาไว้ สำหรับใครที่เคยใช้งานโปรแกรม Photoshop น่าจะคุ้นเคยพวกคำสั่ง Effect พวกนี้ดีครับ คำสั่งต่างๆ ก็เหมือนกันด้วย
     - View – หมวดหมู่ที่รวมเครื่องมือที่ใช้สำหรับมุมมองการาทำงานของเรา เช่น การวัดระยะ หรือการใช้ไม้บรรทัด เป็นต้น
     - Window – คำสั่งในหมวด Window จะเป็นคำสั่งจำพวกการเปิดปิด หรือตั้งค่า Artwork (template)
     - Help – เมนูช่วยเหลือ เป็นส่วนที่รวบรวมคำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้งานในด้านต่างๆ

หมายเลข 3 Option Bar (แถบคำสั่ง)

     Option Bar เป็นแถบตัวเลือกสำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถกำหนดค่าสี ขนาด ตำแหน่ง และคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุที่เลือกได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เลือกใช้งาน และการปรับค่าก็จะแตกต่างกันออกไปตามเครื่องมือที่ใช้งาน

หมายเลข 4 Control Panel (พาเนลควบคุมการทำงาน)

       เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่ ซึ่งรายละเอียดของคอนโทรลพาเนลจะเปลี่ยนไปตามการเลือกใช้เครื่องมือ  เช่น หากเลือกออบเจ็คทั่วไปคอนโทรลพาเนลจะแสดงออปชั่นการกำหนดสี , ขนาดของพื้นที่และเส้น แต่ถ้าหากเลือกออบเจ็คที่เป็นตัวอักษรก็จะแสดงออปชั่นที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น

 

โปรแกรม Adobe Illustrator สร้างภาพกราฟิกแบบใด

Illustrator (อิลลาสเตรเตอร์) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic (เว็คเตอร์ กราฟฟิก) จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็น มาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการสร้างภาพ ...

ข้อใดคือไฟล์มาตรฐานของโปรแกรม Adobe Illustrator

Illustrator (.ai) เป็นไฟล์มาตรฐานของ Adobe Illustrator สามารถบันทึกและเปิด เพื่อแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยยังรักษาคุณสมบัติต่างๆ เช่น สี เอฟ เฟกต์เลเยอร์ เอาไว้ Bitmap (.bmp) เป็นไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ Windows มีขนาดใหญ่ JPEG (.jpg) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็ก แต่ยังคงความคมชัด นิยม ใช้สร้างเว็บไซต์

Illustrator คือโปรแกรมของบริษัทใด

อะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ (อังกฤษ: Adobe Illustrator) เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ รุ่นแรก ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1986 เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช และได้พัฒนารุ่นที่ 2 ออกมาให้ใช้งานได้กับวินโดวส์ ซึ่งได้รับความพึงพอใจ และ การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จนปัจจุบันได้พัฒนาออกมา ...

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพแบบ Vector คือโปรแกรมใด

Illustrator คือโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่ เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับ สากล สามารถทํางานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์เว็บ และ ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนการสร้างภาพเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในการทางานอื่นๆ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก