1กลวัตรของเครื่องยนต์4จังหวะ

รูปที่ 2 วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

วัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์เล็กเบนซิน 4 จังหวะ

จังหวะการทำงานของเครื่องยนต์เล็กเบนซินแบบ 4 จังหวะ คือ จังหวะดูด จังหวะอัด จังหวะระเบิด และจังหวะคาย  ทั้ง 4 จังหวะการทำงานของเครื่องยนต์จะเกิดขึ้นจากการหมุนของเครื่องยนต์ 2 รอบและจะได้งานของเครื่องยนต์ 1 ครั้ง

จังหวะดูด (Intake)

จังหวะดูดเริ่มต้นจากลูกสูบอยู่ด้านบนของกระบอกสูบ เคลื่อนที่ลงสู่ด้านล่าง ลิ้นไอดีเปิดเพื่อดูดส่วนผสมไอดี (น้ำมันเบนซินผสมกับอากาศ) เข้ากระบอกสูบจนลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่ศูนย์ตายล่างลิ้นไอดีจึงอยู่ในตำแหน่งปิด โดยในจังหวะนี้ลิ้นไอเสียอยู่ในตำแหน่งปิด ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 จังหวะดูดของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

จังหวะอัด (Compression)

จังหวะอัดลกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนของกระบอกสูบ  เพื่ออัดส่วนผสมไอดีที่ถูกดูดเข้ามาภายในกระบอกสูบจากจังหวะดูด  ส่งผลทำให้ภายในกระบอกสูบมีอัตราส่วนการอัดสูงขึ้นประมาณ 1 : 6 ถึง 1 : 10  ความดันประมาณ 6.0 – 10.0 กก./ซม2. ในจังหวะนี้ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียอยู่ในตำแหน่งปิด  ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 จังหวะอัดของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

จังหวะระเบิดหรือจังหวะงาน (Expansion)

ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนเล็กน้อย  จะเกิดประกายขึ้นที่เขี้ยวหัวเทียนทำให้เกิดการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงขึ้นภายในกระบอกสูบ  ในจังหวะนี้เป็นจังหวะที่ให้งานออกมา  หลังจากนั้นลูกสูบก็จะเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง  โดยในจังหวะนี้วาล์วไอดีอยู่ในตำแหน่งปิดและวาล์วไอเสีย  เริ่มเปิดเพื่อระบายไอเสียที่เกิดขึ้นภายในกระบอกสูบ  ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 จังหวะระเบิดของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

จังหวะคาย (Exhaust) 

จังหวะคายเป็นการทำงานต่อจากจังหวะระเบิด เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่างเนื่องจากการได้รับแรงกระแทกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง จากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ด้านบนของกระบอกสูบเพื่อไล่ไอออกผ่านทางลิ้นไอเสีย  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนวาล์วไอเสียก็จะปิด  วาล์วไอดีก็จะอยู่ในตำแหน่งเริ่มเปิดอีกครั้ง  เพื่อเข้าสู่จังหวะดูดใหม่อีกครั้ง  ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 จังหวะคายของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

สรุป  วัฎจักรการทำงานของเครื่องยนต์เล็กเบนซิน 4 จังหวะ

จังหวะดูด  จังหวะอัด  จังหวะระเบิดหรือจังหวะงานและจังหวะคาย  ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลงรวม ทั้งหมด 4 ครั้งหรือ 2 รอบ  เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ ได้งานจากเครื่องยนต์ 1 ครั้ง

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

        เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในเช่นเดียวกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่ถูกออกแบบให้เชื้อเพลิงที่อยู่ในกระบอกสูบเกิดการลุกไหม้ด้วยความร้อนของอากาศดังนั้นอัตราส่วนการอัดจึงต้องสูงกว่า15ถึง22ต่อ1น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดด้วยหัวฉีดให้เข้าคลุกเคล้ากับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงจนสามารถทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้นเป็นกำลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์

       โครงสร้างและชิ้นส่วนต่างๆส่วนใหญ่ยังคงเหมือนกับเครื่องยนต์แก็สโซลีนแต่จำเป็นจะต้องออกแบบให้มีความแข็งแรงเพื่อทนการสึกหรอที่เกิดขึ้นได้อย่างดี

         หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ เครื่องยนต์ดีเซล 4จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

          เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีจังหวะการทำงานใน 1 กลวัตรประกอบด้วย จังหวะดุด จังหวะอัด จังหวะระเบิด จังหวะคาย โดยการทำงานครบ 1 กลวัตรการทำงานเพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบและเกิดการลุกไหม้ของเชื้อ 1 ครั้ง ดั้งนั้นการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะมีดังนี้

1.จังหวะดูด (Intake Stroke) ลูกสูบเคลื่อนที่จากตำแหน่งศูนย์ตายบน(TDC)ลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง(BDC)ลิ้นไอดีเริ่มเปิดให้อากาศบริสุทธ์จากภายนอกเข้ามาในกระบอกสูบในขณะที่ลิ้นไอเสียปิดสนิทเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่างลิ้นไอดีจึงปิด เป็นการสิ้นสุดจังหวะดูด

2.จังหวะอัด (Compression Stroke) จังหวะนี้ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน   ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียปิดสนิทลูกสูบจะอัดอากาศเพื่อเพิ่มแรงดันในห้องเผาไหม้ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (427 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)ทำให้อุณภูมิของอากาศภายในระบอกสูบสูงถึงประมาณ 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส

  3. จังหวะระเบิดหรือจังหวะงาน (Power Stroke)  ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งศูนย์ตายบนเล็กน้อยน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ากระบอกสูบผ่านหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดเป็นฝอยละเอียดเข้าไปคลุกเคล้ากับอากาศที่ร้อนจึงเกิดการลุกไหม้ขึ้นหรือเกิดการระเบิดอย่างรวดเร็วและขยายตัวเป็นแก็สผลักดันให้ลูกเคลื่อนที่จากศูนย์ตายบนลงสู่ศูนย์ตายล่าง

4. จังหวะคาย (Exhaust Stroke)ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่างเล็กน้อยลิ้นไอเสียเริ่มเปิดแต่ลิ้นไอดียังคงปิดสนิทจากนั้นลูกสูบก็เคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนเพื่อขับไล่แก็สไอเสียให้ออกจากห้องเผาไหม้เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนลิ้นไอเสียก็ปิด


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก